script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: การฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ

Monday, March 9, 2020

การฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ


การฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ


          การซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มีความแตกต่างจากการสั่งซื้อสินค้าในประเทศไทยเป็นอย่างมาก  เหตุผลก็เพราะว่าการซื้อสินค้าในประเทศไทย ถ้า "คนขายเบี้ยว , โกง , ส่งของไม่ตรงกับที่สั่ง" เราก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับคนขายได้เลย หรือจะเดินทางไปเคาะประตูหน้าบ้านคนขายเพื่อด่าประจานเลยก็ยังได้ 

       แต่การซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะมีความแตกต่างออกไป

       ที่ว่าแตกต่างก็คือว่า การซื้อสินค้าจากต่างประเทศนั้น หาก "คนขายเบี้ยว , โกง , ส่งของไม่ตรงกับที่สั่ง" มันก็จะเป็นปัญหาอย่างยิ่ง

       คือถ้าจะดำเนินคดี  มันก็จะเป็นคดีระหว่างประเทศ แค่ค่าจ้างทนายทำคดีระหว่างประเทศ ก็เริ่มต้นที่ "หลักแสนบาท" แล้วล่ะครับ / หรือถ้าจะไปเคาะประตูหน้าบ้านคนขาย มันก็ไม่คุ้มกับการที่จะต้องซื้อตั๋วเครื่องบิน เดินทางข้ามประเทศไปหาคนขาย 

       แต่มันก็ไม่ถึงกับทำไม่ได้หรอกนะครับ  เพราะว่าจากการฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศมา 11 ปีนี้  ทีมงานก็ใช้ประสบการณ์ในการซื้อสินค้าต่างประเทศให้กับคุณลูกค้าได้เกือบ 100% เต็ม เพียงแต่ขอให้คุณลูกค้าได้ทำความเข้าใจกับเรื่อง "ความเสี่ยงในการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ" เสียก่อน

       เมื่อคุณลูกค้าเข้าใจเรื่อง "ความเสี่ยงในการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ" แล้ว และทำตามคำแนะนำของทีมงาน tuvagroup.com แล้ว  คุณก็จะไม่มีปัญหาใดๆกับเรื่องการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศครับ


* * * ผู้ให้บริการรายอื่นๆ มักไม่พูดเรื่องความเสี่ยงให้ลูกค้าฟัง เพราะคิดว่า ถ้าลูกค้าเห็นว่าการฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มีความเสี่ยง  ก็จะไม่กล้าฝากซื้อสินค้ากับผู้ให้บริการเจ้านั้น / แต่ต่างกับทีมงาน tuvagroup.com นะครับ เรากล้าพูดความจริง แม้ว่าจะให้ลูกค้ากลัวบ้างก็ตาม แต่ความจริงก็คือความจริง *

       เอาล่ะครับ เรามาดูเรื่องความเสี่ยงที่ว่านี้กัน โดยจะเรียงลำดับไปเป็นข้อๆนะครับ จะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ 


1.ชนิด

       ถ้าเอา ตามทฤษฏี ก่อน ( ยังไม่พูดถึงในแง่ปฏิบัติ ) ทางศุลกากรของประเทศไทยจะวางระเบียบไว้ว่า "ชนิด" ของสินค้าแบบไหน ที่นำเข้าได้ , อย่างไหนนำเข้าไม่ได้ , อย่างไหนนำเข้าได้แต่ต้องมีใบอนุญาตจาก อย. ( เช่นพวกอาหารเสริม )



* * * "ความลับ" ของเรื่องนี้ก็คือว่า ถ้าศุลกากรยึดระเบียบเรื่องนี้เกินไป คือเอาแบบเป๊ะๆ ก็จะไม่มีใครเอาอะไรนำเข้าประเทศได้เลย ยกเว้นพวก Text , ตำรา , หนังสือต่างประเทศ เท่านั้น ( เพราะ Text , ตำรา , หนังสือต่างประเทศ เป็นข้อยกเว้น ตามระเบียบศุลกากร )

       ที่ทีมงานบอกว่าเป็น "ความลับ" ก็คือว่า ในทางปฏิบัติ นั้น ทางศุลกากร เขาจะ "ผ่อนปรน" คือไม่ยึดตามระเบียบเป๊ะๆ เพราะหากยึดตามระเบียบเป๊ะๆ คือยึดทุกอย่างที่ไม่ใช่ Text , ตำรา , หนังสือต่างประเทศ ( ที่ไม่ใช่หนังสือต้องห้าม เช่น หนังสือโป้ ,หนังสือวิธีฆ่าตัวตาย )  แล้วล่ะก็ อีกหน่อยก็จะไม่มีใครกล้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านด่านศุลกากรเข้ามา

       เมื่อไม่มีคนไทยซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านด่านศุลกากรเข้ามา  ด่านศุลกากร ก็ไม่รู้จะไปเก็บภาษีกับใคร

       เมื่อไม่มีภาษีเข้ามาในระบบ  การบริหารงานในองค์กรของศุลกากร ก็จะมีปัญหาทันที 

       ดังนั้น ระบบของศุลกากร ก็จะเข้มบ้าง ผ่อนปรนบ้าง สลับๆกันไป เพื่อ "เลี้ยง" ให้มีคนยังอยากซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาอยู่  เพราะตราบใดที่ยังมีคนซื้อสินค้าต่างประเทศเข้ามา  ทางศุลกากร ก็จะยังมีรายได้จากภาษีเพื่อนำไปใช้ในการบริหารองค์กรได้ 


       ถ้าคุณลูกค้าถามทีมงานว่า "มีดพับ" ขนาดเท่าฝ่ามือ จะนำเข้าได้หรือไม่? อันนี้ ถ้ายึดตามระเบียบศุลกากร มันนำเข้าไม่ได้  เพราะถือว่าเป็นของมีคม เป็นอาวุธ  แต่ในทางปฏิบัติ มันนำเข้าได้ ( คือเป็นการนำเข้าในลักษณะการ "ผ่อนปรน" ของเจ้าพนักงาน   แต่ไม่ใช่นำเข้าได้เพราะระเบียบของศุลกากรอนุญาตเอาไว้ ( ซึ่งก็คือ จริงๆแล้ว ระเบียบศุลกากร ไม่ได้อนุญาตเอาไว้แต่อย่างใด แต่ที่นำเข้าได้ ก็เพราะเจ้าหน้าที่ศูลกากร เขา "ผ่อนปรน" ให้คุณ )  - ไม่งงนะครับ )

       ก็เหมือนการทำผิดกฏจราจร เช่น ไม่สวมหมวกกันน็อค ซึ่งการไม่สวมหมวกกันน็อคในขณะขับจักรยานยนต์ มันผิดกฏหมายจราจร 100% อยู่แล้ว แต่บางครั้ง เจ้าหน้าที่เขาก็ "ผ่อนปรน" ให้ เช่นขับในซอยอาจจะไม่จับ ฯลฯ

       การสั่ง "มีดพับ" ที่ยกตัวอย่างมาเมื่อสักครู่ก็เช่นกัน ถามว่า มันผิดระเบียบศุลกากรไหม  มันก็ผิดนั่นแหละ แต่ว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากร เขา "ผ่อนปรน" ไม่จับ

       แต่ถ้าคุณลูกค้าจะถามว่า "อะไรบ้างที่ได้รับการผ่อนปรน"  อันนี้ทีมงานตอบไม่ได้จริงๆ  เพราะถ้าจะเอากันจริงๆ มันก็มีปัญหาเรื่องการนำเข้าทุกชนิดนั่นแหละครับ ( ยกเว้น Text , ตำรา , หนังสือต่างประเทศ )

       คือมันต้องใช้ประสบการณ์ที่เคยซื้อสินค้าให้กับลูกค้าก่อนหน้านี้ แล้ว "โดนยึด" แล้วถึงเอามาบอกคุณได้ว่า อันไหนโดนยึด อันไหนไม่โดนยึด  / แต่ถ้าทีมงานไม่เคยซื้อสินค้า "ชนิด" ที่คุณถามมา ( เช่น ถามมว่า แว๊กซ์สำหรับขัดรถ นำเข้าได้หรือเปล่า? ) ทีมงานก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน  คือมันอาจจะนำเข้าได้ หรือนำเข้าไม่ได้ก็ได้  แต่ที่ทีมงานตอบไม่ได้ ก็เพราะยังไม่เคยมีใครสั่งแว็กซ์สำหรับขัดรถเข้ามานั่นเอง ก็เลยยังไม่มี "ตัวอย่าง" ที่จะทำให้ทีมงานรู้ว่า แว๊กซ์สามารถนำเข้าได้ หรือไม่ได้    


2.ขนาด

       ลองดูเรื่องของ "อุปกรณ์แต่งรถ" กัน

       สมมติว่าคุณสั่งกระจกข้างสำหรับรถยนต์เข้ามา  มันก็จะผ่านด่านศุลกากรได้ ( อาจจะต้องเสียภาษีนิดหน่อย

       แต่พอคุณสั่งซื้อ "กระจังหน้า" ซึ่งก็คือเป็นอุปกรณ์แต่งรถเหมือนกัน  แต่คุณกลับถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึด

       จากตัวอย่างที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะเป็น "ชนิด" เดียวกัน คือเป็นอุปกรณ์แต่งรถเหมือนกัน แต่สินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือไม่เป็นที่ "เตะตาศุลกากร" ก็มักจะผ่านด่านศุลกากรได้ / ส่วนสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ถึงขั้น "เตะตาศุลกากร" ก็จะไม่รอด



3.ปริมาณสินค้า 

       ตามปกติ สินค้าจากต่างประเทศทุกยี่ห้อ ก็มักจะมี "ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย" อยู่แล้วเกือบทุกชนิด  ยกตัวอย่างเช่นกางเกงยีนส์ลีวายส์

       ตัวแทนจำหน่ายกางเกงยีนส์ยี่ห้อลีวายส์ ก็ต้องทำหนังสือแจ้งกับศุลกากรว่า ห้ามไม่ให้คนไทยซื้อกางเกงยีนส์ลีวายส์จากต่างประเทศเข้ามา  ด้วยเหตุที่ว่า ตัวเขา ( หมายถึงตัวแทนคนนั้น ) ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากเจ้าของแบรนด์ลีวายส์แล้ว ว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายกางเกงยีนส์ลีวายส์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย  ถ้าคนไทยจะซื้อลีวายส์ ก็ต้องซื้อที่เขาเท่านั้น ห้ามนำเข้ามาจากต่างประเทศด้วยตัวเองอย่างเด็ดขาด

       "คราวนี้" ให้คุณผู้อ่านย้อนกลับไปดูหัวข้อก่อนหน้านี้ คือว่า ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากร เขาก็ต้องผ่อนปรนบ้าง เพื่อ "เลี้ยง" ให้ยังมีคนซื้อลีวายส์จากต่างประเทศเข้ามา แล้วเขาก็จะได้มีรายได้จากภาษีการนำเข้าบ้าง

       เพียงแต่คนที่ซื้อเข้ามานั้น ให้ซื้อแบบนำมาใช้เอง "อย่านำเข้ามาเพื่อการค้า" อย่างเด็ดขาด

       เพราะถ้านำเข้ามาเพื่อการค้า เช่นซื้อกางเกงยีนส์ลีวายส์ "5 ตัว" แล้วเอามาขายต่อในประเทศไทย แล้วไปขายราคาถูกกว่า "ตัวแทนลีวายส์ในประเทศไทย" เข้า / แล้ว ข่าว "เข้าถึงหู" ตัวแทนลีวายส์ในประเทศไทย ไอ้เจ้า ตัวแทนคนนี้ ก็อาจร้องเรียนเพื่อเล่นงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรคนนั้นก็ได้ ( ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ศุลกากรคนที่ให้ผ่านกางเกงลีวายส์ 5 ตัวนั้นเข้ามา )  

       ดังนั้น ถ้าคุณสั่งซื้อกางเกงยีนส์ลีวายส์ "5 ตัว" เข้ามาจริงๆ  เจ้าหน้าที่ศุลกากร ก็จะเก็บภาษีคุณอย่างหนัก เพื่อทำให้ราคากางเกงยีนส์ลีวายส์ "5 ตัว" นั้น เมื่อบวกรวมกับค่าภาษี ก็จะมีราคาเท่าๆกับราคาที่ซื้อได้จาก "ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย" เลย

       ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนของลีวายส์จากต่างประเทศมาคือตัวละ 2,000 บาท แล้วตัวแทนลีวายส์ในประเทศไทย เอามาขายตัวละ 3,000 บาท

       คือถ้าซื้อลีวายส์ "จำนวน 5 ตัว" จากตัวแทนลีวายส์ในประเทศไทย  ลูกค้าก็จะต้องใช้เงิน 15,000 บาท ( มาจาก 3,000 x 5 )

       คราวนี้ ถ้ามีคนซื้อลีวายส์แบบเดียวกันนี้ "5 ตัว" จากต่างประเทศเข้ามาโดยตรง  ก็จะใช้เงินแค่ 10,000 บาท ( มาจาก 2,000 x 5 )

       ดังนั้น เมื่อคุณนำเข้ากางเกงยีนส์ "5 ตัว" นี้เข้ามา คุณก็จะโดนภาษีประมาณ 5 พันบาท

       เหตุที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเขาคิดภาษีกับคุณตั้ง 5 พัน ก็เพื่อให้ เมื่อรวมกับค่าสินค้า ( ซึ่งมีราคา 10,000 บาท ) แล้ว ราคารวมทั้งหมด ( คือค่าสินค้า 10,000 + ค่าภาษี 5,000 บาท ) ก็จะเท่ากับ 15,000 บาท ซึ่งเป็นราคาเดียวกับที่ลูกค้าซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายลีวายส์ในประเทศไทยนั่นเอง

       การที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร เก็บภาษีโหดๆแบบนี้ เขาก็จะไม่โดนร้องเรียนจากตัวแทนผู้จำหน่ายลีวายส์ในประเทศไทย


* * * ถ้าคุณซื้อลีวายส์ 5 ตัว แล้วโดนภาษี 5,000 บาท ก็แสดงว่าภาษีตกตัวละ 1,000 บาท ถูกไหมครับ? "แต่" ถ้าคุณซื้อเข้ามาแค่ตัวเดียว ( คือเอามาใช้เอง ไม่ได้เอามาเพื่อการค้า ) คุณอาจไม่ต้องเสียภาษีเลยสักบาทก็ได้ หรือถ้าจะเสีย ก็อาจจะแค่ 200 บาทพอเป็นพิธี  ทั้งๆที่ก็เป็นยีนส์แบบเดียวกัน รุ่นเดียวกัน / คือหมายความว่า ยีนส์แบบเดียวกัน รุ่นเดียวกัน  ถ้านำเข้าแค่ 1 ตัว คุณอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ได้ แต่ถ้านำเข้า 5 ตัว คุณต้องเสียภาษีตัวละ 1,000 บาท - ไม่ งง นะครับ


4.เวบที่ขายสินค้า

     แม้ว่าคุณจะวางแผนไว้อย่างดีเรื่อง "ชนิด" / เรื่อง "ขนาด" / เรื่อง "ปริมาณ" แล้ว  แต่ถ้าคุณไปเจอเวบมิจฉาชีพ  คุณก็อาจเสียเงินไปฟรีๆ ( คือโอนเงินให้มันแล้ว มันก็ปิดเวบหนีไปเลย ) 

       หรือบางเวบ แม้ว่าจะไม่โกง แต่ก็ไม่สนใจบริการหลังการขายเลย คือไม่ตามเรื่องให้ลูกค้าเลย  ซึ่งคุณจะเจอเวบพวกนี้บ่อยๆ  

 
       แต่ถ้าสมมติว่า คุณผู้อ่านอยากได้สินค้าจากเวบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เวบที่ปลอดภัย ( คือไม่ใช่ เวบ  ebay.com , amazon.com , aliexpress.com  ) คุณก็ต้อง "เสี่ยงเอาเอง" นะครับ  คือมันอาจจะไม่มีปัญหาอะไรก็ได้ครับ  ( คำว่า "เสี่ยงเอาเอง" ในที่นี้ก็หมายถึงว่า คุณก็ขอให้ทีมงานโอนเงินซื้อสินค้าให้กับคุณได้ เพียงแต่ว่า "ถ้าเกิดปัญหา" ขึ้นมาภายหลัง เช่นโดนโกง หรือมีปัญหาอย่างอื่นตามมา อันนี้ ทีมงานก็ไม่รับผิดชอบให้คุณนะครับ เพราะถือว่า ทีมงานได้บอกคุณไว้ก่อนแล้ว แต่คุณอยาก "เสี่ยง" เอง )



5.เวบผู้ให้บริการ รับฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศ

     คุณคิดถูกแล้วที่เลือกเวบ tuvagroup.com  เพราะว่าเวบของเราซื้อสินค้าให้ลูกค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 

       คือถ้าเวบ tuvagroup.com ของเรา "งี่เง่า"  "โกง" ฯลฯ ก็คงอยู่มาไม่ได้นานขนาดนี้หรอกครับ / เมื่อจะมีผู้ให้บริการเจ้าใหม่ๆเกิดขึ้นในวงการ เขาก็ต้องพยายาม "ใส่ไฟ" "สาดโคลน" เพื่อไล่ทีมงาน tuvagroup.com ให้หลุดออกไปจากวงการ  แล้วตัวเองก็จะได้ขึ้นมาแทนที่ / แต่เวบ tuvagroup.com ก็อยู่มาได้นานขนาดนี้  นั่นก็แสดงว่าที่เขาใส่ไฟ หรือสาดโคลนนั้น มันไม่เป็นจริง

       มันก็ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง จริงไหมครับ? ( คือคุณต้องลองฝากซื้อสินค้าดูสักครั้ง )

       มีบางรายการ ที่ทีมงานจำเป็นต้องปฏิเสธไป คือไม่รับงานซื้อให้ ( ซึ่งจริงๆ หากทำได้ ทีมงานก็จะรับทำอยู่แล้วครับ แต่บางคร้้ง ดูแล้วมันทำไม่ได้จริงๆ ) 
แล้วคุณลูกค้าคิดว่าจะลองหันไปหาผู้ให้บริการเจ้าอื่น  ข้างล่างนี้คือผู้ให้บริการที่ทีมงานแนะนำว่า "ควรหลีกเลี่ยง" นะครับ

       ผู้ให้บริการที่ "พูดในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ยิน" เช่นรับรองผล 100% ซื้อได้แน่นอนครับ / ถ้าเจอพวกนี้ คุณลองขอ "เก็บเงินปลายทาง" ดูสิครับ  ก็บอกเองว่ารับรองผล 100%  ทำไมจะให้เก็บเงินปลายทางไม่ได้? 

การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มีความเสี่ยง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้


     ถ้าคุณเป็นคนขี้วิตกกังวล ทีมงานแนะนำว่าให้หาซื้อสินค้าที่คุณอยากได้ในประเทศไทยดีกว่าครับ  เพราะว่าการซื้อสินค้าต่างประเทศมันก็ต้องมีความเสี่ยงอยู่บ้าง

       คือถ้าการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มัน "ง่าย" แค่กรอกบัตรเครดิตแล้วโอนเงินไปให้คนขาย แล้วก็รอรับของเลย  ถ้ามันง่ายขนาดนั้น ก็คงไม่มีใครมาใช้บริการกับเวบ tuvagroup.com หรอกครับ

       ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการ ก็คือลูกค้าที่เคยโดน "คนขายโกง" มาแล้วทั้งนั้น / เขาถึงได้รู้แล้วว่าการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันไม่หมู

       แม้ว่าการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้นะครับ

       เพราะทีมงาน tuvagroup.com เองก็สั่งสมประสบการณ์มายาวนานเป็น 10 ปีแล้ว ก็ย่อมไม่ธรรมดาเช่นกัน



สรุป ...


       สำหรับการฝากซื้อสินค้าของคุณผู้อ่านนั้น ทีมงานขอสรุปสั้นๆแค่ 4 ข้อ คือ  

       1.ควรสั่งซื้อจากเวบที่มีตัวกลางที่น่าเชื่อถือ เช่น เวบอีเบย์ , amazon หรือ aliexpress


       2.ควรสั่งซื้อแค่ 1 ชิ้นก่อน เพื่อจะได้รู้ว่า "ชนิด" และ "ขนาด" ของสินค้าผ่านไหม


       3.ถ้าการสั่งซื้อครั้งแรกผ่านไปด้วยดี คือได้รับสินค้าตามปกติ ก็แสดงว่า "ชนิด" และ "ขนาด" ผ่าน / อย่างนี้ คุณก็อาจเพิ่ม "ปริมาณ" การซื้อขึ้น เช่น ลองสั่งซื้อเป็น 2 ชิ้น แล้วดูว่าจะมีปัญหาอะไรกับศุลกากร ตอนที่นำเข้าไหม


       4.ถ้าซื้อ 2 ชิ้นผ่าน ครั้งต่อไปก็เพิ่มเป็น 3 ชิ้น ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอจุดสมดุลว่าสั่งซื้อได้มากที่สุดกี่ชิ้นกันแน่ ( โดยที่ไม่มีปัญหากับศุลกากร )  


- END -