ระบบที่เอื้อต่อการโกง
จากประสบการณ์ที่ซื้อสินค้าให้กับลูกค้ามาจนจะสิบปีแล้วนั้น ทีมงานพบว่าระบบที่เวบของ Aliexpress "เอื้อ" ให้กับพวกมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาเป็นคนขาย ในการโกงลูกค้าอย่างพวกเราเป็นอย่างมาก / ซึ่งแม้ว่า Aliexpress เขาจะตั้ง ระบบ Buyer Protection ( คือระบบป้องกันการโกง ) ขึ้นมา แต่ก็มีช่องโหว่ให้พวกมิจฉาชีพหาช่องทางได้อยู่ดี
( ภาพบน ) ระบบ Buyer Protection ของเวบ Aliexpress |
( ภาพบน ) หากเป็นผู้ซื้อที่ไม่มีประสบการณ์การถูกโกงโดยพ่อค้าของ Aliexpress มาก่อน พอเห็นคำโฆษณาของ Aliexpress เรื่องระบบ Buyer Protection ก็รู้สึกอุ่นใจ เพราะมันเขียนไว้ชัดเจนว่าจะคืนเงินให้เต็มจำนวน ( Full Refund ) หากโดนโกง หรือยังไม่ได้รับของ
แต่ว่าระบบ Buyer Protection มันมี "เงื่อนเวลา" ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างมาก คือเขาให้เวลาเพียง 45 วัน ( นับจากวันที่เราโอนเงินไปให้คนขาย ) ในการดำเนินการ ซึ่งถ้าเกินกว่านี้ ( คือเกิน 45 วันแล้ว ) ทาง Aliexpress ก็จะไม่รับผิดชอบแล้ว / คราวนี้ เราลองมาดูกันว่าระบบ Buyer Protection ทำงานอย่างไร?
( ภาพบน ) ระบบ Buyer Protection จะให้ "อาวุธ" กับผู้ซื้อไว้ 2 อย่างคือ
1.การกด Open Dispute ( ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) เพื่อฟ้องร้องไปทาง Aliexpress ว่าคนขายมีความผิด หรือมีความโกง อย่างไรบ้าง
2.การกดปุ่ม Leave Feedback ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือการให้คะแนนติดลบ และเขียนข้อคามประจานคนขายที่ขี้โกง ซึ่งมีเอาไว้ใช้ในกรณีที่คนขายมีความฉลาดในการโกง จนไม่สามารถฟ้องร้องกับทาง Aliexpress ได้ ( คือไม่สามารถ Open Dispute ในข้อ 1. ได้ เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ ) / ซึ่งหากไม่มีหลักฐานที่เพียงพอที่จะฟ้องร้องได้ เราก็จะใช้วิธี "เขียนข้อความ" เตือนลูกค้าคนอื่นๆ ที่อาจโดนหลอกเหมือนเราในอนาคตได้ ซึ่งก็คือการ Leave Feedback ทิ้งไว้นั่นเอง ( ซึ่งเมื่อเรา Leave Feedback ไว้แล้ว คนขายก็ไม่มีทางลบได้ )
สรุปตรงนี้ก่อนว่า ระบบ Buyer Protection จะช่วยป้องกันการโกงด้วยการที่ว่า เมื่อคนขายโกง ก็ให้เรา ( ในฐานะคนซื้อ ) ติดต่อโดยตรงกับ Aliexpress ด้วยการ Open Dispute / แต่หากหลักฐานไม่เพียงพอจะให้ฟ้อง ( เพราะคนขายมันวางกลยุทธ์ป้องกันไว้ ) ก็ให้เราสื่อสารกับลูกค้าในอนาคตของมัน ( หมายถึงลูกค้าในอนาคตของคนขายที่ขี้โกงคนนี้ ) ด้วยการที่เราทิ้งข้อความ "ด่า" คนขาย และ "ให้คะแนนติดลบ" กับคนขาย โดยการใช้ปุ่ม Leave Feedback
แต่ สมมติว่าหลังจากโอนเงินไปให้คนขายแล้ว เราไม่ได้ทำอะไรต่อเลย ( คือไม่มีการฟ้องร้อง Open Dispute ,ไม่มีการให้คะแนน Leave Feedback รวมไปถึงการที่เราไม่ได้ยืนยันว่าเราได้รับของหรือไม่ ( Confirm Goods Received - ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบน ) คือเราปล่อยไปเลย - ในกรณีนี้ เมื่อ "ครบ 45 วัน" ระบบอัตโนมัติของ Aliexpress จะเริ่มดำเนินการดังนี้
( ภาพบน ) ตอนที่ซื้อครั้งแรก หน้าเวบจะเหมือนข้างบนนี้ |
( ภาพบน ) เมื่อเลย 45 วัน ณ.ตรงบริเวณที่มี ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น 2 อย่างคือ
เหตุการณ์ที่ 1 - คือเครื่องหมายฟ้องร้อง ( Open Dispute ) จะหายไป นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถฟ้องร้องอะไรไปที่ Aliexpress ได้แล้ว ( เพราะเกิน 45 วันแล้ว )
เหตุการณ์ที่ 2 - คือ มันจะขึ้นตัวหนังสือว่า Confirmation Timeout คือหมายความว่า ตามปกติ เวลาที่เราได้รับสินค้าแล้ว เราก็จะบอกไปทาง Aliexpress ว่า "ได้รับสินค้าแล้วนะ" แต่พอเกิน 45 วันไปแล้ว ( นับจากวันโอนเงิน ) มันจะขึ้นข้อความนี้ ( Confirmation Timeout ) ก็คือหมายความว่า Aliexpress พูดว่า "ฉันไม่ขอรับรู้เรื่องการได้รับของ หรือไม่ได้รับของของแก ( หมายถึงตัวลูกค้า ) แล้วนะ ไม่ต้องมาบอกฉันแล้ว"
จากนั้น ระบบก็จะเปลี่ยนข้อความตรงข้างล่างนี้อีก...
( ภาพบน ) คือเปลี่ยนข้อความตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบน ให้เป็นข้อความว่า Fineshed ซึ่งแปลว่าการปิดเคส คือหลังจากนี้ ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ทาง Aliexpress ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวแล้ว ( เพราะให้เวลาฟ้องร้องมาตั้ง 45 วันแล้ว และมันก็ครบเวลา 45 วันแล้ว ฉันคุ้มครองลูกค้าได้เท่านี้แหละ ( คือ 45 วัน ) )
( ภาพบน ) คำว่า Confirm Goods Received ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพบน ได้หายไป / ก็แปลว่า ทาง Aliexpress ไม่สนใจแล้วว่าลูกค้าจะได้รับของแล้วหรือยัง ( เพราะเกินเวลา 45 วันแล้ว ) หมายถึงว่า ถึงลูกค้าจะได้รับของแล้ว หรือยังไม่ได้รับของ ลูกค้าก็ไม่ต้องบอกทาง Aliexpress แล้ว ( เพราะปุ่ม Confirm Goods Received มันได้หายไปแล้ว )
( ภาพบน ) ปุ่ม Leave Feedback บริเวณที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ ก็หายไปด้วย / ก็คือหมายความว่า เราไม่สามารถ "ด่า" หรือ "ประจาน" คนขาย ( ที่ขี้โกง ) ให้ลูกค้าคนอื่น ( ที่อาจมาติดกับคนขายขี้โกงคนนี้ ในภายหลัง ) ได้ฟังเสียแล้ว
สรุปอีกครั้ง ตามภาพข้างล่างนี้ ...
( ภาพบน ) สั่งซื้อช่วงแรก หน้าเวบของ Aliexpress จะเป็นแบบในรูปข้างบนนี้ ..( จากนั้น ) |
( ภาพบน ) แต่พอครบ 45 วันแล้ว หน้าเวบก็จะเปลี่ยนเป็นแบบข้างบนนี้ |
( ภาพบน ) สรุปตรงนี้ก่อนว่า ระบบ Buyer Protection ของ Aliexpress จะตีความว่า หลังจากลูกค้าโอนเงินไปให้คนขายแล้ว ถ้ามีปัญหาอะไร ก็ต้องบอกให้ทาง Aliexpress ทราบภายใน 45 วัน
ถ้าภายใน 45 วัน ไม่มีการแจ้งอะไรมาจากลูกค้า ( คือไม่มีการ Open Dispute ไม่มีการ Leave Feedback ) ทาง Aliexpress ก็จะถือว่าการซื้อขายครั้งนี้ จบสมบูรณ์ และลูกค้า "ไม่มีสิทธิ์" ที่จะมาเรียกร้องใดๆภายหลังได้อีก
คุณผู้อ่าน อ่านมาข้างบนนี้แล้ว ก็เห็นว่ามันก็ดีนี่นา ไม่เห็นจะมีช่องโหว่อะไรเลย? พ่อค้าจะโกงได้ยังไง? / คำตอบคือ โกงได้ครับ เพราะถ้าพ่อค้ามันโกงไม่ได้ ทีมงานจะทำเวบหน้านี้มาให้คุณอ่านทำไมล่ะครับ ที่ทำหน้าเวบมาให้คุณอ่านนี้ ก็เพราะว่าคนขายมันโกงได้ไงครับ ทีมงานถึงได้ทำเวบหน้านี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายวิธีโกงของมัน
คนขายมันโกงได้ยังไง? ก็อย่างนี้ครับ ...
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) เวบ Aliexpress ไม่เหมือนเวบอื่น ตรงที่ว่า เวบ Aliexpress รับการจ่ายด้วยบัตรเครดิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ซึ่งการจ่ายด้วยบัตรเครดิต มีปัญหาคือสเตทเม้นท์ของบัตรเครดิตจะออกมาเพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น ( คือจะตัดวงรอบทุกวันที่ 5 ของเดือน ) นี่แหละครับ คือ ช่องทางการโกง ของพ่อค้าเลยแหละครับ ( และทีมงานบอกได้เลยว่า ตราบใดที่ Aliexpress ยังรับการชำระด้วยบัตรเครดิตอย่างเดียวล่ะก็ ไม่มีทางแก้ปัญหาทางโกงได้ครับ )
ก่อนอื่น มาดูหน้าตาของสเตทเม้นท์บัตรเครดิตกันก่อนครับ มันจะเป็นดังข้างล่างนี้
( ภาพบน ) คุณผู้อ่านจะเห็นได้ว่า สเตทเม้นท์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่คุณเห็นในภาพข้างบนนี้ เป็นการแสดงการใช้จ่ายตั้งแต่ หลังวันที่ 5 ของเดือนที่แล้ว ( คือหลังวันที่ 5 ของเดือนมกราคม ) มาจนถึงวันที่ 5 ของเดือนนี้ ( คือวันที่ 5 ของเดือนกุมภาพันธ์ ) ตามที่มี ปีกกาสีเขียว ครอบคลุมอยู่ในภาพข้างบนนี้
โดยในวงรอบนี้ รายการแรกก็คือการจ่ายให้ Aliexpress เมื่อวันที่ 6 มกราคม ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพบน )
และรายการสุดท้ายในวงรอบนี้ ก็คือการจ่ายให้ Amazon.com เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพบน )
จากที่เอามาให้ดูข้างบนนี้ คงจะทำให้คุณเข้าใจ ระบบการทำงานของสเตทเม้นท์บัตรเครดิต กันแล้วนะครับ ใจความสำคัญของระบบสเตทเม้นท์บัตรเครดิตก็คือว่า สเตทเม้นท์จะออกแค่เดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น และตัดวงรอบวันที่ 5 ( ของแต่ละเดือน )
คราวนี้ เรามาดูกันว่าพวกมิจฉาชีพใน Aliexpress เขาใช้ช่องว่างนี้หากินยังไง มาดูกันครับ
( ภาพบน ) สมมติว่าเหตุการณ์เป็นอย่างนี้นะครับ คือวันที่ 14 สิงหาคม 2557 เราสนใจจะซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งจาก Aliexpress.com ราคา 132.97 เหรียญ เราก็เลยทำการสั่งซื้อด้วยบัตรเครดิต ซึ่งหลังจากเราสั่งซื้อไปแล้ว เราก็มีการตอบรับสองอย่างคือ
( ภาพบน ) ในสเตทเม้นท์บัตรเครดิต ซึ่งจะออกในเดือนถัดไป มันจะมีรายการรายจ่ายเกิดขึ้นแบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ นั่นคือ
ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ คือวันที่ ที่คนขายตัดเงินจากบัตรเครดิตของเรา ซึ่งก็คือวันที่ 14 สิงหาคม 2557
ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ คือจำนวนเงินที่คนขายตัดจากบัตรเครดิตของเรา ก็คือ 132.97 เหรียญ
( ภาพบน ) หน้าเวบของ Aliexpress.com |
( ภาพบน ) ในหน้าเวบของ Aliexpress ณ.วันที่ 14 สิงหาคม 2558 ( ซึ่งเป็นวันแรกที่คนขายตัดเงินในบัตรเครดิตของเรา ) มันก็จะมีข้อมูลแบบที่เห็นในรูปข้างบนคือ
ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ คือวันที่ ที่คนขายตัดเงินจากบัตรเครดิตของเรา ซึ่งก็คือวันที่ 14 สิงหาคม 2557
ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ คือจำนวนเงินที่คนขายตัดจากบัตรเครดิตของเรา ก็คือ 132.97 เหรียญ
ณ.ตอนนี้ จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าก็เสร็จลงแล้ว คือหน้าเวบของ Aliexpress มันปรากฏหลักฐานแล้วว่าคนขายได้รับเงินจากเราไปเรียบร้อยแล้ว ( ก็คือดูตรงที่ ลูกศรสีเขียว และลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบน )
( ภาพบน ) ต่อมา เราก็รอจนกระทั่งถึงวันที่ 15 กันยายน 2557 ซึ่งนับจากวันที่เราโอนเงินไปให้คนขาย ( เราโอนไปเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ) ก็เป็นเวลา 30 วันแล้ว แต่ยังไม่ได้รับสินค้าเลย
เราจึงเมลล์ไปหาคนขาย เพื่อถามว่า "ทำไมสินค้าถึงยังมาไม่ถึงมือเรา?" / โดย ณ.ตอนนั้น เราคิดในใจว่า ถ้าไม่ตอบภายใน 2 - 3 วันเราก็จะเล่นงาน โดยวิธีเล่นงานของเรา ( ที่เราคิดเอาไว้ล่วงหน้า ) ก็คือ...
เรา "เตรียม" เล่นงาน ด้วยการจะกดปุ่ม Open Dispute ( แต่ยังไม่กด ) |
( ภาพบน ) เราคิดในใจว่า 30 วันแล้ว ของก็ยังไม่ได้ และเราก็ลองเมลล์ไปทวงถามคนขายแล้ว ถ้ารอ 2 - 3 วันไม่ตอบ ก็แสดงว่าคนขายคงโกงเราแน่แล้ว ดังนั้น เมื่อถึงวันนั้น ( คืออีก 2 - 3 วัน ) ถ้าคนขายยังไม่ตอบกลับมา เราก็จะกดปุ่ม Open Dispute ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ( ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่เราคิดไว้ในใจ ) / แต่ปรากฏว่า...
( ภาพบน ) ในวันที่ 17 กันยายน 2557 หลังจากที่เราเมลล์ไปได้ 2 วัน ทางคนขายก็ตอบกลับมา ประมาณว่าแม่ป่วย ,ลูกป่วย ( หาเหตุผลร้อยแปดพันประการ ให้เราเห็นใจ ) ทำให้ไปหาของส่งให้เราไม่ได้ จะขอคืนเงินกลับมาให้เราเต็มจำนวนเลยได้ไหม ถ้าได้ ก็จะดีมาก จำเริญ จำเริญนะ ( คนขายมันพูดจนเราใจอ่อน )
เราก็คิดว่า เราเมลล์ไปหาคนขายแค่สองวัน คนขายก็ตอบกลับแล้ว เขาคงเดือดร้อนจริงๆ / ดังนั้น ด้วยความใจอ่อนของเรา เราก็เลยตอบเมลล์กลับไปว่า "OK คืนเงินมาก็ได้ แต่ต้องคืนพรุ่งนี้ ( คือวันที่ 18 กันยายน ) เลยนะ"
ประการแรก - ไอ้เจ้าคนขายคนนี้ มันเป็นคนตรงต่อคำพูดจริงๆ มันรับปากว่าจะคืนวันนี้ มันก็คืนวันนี้จริงๆ ( หมายถึงวันที่ 18 กันยายน 2557 ) แหม.. คนขายคนนี้มันเป็นคนดีจริงๆ
ประการที่สอง - ไอ้เจ้าคนขายมันท้าให้ดูสเตทเม้นท์บัตรเครดิตซะด้วย คงจะกลัวว่าเราจะไม่เชื่อว่าเขาจะโอนให้จริงๆสินะ แหม.. เจ้าคนขายคนนี้ เป็นคนซื่อตรงจริงๆ / แต่ก็เอาเถอะ ในเมื่อเราจ่ายด้วยบัตรเครดิต และสเตทเม้นท์มันก็ออกแค่เดือนละครั้ง ก็คือ เราก็ต้องรอวันที่ 5 ตุลาคม 2557 นั่นแหละ ถึงจะได้เห็นสเตทเม้นท์
จากนั้น เราก็รอจนสเตทเม้นท์ออก...
( ภาพบน ) พอถึงวันที่บัตรเครดิตตัดวงรอบ คือวันที่ 5 ตุลาคม 2557 ( บัตรเครดิตจะตัดวงรอบทุกวันที่ 5 ของเดือน ) และเราได้รับสเตทเม้นท์แล้ว ปรากฏว่า เมื่อดูในสเตทเม้นท์นั้นเป็น 10 รอบ เราก็ไม่เห็นรายการคืนเงิน ซึ่งคนขายบอกเราว่าได้คืนเราเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2557 แล้ว ( หมายความว่า ถ้าคืนจริง ในสเตทเม้นท์ข้างบนนี้ มันจะต้องมีรายการของวันที่ 18 สิงหาคม 2557 อยู่ใน วงรีเส้นประสีเขียว ในรูปข้างบนนี้ และต้องบอกว่า CREDIT VOUCHER ( แปลว่า เป็นการคืนเงิน ) - แต่นี่ มันไม่มีรายการคืนเงินในๆสักรายการเดียวในเสตทเม้นท์ข้างบนนี้เลย )
เพียงเท่านี้ เราก็รู้ตัว และอุทานออกมาทันทีว่า "เวรแล้ว เราเสียรู้คนขายขี้โกงคนนี้เสียแล้ว" เดี๋ยวต้องจัดการเสียหน่อย เดี๋ยวจะฟ้อง Open Dispute ให้เต็มที่เลย เสร็จแล้วก็จะให้ FeedBack ติดลบ แล้วก็ด่าประจานอีกสัก 10 ชุด ลูกค้าคนต่อไปจะได้ไม่โดนไอ้คนขายคนนี้หลอกเหมือนเรา! / ว่าแล้ว เราก็ไปที่หน้าเวบของ Aliexpress.com เพื่อจะ Open Dispute และ Leave Feedback ไอ้เจ้าคนขายขี้โกงคนนี้ให้เต็มเหนี่ยว / แต่เมื่อเปิดหน้าเวบของ Aliexpress.com ขึ้นมา ก็เห็นเหมือนในรูปข้างล่างนี้
( ภาพบน ) เครื่องหมาย Open Dispute หายไป ,เครื่องหมาย Leave Feedback ก็หายไปด้วย! |
( ภาพบน ) คำตอบมันอยู่ตรงนี้ครับ คุณผู้อ่านลองย้อนกลับไปดูที่ทีมงานอธิบายไว้ข้างบน จำได้ไหมครับว่า Buyer Protection เขาให้เวลากี่วันนับจากวันที่เราโอนเงินครับ? ใช่ครับ 45 วันนับจากวันที่เราโอนเงิน
แล้ววันที่เราได้สเตทเม้นท์บัตรเครดิต ซึ่งก็คือวันที่ 5 ตุลาคม นั้น พอนับดูแล้ว มันได้กี่วันนับจากที่เราโอนเงินไปครับ? ใช่ครับ มันปาเข้าไป 50 วันแล้ว ( ตามที่มี ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนั่นเอง ) ดังนั้น Buyer Protection ก็เลยหมดอายุไปแล้ว เพราะมันเลย 45 วันนับจากวันที่เราโอนเงินไปให้คนขายไปแล้ว
และเมื่อ Buyer Protection หมดอายุไปแล้ว ปุ่ม Open Dispute และปุ่ม Leave Feedback บนหน้าเวบของ Aliexpress.com ก็หายไป
และเมื่อปุ่ม Open Dispute และปุ่ม Leave Feedback บนหน้าเวบของ Aliexpress.com หายไป / เราก็ไม่สามารถฟ้องร้องเรื่องพฤติกรรมอันเลวร้ายของคนขายคนนี้ให้กับทาง Aliexpress.com ได้ทราบได้ ( เพราะเราไม่สามารถ Open Dispute ได้ ) / และเราก็ไม่สามารถประจาน หรือทิ้งข้อความเตือน ลูกค้าคนอื่น ที่อาจโดนหลอกเหมือนเราได้ เพราะเราไม่สามารถ Leave Feedback ได้เสียแล้ว
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) อ้าว! แล้วเงิน 132.97 เหรียญ ( หรือประมาณ 4,348 บาท ) ของตูที่โดนโกงไปล่ะ? ทำยังไงจะได้คืน! / คำตอบก็มีแค่สองทางคือ
เสียค่าเครื่องบิน บินไปเมืองจีน แล้วตามล่าหาพ่อค้าคนนี้ ( Aliexpress ส่วนมากคนขายเป็นคนจีนเกือบ 100% ) ถ้าเจอแล้วก็ค่อยทวงตังค์มันคืน - ซึ่งเราก็คงสู้ค่าเครื่องบินไม่ไหว ...
จ้างทนายฟ้อง คดีฉ้อโกง - แต่บังเอิญว่า มันเป็นคดีระหว่างประเทศ ( ไทย - จีน ) ค่าทนายก็เริ่มต้นที่แสนกว่าบาทแล้วครับ ( มันโกงเรา 4 พันกว่า แต่เราต้องจ้างทนายเป็นแสน มันคุ้มกันไหมเนี่ย? )
นั่นก็หมายความว่า คุณไม่มีทางที่จะได้รับเงินคืนเลยครับ มันลอยหายไปเลยสี่พันกว่าบาท ( 132.97 เหรียญ
)
คุณผู้อ่าน อ่านถึงตรงนี้แล้วอาจคิดว่า ถ้าอย่างนั้น ไอ้พวกระบบ Buyer Protection ทั้งหลาย มันก็ใช้จริงๆไม่ได้น่ะสิ หมายความว่า การซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มันจะต้องโดนโกงแบบนี้ทุกๆคนเลยเหรอ? / คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ เพียงแต่ว่าระบบแบบ Buyer Protection มันจะ Work ก็ต่อเมื่อมันใช้ร่วมกับการชำระเงินแบบ PayPal เท่านั้น / ทำไมทีมงานถึงพูดแบบนั้น เรามาดูกันครับ ...
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) ระบบ ebay MONEY BACK GUARANTEE ของเวบอีเบย์ มันก็คล้ายกับระบบ Buyer Protection ของเวบ Aliexpress.com นั่นแหละ
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) เพียงแต่ต่างกันตรงที่ว่า เวบอีเบย์นั้น ให้ชำระด้วย PayPal ( ในขณะที่เวบ Aliexpress บังคับให้ชำระด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น ) / แล้วการชำระด้วย PayPal มันดีอย่างไร? คำตอบก็คือ...
( ภาพบน ) สเตทเม้นท์ของ PayPal |
( ภาพบน ) ข้อดีของการชำระด้วย PayPal ก็คือว่า สเตทเม้นท์ของ PayPal มันจะออกทุกวันเลยครับ บางครั้ง พอชำระเงินไปแล้วแค่ไม่ถึงสิบนาที สเตทเม้นท์ก็ออกแล้ว
( ภาพบน ) ถ้ามีการคืนเงิน มันก็จะโชว์เหมือนบริเวณที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้เลยครับ คือมันจะบอกเลยว่ามีการคืนเงิน ( Refund ) และมันบอกเราได้ทันทีเลยว่ามีการคืนเงินแล้ว ในขณะที่ ถ้าเป็นการชำระด้วยบัตรเครดิต เราจะต้องรอเป็นเดือนถึงจะได้เห็นสเตทเม้นท์ ( ในขณะที่สเตทเม้นท์ PayPal ออกทุกวัน ) |
"สมมติ" ลองยกเคสข้างบนนี้ มาดูกันอีกที |
( ภาพบน ) สมมติว่า ถ้า Aliexpress รับการจ่ายด้วย PayPal แล้วล่ะก็ ถ้าเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับที่ทีมงานยกตัวอย่างมาให้ดู ตรงเหตุการณ์ของวันที่ 18 กันยายน 2557 ที่คนขายพูด ( หลอก ) กับเราว่า "ได้คืนเงินให้เรียบร้อยแล้ว เปิดดูสเตทเม้นท์ได้เลย"
ถ้าเป็น PayPal เราก็จะเปิดดูสเตทเม้นท์เดี๋ยวนั้นเลย ( ตามคำท้าของมัน ) ซึ่งถ้ายังไม่เจอรายการคืนเงิน เราก็อาจรอดูต่ออีกสักวันหรือสองวัน ซึ่งถ้าดูมาสามวัน แต่ยังไม่เจอรายการคืนเงิน เราก็จะรู้ตัวทันทีว่าเราโดนคนขายคนนี้โกงเสียแล้ว เราก็จะได้ไป Open Dispute เสียเลย / ที่เราสามารถ Open Dispute ได้ ก็เพราะว่า วันที่มันท้าให้เราไปดูสเตทเม้นท์ ( ตามที่เราเห็นคำท้าของมันในรูปข้างบนนี้ ) มันเป็นวันที่ 18 กันยายน ซึ่งพึ่งเป็นวันที่ 33 นับจากวันที่เราโอนเงินให้คนขายนั่นเอง ( ต้องวันที่ 45 นั่นแหละ ถึงจะหมดอายุ )
สรุปว่า เวบ Aliexpress มันเปิดช่องให้มิจฉาชีพโกงเงินเราได้ / ซึ่งแม้ว่า Aliexpress จะมีคิดค้นระบบ Buyer Protection ขึ้นมา แต่ว่าตราบใดที่ Aliexpress ยังบังคับให้ลูกค้าชำระด้วยบัตรเครดิตอย่างเดียวล่ะก็ จุดอ่อนของการชำระด้วยบัตรเครดิต ก็คือการที่สเตทเม้นท์ออกช้ามาก และออกเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ดังนั้น หากคนขายที่เป็นมิจฉาชีพ หลอกเราว่าได้คืนเงินเรามาแล้ว ( แต่ความจริงยังไม่ได้คืน ) เราก็ไม่สามารถตรวจสอบ ณ.เวลานั้นได้ เพราะต้องรอจนกว่าสเตทเม้นท์จะออกมาเสียก่อน ถึงจะตรวจสอบได้ว่า มีการคืนเงินให้เราจริงหรือไม่ / และกว่าที่สเตทเม้นท์จะออก มันก็เลยเวลา 45 วันที่ระบบ Buyer Protection มันคุ้มครองเราไปเสียแล้ว และเราก็จะไม่สามารถดำเนินการอย่างไรกับคนขายที่ขี้โกงนี้ได้อีกเลย
อ่านถึงตรงนี้แล้ว คุณผู้อ่านคงจะมองเห็นแต่ข้อเสียของการซื้อสินค้าที่ Aliexpress.com และเห็นแต่ข้อดีของ eBay.com และคุณผู้อ่านก็อาจคิดว่า ผมมีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับ eBay.com หรือเปล่า ถึงได้เชียร์ eBay.com และว่าร้าย Aliexpress.com อยู่เรื่อย?
คำตอบคือ ผมไม่ได้มีอคติ หรือว่าชอบเป็นพิเศษกับเวบขายสินค้าเวบใดเวบหนึ่งหรอกนะครับ เพราะไม่ว่าคุณจะฝากซื้อสินค้าจากเวบ eBay.com หรือเวบ Aliexpress.com ผมก็ได้ค่าจ้าง ( คือค่าบริการ ) เท่ากันอยู่ดีแหละครับ
เพียงแต่ ผมก็พูดไปตามข้อเท็จจริง พูดจากประสบการณ์การซื้อสินค้าให้คุณลูกค้าทั้งนั้นแหละครับ ส่วนที่ว่าคุณผู้อ่าน อ่านแล้ว จะยังซื้อสินค้าจาก Aliexpress อย่างเหนียวแน่นต่อไป อันนี้ ทีมงานก็ไม่ว่าเลยครับ เพราะก็อย่างที่บอก ไม่ว่าคุณจะฝากซื้อสินค้าจากเวบไหนก็ตาม ทีมงานก็ได้รับค่าจ้าง คือค่าบริการเท่ากันหมดอยู่แล้วครับผม
- END -