script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: July 2020

Monday, July 27, 2020

เมื่อไรจะได้รับพัสดุ


เมื่อไรจะได้รับพัสดุ


      การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ มีความแตกต่างจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย  นั่นก็คือ ถ้าเราสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย เพียงไม่เกิน 3 วัน เราก็จะได้รับสินค้าแล้ว เหตุผลก็เพราะว่า เมื่อผู้ขายนำกล่องพัสดุไปส่งให้บริษัทไปรษณีย์ไทยดำเนินการต่อ  เจ้ากล่องพัสดุสินค้านั้น ก็จะเดินทางเพียง "ทอดเดียว" คือเดินทางจากบริษัทไปรษณีย์ไทย แล้วตรงไปที่บ้านลูกค้าเลย  ด้วยเหตุนี้ การซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยด้วยกันเอง จึงได้รับของภายในเวลาไม่เกิน 3 วัน  

       แต่การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศจะแตกต่างออกไป  เพราะการเดินทางของกล่องพัสดุสินค้านั้น จะต้องเดินทาง "หลายทอด"

       ซึ่งเมื่อกล่องพัสดุสินค้าต้องมีการเดินทาง "หลายทอด" ก็เลยเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับพัสดุสินค้าช้ากว่าการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยด้วยกันเป็นอยางมาก



      ( ภาพบน ) ในการอธิบายนั้น ทีมงานขอยกตัวอย่างมาให้ดู ดังเคสที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ

       เคสที่เห็นในภาพข้างบนนี้ก็คือว่า คุณลูกค้าท่านนี้ อยากจะได้รับสินค้าชิ้นนี้จากประเทศอเมริกา ให้ส่งถึงมือตัวเอง ( ที่ประเทศไทย ) ในเวลาไม่เกิน 2 - 4 วัน

       และเมื่อเห็นข้อความตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีแดง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ ก็เลยมั่นใจว่าถ้าโอนเงินให้คนขายคนนี้เมื่อไร  ก็จะต้องได้รับพัสดุสินค้าถึงมือภายในเวลา 2 - 4 วันนับจากวันที่ทีมงาน tuvagroup.com โอนเงินให้คนขายเป็นแน่


       แต่พอทีมงาน tuvagroup.com ดำเนินการสั่งซื้อให้แล้ว ( คือทีมงานโอนเงินให้คนขายเรียบร้อยแล้ว )  ปรากฏว่า คุณลูกค้าต้องรอถึง "65 วัน" กว่าที่สินค้าจะถึงมือ ???  /  เกิดอะไรขึ้น! มีอะไรผิดพลาดหรือ? ทำไมถึงไม่ได้รับภายใน 2 - 4 วันตามที่คนขายเขาเขียนไว้

       คำตอบก็คือว่า ไม่มีอะไรผิดพลาดหรอกครับ แต่ "ระบบ" มันเป็นอย่างนั้นเอง ( คำว่า "ระบบ" ในที่นี้ หมายถึง "รูปแบบ" การเดินทางของกล่องพัสดุสินค้าของคุณ ที่ต้องเดินทางออกจากมือของผู้ขาย จนกระทั่งเดินทางมาถึงมือของลูกค้า ( คือคุณ ) ที่ประเทศไทย )


       คำว่า "ระบบ" มันเป็นอย่างนั้นเอง นั้น ทีมงานได้พูดเปรียบเทียบให้ฟังไปก่อนหน้านี้แล้วว่า

 * * * ถ้าเป็น "ระบบ" ของการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยด้วยกัน - ลูกค้าก็จะได้รับกล่องพัสดุสินค้าถึงมือภายในไม่เกิน 3 วัน เพราะมันเป็นการส่งกล่องพัสดุสินค้าแบบ "ทอดเดียว" คือส่งโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย ตรงไปที่บ้านลูกค้าเลย


* * * ถ้าเป็น "ระบบ" ของการซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ - ลูกค้าจะได้รับกล่องพัสดุสินค้าถึงมือแบบช้ามาก นั่นก็เพราะว่า การส่งกล่องพัสดุสินค้าจากมือคนขายที่อยู่ต่างประเทศ มาถึงมือลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทยนั้น  กล่องพัสดุสินค้าดังกล่าว  มันจะต้องผ่านการเดินทาง "หลายทอด"


* * * ดังนั้น คุณต้องเปลี่ยนคำถามใหม่!

       เพราะถ้าคุณถามว่า ทำไม เวลาสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ถึงต้องรอนานมากๆขนาดนี้? ถ้าคุณถามมาอย่างนี้  ทีมงานก็ตอบได้สั้นๆว่า ก็เพราะ "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันเป็นอย่างนั้นเอง  /  ซึ่งคำตอบนี้ มันไม่ทำให้คุณเกิดความกระจ่าง 

       คุณควรจะตั้งคำถามเสียใหม่ว่า "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันเป็นอย่างไร? นี่สิครับ ถึงจะเป็นคำถามที่ถูกต้อง

       และเมื่อคุณตั้งคำถามได้ถูกต้องแล้ว ( คือคุณตั้งคำถามว่า "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันเป็นอย่างไร? ) ทีมงานก็ขอตอบ ด้วยการอธิบายดังนี้นะครับว่า  "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศก็คือว่า  การส่งกล่องพัสดุสินค้าจากมือคนขายที่อยู่ต่างประเทศ มาถึงมือลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย มันต้องผ่านขั้นตอน "หลายทอด"


       และในหน้าเวบนี้ ทีมงานจะแจงให้คุณผู้อ่านได้เรียนรู้ว่า ไอ้เจ้าคำพูดที่ว่า "หลายทอด" นั้น มันมีอะไรบ้าง?

       โดยจะเริ่มต้นตรงที่ เรา ( ซึ่งคือตัวลูกค้า ) ได้โอนเงินค่าสินค้าพร้อมค่าส่ง โอนไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศเรียบร้อยแล้วนะครับ มาดูกันเลยครับ 


ทอดที่หนึ่ง - "1 - 5 วัน"   สำหรับ Processing Time

      คำว่า Processing Time ในที่นี้หมายถึง ระยะเวลาในการดำเนินการจัดเตรียมสินค้า จนกระทั่งเอากล่องพัสดุสินค้ากล่องนั้น นำไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน

       อธิบายได้ดังนี้ว่า หลังจากที่ลูกค้าโอนเงินให้กับคนขายแล้ว  สมมติว่าโอนเงินให้คนขายวันอังคาร  คนขายก็ใช้เวลาในวันนั้น ( คือวันอังคาร ) ทำการห่อกล่องสินค้าให้เรียบร้อย  /  พอวันรุ่งขึ้น คนขายก็นำกล่องพัสดุสินค้านั้น ไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ( คือวันพุธ )  /  แล้วที่ทำการไปรษณีย์ ก็นำพัสดุกล่องนั้นไปส่งที่สนามบินในวันถัดไปเลย ( คือวันพฤหัส )  /  กรณีนี้ ถือได้ว่า Processing Time ใช้เวลา 3 วัน คือวันอังคาร ,วันพุธ และวันพฤหัส

       คราวนี้สมมติว่า เป็นกรณีที่ว่า ลูกค้าโอนเงินให้คนขายวันศุกร์ตอนหัวค่ำ ( ตามเวลาที่ประเทศอเมริกา )  คนขายก็เลยต้องรอเบิกของจากโกดังในวันจันทร์  /  พอถึงวันจันทร์ คนขายก็ไปเอาสินค้าออกมาจากโกดัง มาทำการห่อกล่องสินค้าให้เรียบร้อย แล้วนำไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ในวันนั้นเลย ( คือส่งที่ทำการไปรษณีย์ในวันจันทร์ )  /  แล้วที่ทำการไปรษณีย์ ก็นำกล่องพัสดุสินค้ากล่องนั้น ไปส่งที่สนามบินในวันถัดไป ( คือวันอังคาร )  /  กรณีนี้ ถือได้ว่า Processing Time ใช้เวลา 5 วัน คือวันศุกร์ ( รับเงินจากลูกค้าตอนหัวค่ำ ) ,วันเสาร์ ( รอเบิกสินค้าจากโกดัง ) ,วันอาทิตย์ ( รอเบิกสินค้าจากโกดัง ) ,วันจันทร์ ( เบิกสินค้ามาห่อกล่อง แล้วนำกล่องพัสดุสินค้านั้นไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ) และวันอังคาร ( บริษัทไปรษณีย์นำกล่องพัสดุสินค้านั้นไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน ) 


* * * ถ้าคุณผู้อ่านจะถามว่า ตกลงว่าลูกค้าต้องรอ "ทอดที่หนึ่ง" ซึ่งก็คือการรอในช่วงของ Processing Time กี่วันกันแน่?  คำตอบก็คือว่ามัน "ไม่แน่นอน" เพราะมันขึ้นกับว่าคุณลูกค้าโอนเงินให้คนขายวันไหน? ( อย่าลืมว่าเวลาของประเทศไทยกับอเมริกาจะเคลื่อนกันประมาณ 10 - 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นรัฐไหนของอเมริกา ) รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น นิสัยส่วนตัวของคนขาย ( หมายถึงความรับผิดชอบ ) , ความใกล้ไกลจากบ้านของคนขาย ไปถึงที่ทำการไปรษณีย์ รวมถึงสภาพภูมิอากาศ ( ทีมงานเคยเจอเคสที่คนขาย "เสื้อกันหนาว" ใช้เวลา Prcessing Time นานเป็นอาทิตย์ ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านคนขายอยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ  และหิมะตกหนักจนถนนสัญจรไปมาไม่ได้  /  ก็เลยต้องรอหลายวันกว่าจะเคลียร์ถนนให้รถวิ่งไปมาได้  จากนั้นจึงค่อยเดินทางหลายสิบกิโลมาส่งพัสดุสินค้า ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ในตัวเมือง  ก็เลยทำให้ Processing Time ใช้เวลามากเป็นอาทิตย์ )

       อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของทีมงานในรอบ 11 ปีนี้ ทีมงานขอใช้การเฉลี่ย จากการที่บางเคสก็ใช้เวลาน้อย บางเคสก็ใช้เวลามาก เป็นว่า Processing Time คือ 3 วัน ( โดยเฉลี่ย ) ก็แล้วกันนะครับ


ทอดที่สอง - "40 วัน"  สำหรับ การเดินทางของกล่องพัสดุสินค้ามาประเทศไทย

     ข้อเท็จจริงในข้อนี้ ( ที่บอกว่าต้องรอถึง "40 วัน" สำหรับการเดินทางของกล่องพัสดุสินค้ามาประเทศไทย ) ถ้าคุณไปถาม "ผู้ให้บริการเจ้าอื่น" เขาจะ "ไม่กล้า" บอกเรื่องนี้กับคุณ  คือเขาจะโกหกคุณด้วยการ พูดในสิ่งที่คุณอยากได้ยิน เช่นพูดว่า "อาทิตย์เดียว" ก็ได้รับของแล้ว ( ทั้งๆที่ความจริง ลูกค้าจะต้องรอนานกว่านั้นมาก )

       สาเหตุที่  "ผู้ให้บริการเจ้าอื่น" เขาต้องโกหกคุณว่า "อาทิตย์เดียว" ก็ได้รับของแล้ว ก็เพราะว่า ถ้าลูกค้ารู้ความจริงว่า แค่รอการขนส่งพัสดุสินค้ามาประเทศไทยอย่างเดียว ( ยังไม่รวมขั้นตอนอื่น ) ก็ต้องรอถึง 40 วัน แล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะ "ถอดใจ" ไม่อยากเสียเวลารอขนาดนั้น  แล้วก็จะไม่ใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้านั้น  ทำให้ผู้ให้บริการเจ้านั้นสูญเสียรายได้จากคุณลูกค้าท่านนั้นไป  /  ดังนั้น "ผู้ให้บริการเจ้าอื่น" จึงใช้วิธีโกหกเอา ( คือโกหกว่าจะได้รับของภายในอาทิตย์เดียว ) เพื่อรักษารายได้เข้ากระเป๋าของเขานั่นเอง

       แต่กับทีมงาน tuvagroup.com นั้น ทีมงานจะพูด "ความจริง" ให้คุณลูกค้าฟัง แม้ว่า "ความจริง" นั้น มันจะทำให้ลูกค้าฟังแล้ว "หดหู่" ก็ตาม  แต่ความจริงก็คือความจริง ( หมายถึงการพูดความจริงที่ว่า ต้องรอ "40 วัน" สำหรับการเดินทางของกล่องพัสดุสินค้าจากต่างประเทศมาประเทศไทยเพียงอย่างเดียว โดยที่ยังไม่ได้รวมปัจจัยความช้าอย่างอื่นเข้าไปด้วย )

       คุณผู้อ่านอาจจะคิดว่า คำพูดของทีมงานที่ว่าต้องรอ "40 วัน" นั้น มีหลักฐานไหม? หรือแค่พูดขึ้นมาลอยๆให้ใจเสียเล่นๆ?

       แน่นอนครับ ทีมงานต้องมีหลักฐานอยู่แล้ว และหลักฐานที่ดีที่สุดก็คือ ผลการเช็คสถานะ หรือที่เรียกว่า Tracking Number ของสินค้านั่นเองครับ เรามาดูกันเลยครับ ... ( ภาพข้างล่างนี้ )


หมายเหตุ -  ตัวอย่างภาพข้างล่างนี้ทั้งหมดเป็นของจริง ที่ทางทีมงาน tuvagroup.com ได้ประสบมา และเก็บเป็นหลักฐานเพื่อเอามานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้ศึกษากันนะครับ

ภาพบน ) การเช็คสถานะ ของบริษัท DHL

https://webtrack.dhlglobalmail.com/?trackingnumber=GM285324536114727331/

     ( ภาพบน ) เมื่อดูสถานะของพัสดุสินค้าในภาพข้างบนนี้ สรุปได้ว่า

 * * * กล่องพัสดุสินค้าชิ้นนี้ เดินทางออกจากอเมริกา เมื่อวันที่ 27 กันยายน ( ตรงที่ ลูกศร "ใหญ่" สีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


 * * * กล่องพัสดุสินค้าชิ้นนี้ เดินทางมาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ( ตรงที่ ลูกศร "ใหญ่" สีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


* * * นั่นก็หมายความว่า กล่องพัสดุสินค้าชิ้นนี้ ใช้เวลาเดินทางเป็นเวลา 6 พฤศจิกายน - ลบด้วย - 27 กันยายน เท่ากับ 40 วัน 


หมายเหตุ - ภาพข้างบนนี้ ทีมงานไม่ได้ไปตัดต่อ ตกแต่งอะไรเลยนะครับ เอามาให้ดูแบบตรงๆเลย  สามารถพิสูจน์ได้ ( ว่าทีมงานไม่ได้ตกแต่งภาพ ) ด้วยการให้คุณผู้อ่านคลิ๊กไปที่ลิงก์นี้เลยครับ  https://webtrack.dhlglobalmail.com/?trackingnumber=GM285324536114727331  แล้วคุณผู้อ่านก็จะได้เห็นภาพ เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้เลยครับ  จะได้รู้ว่าทีมงานไม่ได้ "มั่ว" หรือโกหกคุณแต่อย่างใด

ขอแทรกนิดนึงครับ 

       คุณผู้อ่านบางท่านอาจจะคิดในใจว่า ทีมงาน "บอกไม่หมด" หรือเปล่า? เช่น จริงๆแล้ว สินค้าที่เอาเลข Tracking Number มาให้ดูในครั้งนี้ อาจจะเป็นการใช้บริการกับบริษัทขนส่งโนเนม ห่วยๆก็ได้  /  หรือไม่ก็น้ำหนักสินค้าอาจจะหนัก 10 กิโลกรัม ก็ได้ ก็เลยได้รับช้า  /  หรืออาจจะเป็นเพราะตอนสั่งซื้อนั้น ทีมงานไปเลือกการ "ส่งฟรี" ก็เป็นไปได้ ก็เลยทำให้ต้องรอ 40 วัน

       สำหรับความสงสัยนี้ ทีมงานยืนยันได้ว่า เลข Tracking Number ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ได้มาจากการส่งพัสดุสินค้าที่มีลักษณะสำคัญดังนี้คือ

  * * * เป็นการดำเนินการโดยบริษัทขนส่ง DHL ซึ่งมีมาตรฐานระดับโลก ( ไม่ใช่บริษัทขนส่งโนเนม ห่วยๆ แต่อย่างใด )


  * * *  น้ำหนักสินค้าทั้งหมดก็แค่ 540 กรัม เท่านั้น ไม่ได้หนักเป็น 10 กิโลกรัม แต่อย่างใด


 * * *  ราคาค่าส่งนั้น ถือว่า "แพง" ( ค่าส่งมาไทยคือ 16.38 เหรียญ ) ที่ว่า "แพง" ก็เพราะราคาค่าส่งในครั้งนี้นั้น  มีราคาพอๆกับค่าสินค้าเลย ( ค่าสินค้าคือ 19.99 เหรียญ )  "ไม่ใช่" การส่งฟรีแต่อย่างใด


       หรืออาจพูดได้ว่า ขนาดใช้บริการของบริษัท DHL และน้ำหนักของสินค้าก็ ไม่ได้หนักมาก และค่าส่งก็ "แพง" ด้วย ก็ยังต้องรอถึง 40 วัน กว่าเครื่องบินจะบินจากอเมริกา มาถึงประเทศไทยได้


* * * สำหรับตัวเลขต่างๆ เช่น การบอกว่าน้ำหนักสินค้า 540 กรัม ,ค่าส่ง 16.38 เหรียญ และค่าสินค้า 19.99 เหรียญ นั้น มีที่มาอย่างไร พูดลอยๆหรือเปล่า?  คุณผู้อ่านสามารถดูที่มาของตัวเลขเหล่านี้ได้ที่ลิงก์นี้เลยนะครับ  http://www.tuvagroup.com/3fvhp-A-03-Y-611110-1015.html  * 


ทอดที่สาม - "19 วัน"  สำหรับการรอในช่วงขั้นตอนของเจ้าพนักงานศุลกากร

      เมื่อกล่องพัสดุสินค้าเดินทางมาถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ( หลังจากที่ต้องรอมานานถึง "40 วัน" + Processing Time "3 วันก็จะมีเจ้าพนักงาน นำพัสดุสินค้าทั้งหมดในเครื่องบินลำนั้น ไปเข้าสู่ขั้นตอนวิธีการทางศุลกากรในทันทีเลยนะครับ

       ขั้นตอนวิธีการทางศุลกากรที่ว่านี้ ก็ได้แก่การนำกล่องพัสดุสินค้า "ทั้งหมด" ( คือของคุณด้วย ของคนอื่นที่ส่งมาในเที่ยวบินเดียวกันนี้ด้วย ) ไปตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดกฏหมาย หรือผิดระเบียบศุลการกร ( เช่น ยาเสพติด หรือ อาวุธปืน ฯลฯ ) แอบใส่มาในกล่องพัสดุนั้นด้วยหรือเปล่า  รวมไปถึงเรื่องการคำนวณภาษีกับสินค้าในกล่องพัสดุแต่ละกล่องด้วย 

       ขั้นตอนวิธีทางศุลกากรที่ว่านี้ ใช้ประมาณเวลา "19 วัน" นะครับ   ถามว่า เลข "19 วัน" เอามาจากไหน? ดูคำตอบได้จากภาพข้างล่างนี้นะครับ  

ภาพบน ) การเช็คสถานะสินค้า

      ( ภาพบน ) รายละเอียดในรูปข้างบนนี้ มาจากการที่ทางทีมงาน tuvagroup.com ได้เช็คสถานะสินค้าให้ลุกค้าท่านหนึ่งเอาไว้  โดยผลการเช็คถสถานะ ปรากฏดังที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ  ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็คือว่า 

       - พัสดุสินค้าเดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน  จากนั้นก็นำไปดำเนินการตามวิธีการทางศุลกากร


       - ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - คุณจะเห็นได้ว่า มีการบิดเบือนลงไปในเอกสารว่า "ของออกจากหน่วยงานศุลกากรท้องถิ่นแล้ว" ( Out of Foreign Customs ) ทำให้ดูเหมือนว่าพัสดุสินค้าอยู่กับศุลกากรแค่วันเดียว ( คือระหว่างวันที่ 30 พ.ย. ถึงวันที่ 1 ธ.ค. เท่านั้น ) แล้วปล่อยพัสดุสินค้าออกจากด่านเลย  แต่จริงๆแล้ว ...( ข้างล่างนี้ )


       - ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - จะเห็นว่าคุณลูกค้าท่านนี้ได้รับพัสดุสินค้า ( ใช้ศัพท์ว่า Delivered ) ถึงมือเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม

* * * ซึ่งจากคำพูดที่ทีมงานพูดไว้ก่อนหน้านี้ที่ว่า ถ้าเป็นการที่คนไทย ส่งพัสดุให้คนไทยด้วยกัน ภายในประเทศไทยด้วยกัน ก็จะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน


* * * คือหมายความว่า เมื่อคนไทย นำกล่องพัสดุ "เข้าสู่ระบบ" ของไปรษณีย์ไทยเมื่อไร ( หมายถึงการนำกล่องพัสดุไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์เมื่อไร ) ก็ให้นับจากวันที่นำกล่องพัสดุ "เข้าสู่ระบบ" นั้น ไปข้างหน้า 3 วัน  ผู้รับก็จะได้รับพัสดุนั้นแล้ว ( เช่น ถ้าส่งวันที่ 1  ผู้รับ ก็จะได้รับวันที่ 4 )


* * * คราวนี้ พอเราดูในภาพข้างบนนี้ จะเห็นว่า ผู้รับ ได้รับพัสดุสินค้าเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) 


* * * นั่นก็หมายความว่า พัสดุสินค้าชิ้นนี้ ต้องพึ่ง "เข้าสู่ระบบ" ของไปรษณีย์ไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม  ( ซึ่งก็คือ 3 วัน ก่อนที่จะถึงวันที่ 22 ธันวาคม )


* * * คือพูดง่ายๆว่า วันที่ 19 ธันวาคม คือวันที่พัสดุสินค้าพึ่งจะออกจากด่านศุลกากร แล้วมา "เข้าสู่ระบบ" ของไปรษณีย์ไทยนั่นเอง - ไม่ งง นะครับ


* * * นั่นก็หมายความว่า ระยะเวลาที่พัสดุสินค้าอยู่ในช่วงการดำเนินการตามวิธีการทางศุลกากร ก็คือการเอา 19 ธันวาคม ( วันที่พัสดุสินค้าออกจากด่านศุลกากร ) - ( ลบด้วย ) 30 พ.ย. ( คือวันที่พัสดุสินค้าถูกนำมาเข้าด่านศุลกากร ) = 19 วัน


สรุปว่า แม้ว่า เวลาที่เราดูผลการเช็คสถานะในภาพข้างบนนี้ เราอาจจะคิดว่า สินค้าอยู่ในความดูแลของไปรษณีย์ไทย ถึง 21 วัน แต่ความจริงแล้ว มันไปอยู่ในความดูแลของด่านศุลกากร 19 วัน ต่างหาก ( แล้วจึงมาอยู่กับไปรษณีย์ไทยอีก 3 วัน )

       จึงสรุปได้ว่า การเดินทางใน ทอดที่สาม ของกล่องพัสดุสินค้าก็คือ การที่กล่องพัสดุสินค้านั้น มาอยู่ในความดูแลของฝ่ายศุลกากร เป็นเวลา 19 วัน นั่นเอง

ทอดที่สี่ - "3 วัน" สำหรับ "ขั้นตอนตามปกติ" ของการส่งพัสดุโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย


หลังจากที่พัสดุสินค้าผ่าน ทอดที่สาม ( ซึ่ง ทอดที่สาม เก็คือช่วงที่พัสดุสินค้าอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานศุลกากร )  บริษัทไปรษณีย์ไทยก็จะไปรับพัสดุสินค้าออกมาจากด่าน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้คือ

       -  เมื่อบริษัทไปรษณีย์ไทยมารับพัสดุสินค้าจากด่านแล้ว พัสดุสินค้านั้นก็จะ "เข้าสู่ระบบ" การส่งพัสดุของบริษัทไปรษณีย์ไทย


       - ซึ่งเมื่อกล่องพัสดุสินค้านั้น "เข้าสู่ระบบ" การส่งพัสดุของบริษัทไปรษณีย์ไทยแล้ว พัสดุสินค้านั้นก็จะถึงมือผู้รับ ( ลูกค้า ) ภายใน 3 วัน


       - นั่นก็หมายความว่า ใน ทอดที่สี่ ( ที่เรากำลังพูดถึงในหัวข้อนี้ ) - ก็คือการรอ "3 วัน" อันเป็นไปตาม "ขั้นตอนตามปกติ" ของการส่งพัสดุโดยบริษัทไปรษณีย์ไทยนั่นเอง 



ขอแทรกนิดนึงครับ 

อย่าเชื่อคำพูดของผู้ให้บริการเจ้าอื่น

      เวลาที่คุณผู้อ่านได้รับข้อมูลจากทีมงานว่า ถ้าสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ แล้วจะต้องรอนานถึง 65 วัน ( มาจาก 3 วัน ที่เป็น Processing Time +  40 วัน บนเครื่องบิน + 19 วัน ที่ด่านศุลกากร + 3 วัน สำหรับการส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทย ) คุณผู้อ่านส่วนมากก็จะ "ตกใจ" เพราะคิดไม่ถึงว่าจะต้องรอนานขนาดนั้น

       แล้วพอผู้ให้บริการรับฝากซื้อสินค้าเจ้าอื่น โฆษณาตัวเองว่า ถ้าฝากซื้อกับเขาแล้วล่ะก็ จะได้รับสินค้าภายใน 7 วัน เท่านั้น เอาหัวเป็นประกันได้เลย  /  พอลูกค้าได้ยินอย่างนี้ก็พากันหลงเชื่อ และคิดว่า ในเมื่อถ้าใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com แล้วต้องรอนาน 65 วัน  อย่างนี้ เปลี่ยนไปใช้บริการกับผู้บริการเจ้าอื่นดีกว่า เพราะจะได้รับของภายใน 7 วัน เท่านั้น - อันนี้เป็นความคิดที่ผิดนะครับ

       เหตุผลก็เพราะว่า ผู้ให้บริการเจ้าอื่น ก็แค่ พูดในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ยิน เท่านั้น  คือพูดแค่ว่า จะได้รับสินค้าภายใน 7 วัน  แล้วพอภายหลัง ลูกค้าต้องรอ 65 วัน เหมือนกับที่ทีมงานเคยบอกไว้  พอลูกค้าไปด่าเขา ( หมายถึงไปด่าผู้ให้บริการเจ้านั้น ที่สัญญาว่าจะได้รับของภายใน 7 วัน เอาหัวเป็นประกัน ) เขาก็แค่ "ไม่ตอบ" คุณ  เพราะเขาถือว่าเขาได้รับค่าบริการจากคุณไปแล้ว ก็จบแค่นั้น อยากหลงเชือเขาเอง


       การเดินทางของกล่องพัสดุสินค้า ( ที่ใช้เวลา 65 วัน ) มันเป็นเรื่องของ "ระบบ"

       ในเมื่อ "ระบบ" มันเป็นอย่างนั้น ( คือกล่องพัสดุสินค้า ต้องใช้เวลา 65 วัน ในการเดินทาง ) มันจึงไม่เกี่ยวกับว่า คุณลูกค้าเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้าไหน  เพราะว่า ไม่ว่าคุณจะใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้าไหน  "ระบบ" ก็ทำให้คุณต้องรอ 65 วัน อยู่ดี

       ความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการเจ้าอื่น กับทีมงาน tuvagroup.com ก็คือว่า ผู้ให้บริการเจ้าอื่น เขาจะ พูดในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ยิน เท่านั้น ( เช่นพูด "หลอก" ว่าจะได้รับของภายใน 7 วัน - เอาหัวเป็นประกัน ) เพื่อให้คุณหลงเชื่อ แล้วก็รับออร์เดอร์จากคุณ

       ในขณะที่ทีมงาน tuvagroup.com จะพูดความจริงกับคุณ ( เช่นพูดว่า ต้องรอ 65 วัน ) แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่คุณฟังแล้วไม่สบายใจก็ตาม  แต่มันก็เป็นความจริง

       คุณลูกค้าก็พิจารณาเอาเองนะครับว่าจะเชื่อใคร?  ผู้ให้บริการบางเจ้า มาจากการที่ตัวเอง "ตกงาน" จากงานประจำที่เคยทำอยู่ แล้วมีบัตรเครดิตติดตัวแค่ใบเดียว ก็เปิดตัวว่าเป็นผู้ให้บริการรับฝากซื้อสินค้าแล้ว ทั้งๆที่ไม่มีประสบการณ์อะไรเลย ( มีแค่บัตรเครดิตใบเดียว )  ในขณะที่ทีมงาน tuvagroup.com มีประสบการณ์การรับฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศมาถึง 11 ปี แล้ว โดยมีหลักฐานดูได้ที่ลิงก์  http://www.tuvagroup.com/stateindex-610526.html  และที่ลิงก์  http://www.tuvagroup.com/stateindex.html   ทีมงานจึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นแบบเทียบกันไม่ติดเลยครับ 

ไปอ่านที่กระทู้ของ Pantip.com   เขาบอกว่า "ไม่ถืงเดือน" ก็ได้รับพัสดุสินค้าแล้ว

     มันก็มีบางเคสเหมือนกันครับ ที่ลูกค้าได้รับพัสดุสินค้าเร็ว ยกตัวอย่างเช่น "ไม่โดนสุ่มตรวจ" โดยศุลกากร ก็เลยไม่ต้องเสียเวลา 19 วัน ที่ด่าน  รวมไปถึงบางครั้ง ก็อาจจะมีกรณีที่มีสายการบินที่บินตรงจากประเทศผู้ขาย มาประเทศไทยพอดี ไม่ต้องไปแวะส่งหรือรับสินค้าที่ประเทศอื่นก่อนมาประเทศไทย ก็เป็นได้ 

       ซึ่งเรื่องพวกนี้ ( ที่ทำให้ได้รับพัสดุสินค้าภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน ) มันเป็นเรื่องของ ดวงล้วนๆ

       คือที่ทีมงานบอกว่าจะได้รับพัสดุสินค้าภายใน 65 วัน นั้น ทีมงานพูดไปตาม "ระบบ" ปกติของการได้รับพัสดุสินค้านะครับ  ซึ่งก็อาจจะมีบางท่านที่ ดวงดี ( ไม่โดนสุ่มตรวจที่ด่านศุลกากร + สายการบิน บินตรงมาไทยพอดี ) ก็เลยได้รับพัสดุสินค้าภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือนโดยที่ไม่ต้องรอถึง 65 วัน เหมือนชาวบ้านคนอื่นเขาต้องรอกัน

       แล้วพวกที่ ดวงดี พวกนี้ ( ที่ได้รับพัสดุสินค้าภายใน 1 เดือน ) ก็มาโพสต์ไว้ในกระทู้ของ Pantip.com ว่าตัวเองได้รับพัสดุสินค้าภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน

       แล้วพอมีคนมาอ่านกระทู้เหล่านั้น ก็เลยสรุปเอาเองว่า เมื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ก็ไม่ต้องรอเกิน 1 เดือนแน่ - ซึ่งมันเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ  /  เพราะการจะได้รับพัสดุสินค้าภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือนนั้น มันเป็นเรื่องของ ดวงล้วนๆ  ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับพัสดุสินค้าภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือนกันหมดหรอกนะครับ

ทอดที่ห้า - "ไม่รู้เวลาแน่นอน"  สำหรับความผิดพลาดแบบแปลกๆ

       จากการที่ทีมงานพูดมาก่อนหน้านี้นั้น เป็น "สี่ทอดมาตรฐาน ที่เป็นสาเหตุให้พัสดุสินค้ามาถึงมือคุณลูกค้าช้านะครับ

       คือหมายความว่า พัสดุสินค้าทุกชิ้นที่ถูกสั่งซื้อออนไลน์ จากต่างประเทศนั้น  ลูกค้าจะต้องเสียเวลารออย่างน้อย 65 วัน ซึ่งถือเป็น "สี่ทอดมาตรฐาน ที่เป็นสาเหตุให้พัสดุสินค้ามาถึงมือลูกค้าช้า ( ยกเว้นลูกค้าที่ ดวงดีจริงๆ  ถึงจะได้รับพัสดุสินค้าเร็วกว่านี้ )

       
แต่ใน "ทอดที่ห้า" ที่ทีมงานกำลังจะพูดให้ฟังนี้นั้น มัน ไม่ใช่ขั้นตอนมาตรฐาน ครับ คือหมายความว่า ความผิดพลาดที่ทีมงานบอกว่าเป็น "ทอดที่ห้า" ที่เป็นความผิดพลาดแบบแปลกๆนี้ มันเกิดขึ้นกับคุณลูกค้าบางท่านเท่านั้นเอง ( ไม่ได้เกิดขึ้นกับลูกค้าทุกท่าน )

       ความผิดพลาดแบบแปลกๆที่ว่านี้ มันมีหลายเคสนะครับ แต่ทีมงานจะยกเอามาให้ดูเป็นตัวอย่างสัก 2 เคส ก็แล้วกันนะครับ มาดูกันครับ

เคสที่ 1




     ( ภาพบน ) เนื่องจากชื่อและที่อยู่ที่ถูกเขียนบนกล่องพัสดุสินค้านั้น ถูกเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ( เพราะว่า คนเขียน ( ซึ่งก็คือคนขาย ) เขาอยู่ต่างประเทศ จึงไม่ได้ใช้ภาษาไทย )  ดังนั้น ถ้าบังเอิญว่าเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย คนที่จะมาส่งพัสดุสินค้ากล่องนี้ให้คุณ เขา "ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ" ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ "ส่งผิดบ้าน" เพราะอ่านภาษาอังกฤษที่ถูกเขียนบนกล่องพัสดุสินค้านั้น แบบถูกๆ ผิดๆ ก็เป็นได้นะครับ  /  เหมือนในเคสที่ปรากฏในอีเมลที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       
ซึ่งทางทีมงาน tuvagroup.com ยังโชคดีที่คุณลูกค้าเจ้าของอีเมลฉบับข้างบนนี้เป็นคนใจเย็น แทนที่จะอีเมลมาต่อว่าทางทีมงานว่า ทำไมพัสดุสินค้าถึงยังไม่มาเสียที!   ก็กลับอีเมลมาบอกทีมงาน tuvagroup.com ด้วยความสุภาพว่ายังไม่ได้รับพัสดุสินค้าเลย

       ทางทีมงาน tuvagroup.com จึงได้แนะนำให้สอบถามกับทางไปรษณีย์อีกทีหนึ่ง  /  ซึ่งจากการตรวจสอบ ปรากฏว่าพนักงานไปรษณีย์ส่งผิดบ้านจริงๆ ซึ่งเมื่อเราดูตรงที่ ลูกศรสีเขียวชี้ ก็จะเห็นว่าของหายไปนานถึง 15 วัน เลยทีเดียว ( 9 ธ.ค. ถึงวันที่ 24 ธ.ค. )

เคสที่ 2


     ( ภาพบน ) ทีมงาน tuvagroup.com สั่งซื้อเครื่องสแกนบาร์โค้ดให้คุณลูกค้าท่านนี้ 2 ชุด  /  หลังจากสั่งซื้อเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งแล้ว ทีมงานก็สอบถามคุณลูกค้าไปว่าได้รับสินค้านี้หรือยัง ( ตามที่ปรากฏอยู่ในอีเมลของทีมงาน ในภาพข้างบนนี้นะครับ )




      ( ภาพบน ) คุณลูกค้าตอบกลับมาว่ายังไม่ได้รับพัสดุสินค้าทั้ง 2 ชิ้นนั้น  ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือดูรูปการณ์แล้ว เหมือนกับว่า ของหาย! นั่นเอง




     ( ภาพบน ) บังเอิญว่าการส่งครั้งนี้ เป็น "การส่งแบบแพง" ก็เลย เช็คสถานะสินค้าได้ ( คือถ้าเป็น "การส่งแบบถูก" มันจะเช็คสถานะสินค้าไม่ได้ )  /  ทีมงานก็เลยเช็คสถานะสินค้าให้ และยืนยันกับทางคุณลูกค้าว่าของไม่หายแน่นอน ให้ลองค้นหาพัสดุสินค้ากล่องนั้นให้ดีอีกที




      ( ภาพบน ) ผลการตรวจค้น ( อีกครั้ง ) ปรากฏว่าในที่สุด คุณลูกค้าก็เจอพัสดุสินค้าดังกล่าวอยู่ในบ้านของตัวเอง โดยพัสดุสินค้าดังกล่าว มาถึงตั้งแต่ก่อนที่ทีมงานจะอีเมลไปถามในฉบับแรกด้วยซ้ำ 

       คือมีคนรับสินค้าแทนเจ้าของพัสดุสินค้าไปแล้ว แต่เจ้าของพัสดุสินค้าไม่ทราบ ก็เลยคิดว่าพัสดุสินค้าหาย แต่สุดท้ายก็เจอภายในบ้านนั่นเองครับ มันไม่ได้หายไปไหน  /  โดยผู้ที่เซ็นรับพัสดุสินค้าเอาไว้ในเคสนี้ก็คือพี่ชายของคุณลูกค้าท่านนี้นั่นเอง ( ปรากฏข้อความตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )


       เคสนี้ เป็นอุทาหรณ์เตือนสติ ที่ใช้ได้กับคุณลูกค้าที่พักอาศัยอยู่ "คอนโด" หรือ "อพาร์ทเม้นท์" หรือ "หอพักนักศึกษา" ที่มีเจ้าหน้าที่คนอื่น ( เช่น ยาม ) เซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณได้ด้วยนะครับ

       คือบางที ยามคนที่เขาเซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้นั้น  เขาลืมบอกคุณ ( คือลืมบอกคุณว่า เขาได้เซ็นรับพัสดุสินค้าไว้ให้แล้ว )

       หรือไม่ก็อาจจะเป็นกรณีที่ว่า ยามคนที่เซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้นั้น "เปลี่ยนเวร เปลี่ยนกะ" แล้วดันลืมบอกเวรกะใหม่ว่าตัวเอง ( หมายถึงตัวเวรกะเก่าเอง ) ได้เซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคนที่อยู่ในคอนโด ( หรือ อพาร์ทเม้นท์ หรือ หอพักนักศึกษา ) เอาไว้

       แล้วพอคุณลูกค้าไปสอบถามเวรกะใหม่ว่า ได้เซ็นรับพัสดุสินค้าอะไรเอาไว้ไหม?  คนที่เป็นเวรกะใหม่ก็เลยบอกคุณว่า "ยังไม่มีพัสดุมา" ทั้งๆที่ เวรกะเก่า เขาเซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

       ด้วยเหตุนี้ ก็เลยทำให้คุณ ซึ่งเป็นเจ้าของพัสดุสินค้า คิดว่าพัสดุสินค้าของตัวเองหายไปแล้วนั่นเองครับ

       เพื่อป้องกันเคสแบบนี้ ( หมายถึงเคสที่ยามเปลี่ยนเวร เปลี่ยนกะ แล้วลืมบอกเวรกะใหม่ว่า ตัวเอง ( หมายถึงเวรกะเก่า ) ได้เซ็นรับพัสุดุสินค้าแทนคุณเอาไว้ ) ก็ขอให้คุณทำดังนี้คือ

       - ถ้าคุณถามยามผลัดไหน แล้วยามผลัดนั้น เขาบอกว่ายังไม่มีพัสดุมาถึงคุณ  คุณก็อย่าพึ่งเชื่อยามคนนั้นนะครับ ลองให้ยาม ช่วยตรวจสอบดู "สมุดบันทึกส่วนกลางของยาม" ด้วย เพราะบางที ยามกะเก่าอาจจะลงบันทึกลงสมุดเอาไว้ให้แล้วว่า ได้เซ็นรับพัสดุแทนคุณลูกค้าเอาไว้


       - หรือถ้าตรวจไม่เจอใน "สมุดบันทึกส่วนกลางของยาม" ก็อาจเป็นไปได้ว่า ยามคนที่เขาเซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้นั้น เขาอาจจะลืมลงบันทึกใน "สมุดบันทึกส่วนกลาง" ก็ได้   ก็ให้คุณลองพยายามถามยามในกะถัดๆไปด้วยตัวเองดูนะครับ

สรุป ...

     เวลาที่เราสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศนั้น ไม่มีใครอยากได้รับพัสดุสินค้าช้าหรอกครับ "แต่" ในเมื่อ "ระบบ" มันเป็นแบบนี้ ก็ต้องทำใจให้ได้สำหรับความช้าที่เกิดขึ้นน่ะครับ  คือถึงคุณจะใจร้อน ก็ไม่ได้ทำให้ได้รับพัสดุสินค้าของคุณเร็วขึ้นหรอกครับ

       สู้การทำความเข้าใจในเรื่องของ "ระบบ" ให้ถ่องแท้จะดีกว่า  /  พอคุณมีความเข้าใจแล้วว่า "ระบบ" มันทำงานของมันอย่างไร คุณก็จะได้ "ทำใจปล่อยวาง" คือปล่อยให้ทุกอย่างมันเป็นไปตามทางของมัน เพราะถึงจะใจร้อนไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร 
 

       การทำความเข้าใจในเรื่องของ "ระบบ" ในที่นี้ก็คือการที่คุณต้องรู้ว่า เมื่อคุณสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศนั้น  พัสดุสินค้าก็ต้องเดินทางหลายทอดครับ คือ

       - ทอดที่หนึ่ง - ใช้เวลา "3 วัน" ( โดยเฉลี่ย ) สำหรับช่วง Processing Time ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่คนขายเอาห่อสินค้าในกล่องพัสดุ แล้วคนขายคนน้้น ก็นำกล่องพัสดุสินค้านั้นไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ( ที่ต่างประเทศ )  /  แล้วเจ้าหน้าที่ ของที่ทำการไปรษณีย์แห่งนั้น ก็นำกล่องพัสดุสินค้าดังกล่าวไปขึ้นเครื่องบิน ที่สนามบิน ( หมายถึงสนามบินที่อยู่ต่างประเทศนั้น )


       - ทอดที่สอง - ใช้เวลา "40 วัน" สำหรับการเดินทางของเครื่องบิน ที่บินจากสนามบินต่างประเทศ บินมาถึงสนามบินในประเทศไทย 


       -ทอดที่สาม - ใช้เวลา "19 วัน" สำหรับขั้นตอนการดำเนินการตามวิธีการของเจ้าพนักงานศุลกากร


       - ทอดที่สี่ - ใช้เวลา "3 วัน" สำหรับ "ขั้นตอนตามปกติ" ของการส่งพัสดุโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย


       "สี่ทอด" ข้างบนนี้ คือขั้นตอนมาตรฐานนะครับ  /  ส่วนที่ว่าจะ มี ทอดที่ห้า อีกหรือเปล่า? ก็เป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้น่ะครับ เพราะการได้รับของช้ากว่านี้ ( เพราะเจอ ทอดที่ห้า ) มันเป็นเรื่องความผิดพลาดแบบแปลกๆ ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นน่ะครับ  ทีมงานก็เลยคาดเดาล่วงหน้าให้คุณไม่ได้ ว่าจะเกิดขึ้นกับคุณหรือไม่? ( ความผิดพลาดแปลกๆ ในที่นี้ ก็คือความผิดพลาดเหมือนในเคสตัวอย่าง 2 เคส ( คือเคสเรื่องไปรษณีย์ส่งผิดบ้าน และเคสเรื่องที่พี่ชายเซ็นรับพัสดุสินค้าไว้ให้แล้ว ) ที่ทีมงานเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้น่ะครับ )

ทิ้งท้าย

       ถ้าคุณทำใจไว้ล่วงหน้าว่า คุณต้องรอพัสดุสินค้านานถึง "65 วัน" แล้วปรากฏว่า คุณได้รับพัสดุสินค้าของคุณเร็วกว่านั้น ( เช่นได้รับภายใน 1 เดือนเลย ) คุณก็จะ "รู้สึกดี

       แต่ถ้าคุณคาดหวัง ( ตามคำหลอกของผู้ให้บริการเจ้าอื่น ) ว่าคุณจะได้รับพัสดุสินค้าภายใน 7 วัน แล้วปรากฏว่าจริงๆแล้ว คุณต้องรอถึง "65 วัน" กว่าจะได้รับพัสดุสินค้าของคุณ  /  คุณก็จะ "รู้สึกแย่"

       มันเป็นเรื่องของ "จิตวิทยา" น่ะครับ  คือทีมงานแนะนำว่าคุณต้องรู้จักการปล่อยวาง หรือไม่ก็คาดหวังในทางที่แย่ๆเอาไว้ก่อน ( เช่นคาดหวังว่าจะต้องรอ "65 วัน) แล้วถ้าคุณได้รับพัสดุเร็วกว่าที่คาดหวังไว้ คุณก็จะ "รู้สึกดี"  /  หรือในกรณีที่มันใช้เวลาถึง "65 วัน" จริงๆ ( ถึงจะได้รับพัสดุสินค้า ) คุณก็จะไม่เสียใจอะไรมาก เพราะคุณทำใจ ( ปล่อยวาง ) เอาไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วนั่นเองครับ  

- END -


Friday, July 3, 2020

การโอนเงินให้คนขายด้วย PayPal




      ( ภาพบน ) ตามปกติ เวลาที่เราต้องการสินค้าจากคนขาย เราก็ต้องโอนเงินให้คนขายก่อน ถูกไหมครับ?  คราวนี้ไอ้เจ้าการโอนเงินด้วยระบบ PayPal นั้น มันมีอยู่ 2 อย่าง แบบนี้คือ

การโอนเงินแบบที่ 1 - คือการโอนแบบส่งตรงให้คนขายเลย หรือที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Send Money  ซึ่งวิธีนี้ มีข้อดีก็คือว่า เราไม่ต้องรอใบเรียกเก็บเงิน ( หรือที่เรียกว่าการรอใบอินวอยซ์ ( Invoice ) ) จากคนขายเลย  /  คือถ้าเงินเราพร้อม เราก็โอนเงินให้คนขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะโอนตอนไหนก็ได้

ขอแทรกนิดนึงครับ

       ทีมงานจะแสดงให้ดูนะครับว่า การโอนเงินแบบที่ 1 ที่เรียกว่าการ Send Money นั้น เขาทำกันอย่างไร?



      ( ภาพบน ) เมื่อเข้ามาที่หน้าเวบหน้าแรกของ PayPal แล้ว ก็ให้คลิ๊กไปที่ปุ่ม เข้าสู่ระบบ ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  




      ( ภาพบน ) หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ จากนั้นก็ให้คลิ๊กไปที่ปุ่ม ชำระเงิน ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้   



      ( ภาพบน )  หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 

       จากนั้นก็ให้คลิ๊กไปที่คำว่า "ชำระเงินได้ในไม่กี่วินาที" ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  


      ( ภาพบน )  หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       จากนั้นก็ให้กรอกชื่อบัญชี PayPal ของคนรับเงิน ( ซึ่งก็คือคนขายสินค้านั่นเอง ) ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ( สมมติว่าคนขายมีบัญชี PayPal ชื่อ tuvayanon@outlook.com  นะครับ )

       จากนั้นก็คลิ๊กไปที่ปุ่ม ถัดไป ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  



* * * หมายเหตุ - การจะโอนเงินแบบ Send Money ที่คุณผู้อ่านกำลังดูอยู่นี้ จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้โอน ( หมายถึงเรา ) ต้องรู้บัญชี PayPal ของผู้รับโอน ( หมายถึงคนขายสินค้า ) ก่อนนะครับ เราถึงจะโอนเงินเข้าบัญชี PayPal ของคนขายได้ 


      ( ภาพบน )  หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 

       จากนั้นก็ให้กรอกจำนวนเงินที่ต้องการจะโอนลงไปบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้

       จากนั้น ก็ให้คลิ๊กไปที่ปุ่ม ดำเนินการต่อ ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้


      ( ภาพบน )  หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       จากนั้นก็ให้
คลิ๊กไปที่ปุ่ม ชำระเงินทันที ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้


      ( ภาพบน ) หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       ถ้าคุณผู้อ่านได้เห็นหน้าเวบแบบในภาพข้างบนนี้แล้ว ก็แสดงว่าการโอนเงินยอด 5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ไปให้คนขายสินค้าที่ใช้ชื่อบัญชี PayPal ว่า tuvayanon@outlook.com  ในครั้งนี้ ได้สำเร็จเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์แล้วครับ

       ทุกขั้นตอนที่เอามาให้ดูในครั้งนี้ ก็คือการส่งเงินให้คนขายแบบ Send Money คือส่งเงินให้คนขายตรงๆ โดยไม่ต้องใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) แต่อย่างใดนะครับ


การโอนเงินแบบที่ 2 - คือการโอนเงินตามที่คนขายเรียกเก็บเงินมา ( Money Request )  /  สำหรับวิธีนี้ อยู่ๆเราจะโอนเงินให้คนขายเลยไม่ได้ จำเป็นต้องรอใบเรียกเก็บเงิน ( Imvoice ) จากคนขายก่อน 

ขอแทรกนิดนึงครับ

      ทีมงานจะแสดงให้ดูนะครับว่า การโอนเงินแบบที่ 2 ที่คนขายต้องส่งใบเรียกเก็บเงิน ( Imvoice ) มาให้เราก่อน เราถึงจะชำระเงินได้นั้น  จะมีขั้นตอนการโอนเงินอย่างไร?  ( ข้างล่างนี้ เป็นการสั่งซื้อจริงๆนะครับ "ไม่ใช่เป็นแค่การสมมติเหตุการณ์" ให้ดูนะครับ )



      ( ภาพบน )  ทีมงาน tuvagroup.com จะซื้อสินค้าจากเวบ ladypetrova.com ที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ

       ราคาสินค้าคือ 159 เหรียญออสเตรเลีย ( $AUD ) ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  ซึ่งเป็นราคาสินค้าอย่างเดียว โดยที่ยังไม่ได้รวมค่าส่งสินค้ามาประเทศไทย

       จากนั้น ทีมงานก็เมลล์บอกคนขายว่า ต้องการซื้อสินค้าชิ้นนี้ และให้ส่งมาประเทศไทย คิดค่าส่งเท่าไร และเวลาจะชำระเงินต้องทำอย่างไร?

       ซึ่งคนขายก็แจ้งกลับมาว่าค่าส่งคือ 5.55 เหรียญออสเตรเลีย ( รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็น 159 + 5.55 = 164.55 เหรียญออสเตรเลีย ) สำหรับการชำระเงินนั้น ทางคนขายจะส่ง Money Request คือส่งใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice )  มาให้ทีมงาน

ภาพบน  ใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice )

      ( ภาพบน ) ต่อมาประมาณ 2 วันก็มีข้อความแจ้งว่ามีใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) มาหาทีมงาน  โดยเป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ ( ภาพข้างบนนี้ คือภาพบัญชี PayPal ของทีมงาน tuvagroup.com นะครับ )

       จากนั้น ทีมงานก็คลิ๊กเข้าไปดู  /  เมื่อคลิ๊กเข้ามาดูแล้ว ก็จะเห็นใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) ที่มีหน้าตาเหมือนในภาพข้างล่างนี้


     ( ภาพบน ) เมื่อดูรายละเอียดในใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) ข้างบนนี้ ก็ได้ข้อมูลว่า เป็นใบเรียกเก็บเงินจากคนที่ชื่อ Petrova Hammond ที่ใช้อีเมลล์ว่า admin@ladypetrova.com  ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  ก็ทำให้เรารู้แล้วว่า เป็นคนขายสินค้าของเวบ ladypetrova.com ที่เราคุยกับคนขายเอาไว้เมื่อ 2 วันก่อน

       ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้
 บอกว่ายอดเงินที่เรียกเก็บคือ 164.55 เหรียญออสเตรเลีย ซึ่งก็ตรงกับที่เราคุยกับคนขายไว้เมื่อ 2 วันก่อน ( มาจาก ค่าสินค้า + ค่าส่งมาประเทศไทย ซึ่งก็คือ 159 + 5.55 = 164.55 เหรียญออสเตรเลีย )

       หลังจากตรวจสอบทุกอย่างว่าถูกต้องแล้ว ทีมงานก็คลิ๊กไปที่ปุ่ม Continue ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้


* * * หมายเหตุ - การโอนเงินแบบที่ต้องรอใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) นั้น เราไม่ต้องรู้บัญชี PayPal ของผู้รับโอน ( หมายถึง คนขายสินค้า ) ก็ได้ ( ในขณะที่ ถ้าเป็นการโอนแบบ Send Money เราจะต้องรู้ปบัญชี PayPal ของคนขายเสียก่อน ถึงจะโอนเงินให้คนขายได้ )  /  เหตุผลที่เราไม่จำเป็นต้องรู้บัญชี PayPal ของผู้รับโอนก็เพราะว่า ทางผู้รับโอน เขาส่งเป็นใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) มา ซึ่งในใบเรียกเก็บเงินนั้น ก็จะมีรายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับการขาย ไม่ว่าจะเป็นอีเมลล์ของผู้รับโอน ,ราคาสินค้า ฯลฯ  /  เราไม่ต้องทำอะไรเลย ( คือไม่ต้องขวนขวาย เสาะหาบัญชี PayPal ของคนขาย เหมือนการโอนเงินในรูปแบบที่ 1 )  แค่โอนเงินให้คนขายตามที่เขาเรียกเก็บเงินมา ( ตามที่ปรากฏในใบ Invoice ในภาพข้างบนนี้ ) อย่างเดียวก็พอ

ภาพบน ) หน้าเวบของ PayPal  

      ( ภาพบน )  ระบบจะพาเรามาที่หน้าเวบแบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ซึ่งเป็นหน้าเวบของ PayPal

       จากนั้น เราก็กรอกไอดี และรหัสของ PayPal ลงไปตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้
  /  แล้วก็คลิ๊กไปที่ปุ่ม Log in ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  


      ( ภาพบน ) หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       และหลังจากตรวจสอบในขั้นสุดท้าย แล้วเห็นว่าทุกอย่างถูกต้องแล้ว 
ก็คลิ๊กไปที่ปุ่ม Pay Now ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้เพื่อเป็นการโอนเงินให้คนขาย   


      ( ภาพบน ) หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       ถ้าหน้าเวบของ PayPal ปรากฏให้เห็นเหมือนในภาพข้างบนนี้ นั่นก็แสดงว่า การโอนเงินให้คนขายใน รูปแบบที่ 2  ( ซึ่งก็คือการโอนเงินแบบที่คนขายต้องส่งใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice ) มาให้เราก่อน เราถึงจะโอนเงินให้เขาได้ )  ก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วครับ  



      ( ภาพบน ) เวลาที่เราโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น เราโอนผ่านบริษัท PayPal  /  ซึ่งบริษัท PayPal เขาก็ไม่ได้ทำ ( ไม่ได้โอน ) ให้เราฟรีๆหรอกนะครับ เขาคิดค่าบริการด้วย  /  ซึ่งไอ้เจ้า "ค่าบริการ" ( ที่บริษัท PayPal คิดกับเรา ) เขาเรียกว่า Fee หรือค่าธรรมเนียมนั่นเอง

ขอแทรกนิดนึงครับ

ภาพบน ) ยอดเงินที่ต้องการจะโอนไปให้เพื่อนทางธนาณัติ

      ( ภาพบน ) ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ๆตัวที่เห็นกันบ่อยๆนะครับ โดยสมมติว่าคุณผู้อ่านต้องการจะส่งเงินไปให้เพื่อน โดยยอดเงินที่ต้องการจะส่งให้เพื่อนคือ 325 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       ถ้าคุณผู้อ่านกำเงินสดไปที่ทำการไปรษณีย์ เป็นเงินแค่ 325 บาท แล้วจะให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งยอดเงินนี้ไปให้เพื่อนคุณทางธนาณัติ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์คนนั้น เขาก็คงไม่ทำให้คุณหรอกครับ!

       ทำไมเจ้าหน้าที่ถึงไม่ทำให้?   

ภาพบน ) ค่าบริการที่ทางไปรษณีย์คิดจากเรา 

      ( ภาพบน )  ถ้าเรากำเงินสด 325 บาท ไปที่ทำการไปรษณีย์แล้วจะส่งธนาณัติไปให้เพื่อน 325 บาท โดยไม่เสียค่าบริการอะไรเลยนั้น เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาก็ไม่ส่งธนาณัติไปให้เพื่อนของคุณแน่นอน

       ถ้าจะให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งธนาณัติให้เพื่อนคุณ คุณก็ต้องเสียค่าบริการ แยกต่างหากอีก 10.70 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  


     ( ภาพบน ) นั่นก็หมายความว่า ถ้าเราจะส่งธนาณัติให้เพื่อน 325 บาท เราจะต้องกำเงินสดไปที่ทำการไปรษณีย์ 335.70 บาท ( มาจาก 325 + 10.70 บาท )  /  แล้วเอาเงิน 335.70 บาทนี้แหละ ยื่นใส่มือให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ทั้งหมด  /  แล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาถึงจะส่งธนาณัติ 325 บาทไปให้เพื่อนเรา และหักค่าบริการ 10.70 บาทเก็บไว้กับบริษัทไปรษณีย์ไทยเอง

       การโอนเงินไปให้เพื่อนทางธนาณัติ ก็คือการ "จ้างคนอื่น" ให้ทำการโอนเงินให้เรา ซึ่ง "คนอื่น" ที่ว่านี้ ก็คือบริษัทไปรษณีย์ไทยนั่นเอง   


      ( ภาพบน ) การที่เราจะโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ มันก็เหมือนกับการที่เราจะโอนเงินให้เพื่อนทางธนาณัตินั่นเอง คือต้องมีการ "จ้างคนอื่น"  /  โดยคำว่า "คนอื่น" ที่ว่านี้ ก็คือบริษัท PayPal 

       นั่นก็หมายความว่า เวลาที่ทีมงานจะโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น ทีมงานก็ต้องจ้างให้บริษัท PayPal  ทำหน้าที่โอนเงินไปต่างประเทศให้

       และเวลาที่บริษัท PayPal  เขาโอนเงินของเราไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น เขาก็ ไม่ได้บริการเราฟรีๆ เขาก็คิดค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียม กับเรา เหมือนกับที่บริษัทไปรษณีย์ไทยคิดค่าบริการกับเรา ตอนที่เราให้บริษัทไปรษณีย์ไทยส่งธนาณัติให้เพื่อนเรานั่นเองครับ


สรุปว่า ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ก็คือการอธิบายให้คุณเข้าใจว่า ทำไมถึงต้องมี Fee หรือ "ค่าธรรมเนียม" เกิดขึ้นตอนโอนเงินด้วย PayPal ด้วย  /  ซึ่งคำตอบก็คือว่า Fee หรือ "ค่าธรรมเนียม" นั้น ก็คือค่าบริการ ที่บริษัท PayPal คิดกับเรา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่เราให้บริษัท PayPal โอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั่นเองครับ 



      ( ภาพบน )  ย้อนกลับมาที่คำถามเดิมอีกครั้ง ( ข้างบนนี้ )  /  ซึ่งการจะตอบคำถามข้างบนนี้ได้ ทีมงานก็จะให้ ฟังจากปากของคนขายเอง เลยนะครับ เรามาดูกันครับ ดูในภาพข้างล่างนี้ )

ภาพบน )  สินค้าที่เราต้องการจะซื้อจากคนขาย

      ( ภาพบน )  ข้างบนนี้คือสินค้าที่ทีมงานต้องการจะสั่งซื้อจากผู้ขายนะครับ  โดยทีมงานได้เมลล์ไปถามคนขายดังเมลล์ "ของจริง" ข้างล่างนี้ ไม่ใช่เหตุการณ์สมมตินะครับ ที่เอามาให้ดูนี้ เป็นภาพสินค้า และภาพเมลล์ตัวจริง เป็นการสนทนาจริงๆทั้งหมด )


      ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือเมลล์ที่ทีมงาน tuvagroup.com เขียนไปหาคนขายเพื่อจะสอบถามเกี่ยวกับราคาสินค้า ( สินค้าในที่นี้ ก็คืออาร์ม หรือเครื่องหมายหน่วยรบ ที่คุณเห็นในภาพก่อนหน้านี้ ( ที่มีพื้นหลังสีแดงๆนั่นแหละครับ ) )  และค่าส่งมาประเทศไทย พร้อมทั้งวิธีชำระเงินนะครับ


ภาพบน )  เมลล์ที่คนขายตอบกลับมา 

      ( ภาพบน )  ข้างบนนี้ คือเมลล์ที่ทางคนขายตอบกลับมาเกี่ยวกับค่าสินค้าและค่าส่งมาประเทศไทย รวมถึงวิธีการชำระเงินนะครับ

       ข้อความทั้งหมดในเมลล์ข้างบนนี้ คุณผู้อ่านไม่ต้องอ่านหมดก็ได้ครับ เพราะว่าส่วนที่สำคัญจริงๆ ที่ทีมงานจะใช้ในการอธิบายนั้น มันจะเป็นส่วนเล็กๆของเมลล์ ตรงที่อยู่ในบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ในภาพข้างล่างนี้นะครับ


      ( ภาพบน )  ประเด็นสำคัญที่ทีมงานจะนำมาใช้อธิบายให้คุณผู้อ่านฟัง มันจะอยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้นะครับ

       เดี๋ยวทีมงานจะเอาเฉพาะส่วนที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ มาพูดนะครับ


      ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือส่วนของข้อความในเมลล์ฉบับที่อยู่ในภาพก่อนหน้านี้  ที่อยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ในเมลล์ ในภาพก่อนหน้านี้นะครับ

       เอาล่ะครับ เรามาดูรายละเอียดในข้อความนี้กัน


     ( ภาพบน ) ส่วนแรก คือบรรทัดบนสุด ซึ่งก็คือส่วนที่อยู่ในบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้นะครับ

       
ในส่วนแรกนี้ เป็นข้อความที่บอกเราว่า คนขายเขารับการชำระค่าสินค้าด้วยการจ่ายผ่านทาง PayPal ได้  /  โดยถ้าลูกค้าสนใจจะจ่ายด้วย PayPal ก็ให้โอนเงินเข้าบัญชี PayPal ของเขา ที่ชื่อ Jack@LJMilitaria.com 


      ( ภาพบน )  ส่วนที่สอง คือบรรทัดที่สอง ที่อยู่ในภาพข้างบนนี้  /  ซึ่งก็คือส่วนที่อยู่ในบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้    

       ซึ่งในส่วนนี้ เป็นการบอกว่า หากคุณลูกค้าเลือกที่ใช้การชำระเงินด้วย PayPal และต้องการเลือกการชำระแบบที่ลูกค้าโอนเงิน ( Send Money ) ไปเข้าบัญชี PayPal ของคนขายโดยตรง ( คือบัญชีที่ชื่อ Jack@LJMilitaria.com )  /  ก็จะเสีย "ค่าธรรมเนียม" เป็นเงิน 5% ของยอดรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด

       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสินค้าคือ 73 เหรียญ และค่าส่งมาไทยคือ 27 เหรียญ รวมแล้วค่าใช้จ่ายโดยรวมคือ 73 + 27 = 100 เหรียญแล้วล่ะก็

       คำว่า add 5% to total bill ก็หมายความว่า ถ้าจะโอนเงิน 100 เหรียญ ( ซึ่งก็คือ total bill ) ให้คนขาย  เราในฐานะผู้โอน จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 5% ของยอดเงิน 100 เหรียญนั้น เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมการโอน ( Fee )

       พูดง่ายๆก็คือว่า เมื่อค่าสินค้า + ค่าส่งมาประเทศไทย รวมแล้วเป็น 100 เหรียญ ( มาจากค่าสินค้า 73 เหรียญ + ค่าส่งมาไทยอีก 27 เหรียญ )   เราจะต้องโอนเงินไปให้คนขายทั้งหมด 105 เหรียญ นั่นเองครับ ( คือต้องเพิ่มเข้าไปอีก 5% ของราคารวม เพื่อจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมการโอน )


     ( ภาพบน )  ส่วนที่สาม ซึ่งก็คือบรรทัดสุดท้าย ที่อยู่ในภาพข้างบนนี้  /  ซึ่งก็คือส่วนที่อยู่ในบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้    

       ซึ่งในส่วนนี้ เป็นการบอกว่า หากคุณลูกค้าเลือกใช้การชำระเงินด้วย PayPal โดยเลือกการชำระแบบที่ให้คนขาย เป็นฝ่ายส่งใบเรียกเก็บเงิน ( ซึ่งก็คือการส่งใบอินวอยซ์ ) มาให้ลูกค้า  /  กรณีนี้ คุณลูกค้าจะต้องเสีย "ค่าธรรมเนียม" เป็นเงิน 10 เหรียญ ( โดยไม่ได้พูดเป็น % )

       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสินค้าคือ 73 เหรียญ และค่าส่งมาไทยคือ 27 เหรียญ รวมแล้วค่าใช้จ่ายโดยรวมคือ 73 + 27 = 100 เหรียญแล้วล่ะก็

       คำว่า the charge is $10 ก็หมายความว่า ถ้าจะโอนเงิน 100 เหรียญ ( ซึ่งก็คือ total bill ) ให้คนขายแล้วล่ะก็  เราในฐานะผู้โอน จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 10 เหรียญ เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมการโอน ( Fee )

       พูดง่ายๆก็คือว่า เมื่อค่าสินค้า + ค่าส่งมาประเทศไทย รวมแล้วเป็น 100 เหรียญ ( มาจากค่าสินค้า 73 เหรียญ + ค่าส่งมาไทยอีก 27 เหรียญ )   เราจะต้องโอนเงินไปให้คนขายทั้งหมด 110 เหรียญ นั่นเองครับ ( คือต้องเพิ่มเข้าไปอีก 10 เหรียญ เพื่อจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมการโอน )



      ทีมงานจะเปรียบเทียบให้ดูนะครับ

เคสแรก คือ ลองโอนยอด 100 เหรียญก่อน

       เมื่อเราโอนเงินยอดรวม 100 เหรียญ ( มาจากค่าสินค้า 73 เหรียญ + ค่าส่งมาไทยอีก 27 เหรียญ ) ไปให้คนขายนั้น  สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการคำนวณก็คือ

 * * * 
ถ้าชำระยอดรวม 100 เหรียญให้คนขาย แบบโอนให้ตรงๆ ( Send Money ) เราจะต้องจ่ายเงินทั้งหมดไป 105 เหรียญ ( มาจาก ค่าใช้จ่ายรวม ( คือ 100 เหรียญ ) + 5 เหรียญ ( คือ 5% ของค่าใช้จ่ายรวม ) ) 


 * * * ถ้าชำระยอดรวม 100 เหรียญให้คนขาย แบบให้คนขายส่งใบเรียกเก็บเงินมา ( ส่ง Invoice ) เราจะต้องจ่ายเงินทั้งหมดไป 110 เหรียญ ( มาจาก ค่าใช้จ่ายรวม ( คือ 100 เหรียญ ) + 10 เหรียญ ( ที่คนขายกำหนดมาแบบ "ตายตัว" ว่าคือ 10 เหรียญ  /  ไม่ได้พูดเป็นเปอร์เซนต์ของยอดรวม ) 


สรุปในเคสแรก - ในส่วนของการโอนเงินยอด 100 เหรียญนั้น  การโอนแบบโดนตรงๆ จะถูกกว่า เพราะเราจะเสียเงินแค่ 105 เหรียญ  ในขณะที่การโอนแบบรอใบอินวอยซ์ เราจะต้องเสียเงิน 110 เหรียญ



เคสที่สอง คือ ทดลองโอนยอด 202 เหรียญ

       เมื่อเราโอนเงินยอดรวม 202 เหรียญ ( สมมติ ) ไปให้คนขายนั้น  สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการคำนวณก็คือ

* * * 
ถ้าชำระยอดรวม 202 เหรียญให้คนขาย แบบโอนให้ตรงๆ ( Send Money ) เราจะต้องจ่ายเงินทั้งหมดไป 212.1 เหรียญ ( มาจาก ค่าใช้จ่ายรวม ( คือ 202 เหรียญ ) + 10.1 เหรียญ ( คือ 5% ของค่าใช้จ่ายรวม ) ) 


 * * * ถ้าชำระยอดรวม 202 เหรียญให้คนขาย แบบให้คนขายส่งใบเรียกเก็บเงินมา ( ส่ง Invoice ) เราจะต้องจ่ายเงินทั้งหมดไป 212 เหรียญ ( มาจาก ค่าใช้จ่ายรวม ( คือ 202 เหรียญ ) + 10 เหรียญ ( ที่คนขายกำหนดมาแบบ "ตายตัว" ว่าคือ 10 เหรียญ  /  ไม่ได้พูดเป็นเปอร์เซนต์ของยอดรวม ) 


สรุปในเคสที่สอง - ในส่วนของการโอนเงินยอด 202 เหรียญนั้น  การโอนแบบรอใบอินวอยซ์ จะ "ถูกกว่า" การโอนแบบตรงๆ  เพราะว่าการโอนแบบรอใบอินวอยซ์ เราจะต้องเสียเงินแค่ 212 เหรียญ ในขณะที่ ถ้าเป็นการโอนแบบตรงๆ เราจะเสียเงิน 212.1 เหรียญ 


      ( ภาพบน ) คำถามที่ถามมาว่า "การโอนเงิน รูปแบบที่ 1 กับ รูปแบบที่ 2 อันไหนเสียค่าธรรมเนียมถูกกว่ากัน? ( จะได้เลือกอันนั้น )" นั้น ไม่สามารถตอบแบบเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น รูปแบบ 1 หรือ รูปแบบที่ 2 ที่ถูกกว่า  /  เพราะการจะตอบ จะต้องตอบแบบมีเงื่อนไข  /  และเงื่อนไขนั้นก็คือต้องดู "ยอดรวมของเงินที่จะโอน" นั่นก็คือว่า 

       1.ถ้าโอนเงินตั้งแต่ “201 เหรียญ ลงมา” ให้โอนแบบโอนตรง ( Send Money - รูปแบบที่ 1 ) จะถูกกว่า

       2.ถ้าโอนเงินตั้งแต่ “202 เหรียญ ขึ้นไป” ให้โอนแบบรอใบเรียกเก็บเงิน ( Invoice - รูปแบบที่ 2 ) จะถูกกว่า

- END -