script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: กลยุทธ์ของผู้ขาย

Monday, March 9, 2020

กลยุทธ์ของผู้ขาย



   หน้า 1  >  หน้า 2

        ในวันนี้ ทีมงานจะนำเอาเคสที่น่าสนในเคสหนึ่งมาให้ดูกันครับ  ลักษณะของเคสนี้ก็คือว่า มันเป็นซื้อเสื้อที่อีเบย์โดยคนขายเป็นคนจีน ส่งสินค้าจากประเทศจีน และใช้รูปแบบการส่งฟรี ( Free Shipping ) นะครับ

       เกริ่นนำเรื่องก่อนนิดนึงก็แล้วกันครับ  คือว่าจุดเด่นของการซื้อสินค้าจากอีเบย์ก็คือว่า

       สินค้าที่เราซื้อไปนั้นจะได้รับความ "คุ้มครอง" จากอีเบย์
 /  คำว่า "คุ้มครอง" ที่นี้ก็หมายความว่า หากพัสดุสินค้านั้นไม่ตรงสเป้ก ( เช่นผิดสี ผิดรูปแบบกับที่ตกลงไว้ )  , แตกหัก , เสียหาย หรือว่า พัสดุสินค้านั้น หายไปเฉยๆ ไม่ถึงมือลูกค้า แล้วล่ะก็ ทางผู้ขายก็จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ลูกค้าอย่างเรา

       เราเรียกระบบการคุ้มครองจากอีเบย์นี้ว่า ebay money back guarantee


      แต่ข้อแม้ของการ "คุ้มครอง" จากอีเบย์นั้นก็คือว่า หากเกิดปัญหาใดๆกับพัสดุสินค้า เราในฐานะลูกค้า จะต้อง แจ้งให้ทางอีเบย์ทราบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือต้องอยู่ในช่วงที่ ebay money back guarantee ยังใช้การได้ ( ยังไม่หมดอายุ )

      
ซึ่งสำหรับสินค้าแต่ละตัว ก็จะมีระยะเวลาของ ebay money back guarantee  ที่ไม่เท่ากัน แต่สูงสุดแล้ว ก็จะประมาณ 2 เดือนครึ่ง


       และถึงแม้เราในฐานะลูกค้าจะ แจ้งให้ทางอีเบย์ทราบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ แล้วก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าอีเบย์จะรับเรื่องไว้ดำเนินการทั้งหมดหรอกนะครับ เพราะอีเบย์ก็จะสอบสวนเบื้องต้นก่อน ถ้าเห็นว่าทางคนขายเขามีข้อแก้ตัวที่ฟังขึ้นล่ะก็  อีเบย์เขาก็จะไม่รับเรื่องของเรา  และปล่อยให้เวลาของ ebay money back guarantee หมดไปเฉยๆ


       ซึ่งถ้า ebay money back guarantee หมดเวลาไปแล้ว เราก็ไม่สามารถฟ้องให้อีเบย์ดำเนินการอะไรกับคนขายได้อีก


       จากจุดเด่นของการซื้อสินค้าที่อีเบย์ที่ทีมงานพูดให้ฟังข้างบนนี้  เรามาดูกันว่าพ่อค้าหัวใส ( ขี้โกง ) เขาหาช่องโหว่ในระบบของ ebay money back guarantee เพื่อนำเอาช่องโหว่นั้น มาเอาเปรียบลูกค้าอย่างเราได้ยังไงกัน?  /  มาดูเคสของจริงข้างล่างนี่กันเลยครับ  





       ( ภาพบน ) ข้างบนนี้คือหน้าเวบขายสินค้า ที่เกิดเหตุจริงๆในเคสนี้นะครับ โดยผู้ขายคนนี้ใช้ชื่อว่า  longhe2017181910  ( ปรากฏตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้

       ที่ทีมงานเน้นเรื่องชื่อคนขาย ( ที่ชื่อ longhe2017181910 ) นี้ ก็เพราะว่า ในภาพที่นำมาประกอบคำอธิบายในหน้าเวบนี้ทั้งหมด  คุณผู้อ่านก็จะได้เห็นว่าเป็นการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนขายคนนี้ตลอดทั้งหน้าเวบนี้เลยครับ ( คือเป็นเคสเดียวกันทั้งหมดในหน้าเวบนี้   ไม่ใช่เป็นการสมมติ เอาภาพจากเคสอื่นเอามาใส่ผสมกันให้มั่วไปหมด  /  โดยมีหลักฐาน ( ที่ว่าเป็นเคสเดียวกันทั้งหมด ) ก็คือ คุณจะเห็นว่าในหน้ารายละเอียดสินค้า ( Order details ) ก็ดี  หน้าอีเมลล์ก็ดี ที่ปรากฏอยู่ในหน้าเวบนี้ทั้งหมด คุณจะเห็นชื่อของผู้ขายคนนี้ ( คือ longhe2017181910  ) อยู่ตลอดเวลาเลยครับ ) )


ขอแทรกนิดนึงครับ


( ภาพบนภาพขยายของส่วนที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพก่อนหน้านี้       
      ( ภาพบน ) เมื่อดูจากข้อมูลในภาพข้างบนนี้แล้ว จะเห็นว่าคนขายคนนี้ พึ่งทำธุรกรรมได้ 13 ครั้ง ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีส้ม ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )  หรือก็คือพึ่งขายของได้ 13 ชิ้น "แต่" ก็โดนลูกค้าให้คะแนนติดลบไปแล้ว จนเหลือคะแนน Feedback แค่ 84.2% ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  ในขณะที่คนขายคนอื่นขายเป็นพันๆชิ้นแล้ว ยังได้คะแนน Feedback เต็ม 100% อยู่เลย 

       สิ่งนี้ ( คะแนน Feedback ที่เหลือแค่ 84.2% )  บอกอะไรกับลูกค้าอย่างเรา?

       คำตอบก็คือว่า สิ่งที่คะนแนน Feedback ติดลบนี้บอกข้อมูลให้ลูกค้าอย่างเราทราบก็คือว่า คนขายคนนี้มีปัญหา 

       คือไม่ว่าคนขายคนนี้จะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม แต่มันก็ต้องเกิดความผิดพลาดบางอย่างกับการทำธุรกรรมระหว่างคนขายคนนี้กับลูกค้ารายเก่าๆ ( ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับคนขายคนนี้ ก่อนหน้าเรา )  /  ไม่อย่างนั้น ลูกค้าก่อนหน้านี้เขาคงไม่ "ลงขัน" ให้คะแนน Feedback แบบติดลบจนเหลือแค่ 84.2%  ทั้งๆที่พึ่งขายสินค้าไปได้ 13 ชิ้นแค่นี้หรอกครับ


* * * ข้อแนะนำก็คือว่า "ก่อน" ที่คุณลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากอีเบย์  คุณควรแวะดูคะแนน Feedback ตรงบริเวณที่เห็นในภาพข้างบนนี้เสียก่อนนะครับ  ถ้าคะแนน Feedback ติดลบ ทั้งๆที่คนขายคนนั้นพึ่งขายของได้ไม่กี่ชิ้น  นั่นก็แสดงว่าคนขายคนนี้ "มีปัญหา" อะไรบางอย่างแน่ๆ

       พูดง่ายๆว่า ทุกครั้ง ที่เห็นสินค้าที่ถูกใจที่อีเบย์ อย่าพึ่งรีบซื้อเพราะความถูกใจในตัวสินค้านั้นอย่างเดียว ต้องดูส่วนประกอบอื่นร่วมด้วย ซึ่งสำคัญที่สุดก็คือนิสัยส่วนตัวของคนขายนั่นเอง ( ดูนิสัยส่วนตัวของคนขายได้ด้วยการดูคะแนน Feedback )  /  ถ้าคนขายนิสัยไม่ดี ก็จะมีลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับคนขายคนนี้ก่อนหน้าเรา มาเขียนด่าเอาไว้ในหน้า Feedback



( ภาพบนหลักฐาน "ตัวจริง" ที่ทีมงานทำการสั่งซื้อสินคาชิ้นนี้ให้คุณลูกค้า

( ภาพบนภาพอีเมลล์ "ตัวจริง" ที่ยืนยันการสั่งซื้อสินค้าครั้งนี้

       ( ภาพบน ) หลังจากโอนเงินให้คนขายเรียบร้อยแล้ว ทีมงานก็จะส่งเมลล์ ( ที่ทีมงานพิมพ์เอง ) ที่มีรูปร่างหน้่าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ส่งไปให้คุณลูกค้า  เพื่อให้คุณลูกค้าได้เก็บไว้เป็นหลักฐานทางธุรกรรมนะครับ

       โดยในเมลล์ฉบับข้างบนนี้ ทีมงานพิมพ์ลงไปว่า ทีมงานได้โอนเงินไปให้คนขายเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )






     ( ภาพบน ) ข้างบนนี้คือหน้าเวบที่เรียกว่า Order details ของบริษัทอีเบย์ 

       ข้อความต่างๆที่ปรากฏในหน้าเวบ
  Order details ข้างบนนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องกับทางคนขายได้ เพราะถือว่าข้อความต่างๆที่ปรากฏในหน้า Order details ข้างบนนี้นั้น บริษัทอีเบย์เป็นผู้บันทึกเอง

       ซึ่งบริษัทอีเบย์เป็นตัวกลาง ที่ไม่ได้อยู่ทั้งฝ่ายคนขาย และไม่ได้อยู่ทั้งฝ่ายลูกค้า ( คือมีความยุติธรรม )

       และในเมื่อข้อความในหน้า Order details ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ บอกไว้ว่าลูกค้า ( หมายถึงตัวเรา ) ได้ชำระเงินให้คนขายเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม  มันก็ต้องเป็นไปตามนั้น

       คือหมายความว่า ถ้ามีเรื่องฟ้องร้องกันภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น คนขายส่งของช้า แล้วคนขายแก้ตัวว่า ที่เขาส่งของช้าก็เพราะลูกค้าจ่ายเงินช้า  ทางอีเบย์ ( ซึ่งเป็นผู้ตัดสิน ) ก็จะมาดูรายละเอียดที่หน้า Order details ข้างบนนี้ แล้วบริษัทอีเบย์ก็จะมาดูตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ ว่าลูกค้าจ่ายเงินเมื่อไร

       ซึ่งเมื่อบริษัทอีเบย์ ดูตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ "บริษัทอีเบย์ ก็จะเห็นด้วยตัวเอง" ว่าลูกค้าจ่ายเงินเร็ว คือจ่ายตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ตกลงใจซื้อสินค้า ( Order placed ) ซึ่งก็คือวันที่ 23 ธันวาคม ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )


* * * คือหมายความว่า ถ้าคนขายอ้างว่าลูกค้าจ่ายเงินช้า ( สมมติ ) แล้วมันเป็นจริงตามที่คนขายอ้างล่ะก็  หน้าเวบ Order details ก็จะไม่เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       คือถ้าลูกค้าจ่ายเงินช้า ( ตามที่คนขายอ้าง )  มันจะเป็นไปในลักษณะที่ว่า ลูกค้าตกลงใจซื้อสินค้า ( Order placed ) วันที่ 23 ธันวามคม  แต่กว่าจะจ่ายเงิน ดันทิ้งเวลาไปอีก 7 วันถึงจะจ่าย เช่นจ่ายเอาวันที่ 30 ธันวาคม เป็นต้น ( สมมตินะครับ ) 

       แต่ปรากฏว่า ใน 
Order details ข้างบนนี้ ลูกค้าจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่ลูกค้าตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าชิ้นนี้ ( Order placed ) ซึ่งก็คือวันที่ 23 ธันวาคม ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       ดังนั้น การที่คนขายส่งของช้า โดยอ้างว่าลูกค้าจ่ายเงินช้า ก็แสดงว่า "คนขายโกหก" เพราะหลักฐานในหน้า 
Order details มันชี้ชัดแบบนี้แล้วนั่นเอง

       ทั้งหมดที่พูดมา ก็คือความสำคัญของข้อมูลในหน้า Order details นั่นเองครับ






     ( ภาพบน )  จำได้ใช่ไหมครับว่า เราโอนเงินไปให้คนขายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ( ตามที่เห็นในหน้า Order details ในภาพก่อนหน้านี้ )  ซึ่งต่อมา หลังจากนั้น 2 วัน ซึ่งก็คือวันที่ 25 ธันวาคม  ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ทางผู้ขายก็ได้เขียนเมลล์ฉบับที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ส่งมาหาเรา แล้วบอกว่าได้ส่งสินค้าให้เราเรียบร้อยแล้ว โดยใช้คำว่า has shipped to 240/12  ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ( ตัวเลข 240/12 คือบ้านเลขที่ของคุณลูกค้าที่ใช้รับพัสดุสินค้านะครับ )

* * * คือ "ถ้า" คนขายใช้คำว่า will ship ก็จะหมายความว่า "จะส่ง" แต่ยังไม่ได้ส่ง  /  แต่นี่ คนขายใช้คำว่า has shipped ก็แปลว่า "ส่งเรียบร้อยแล้ว" นั่นเอง

       คราวนี้ สมมติว่าถ้าเราต้องการจะรู้เลข Tracking Number ( เลขสำหรับการเช็คสถานะสินค้า ) เราจะดูที่ตรงไหน? คำตอบก็คือ ต้องคลิ๊กไปที่ปุ่ม Track order ( ตรงที่ ลูกศรสีเหลืองส้ม ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ดังนั้น เราก็เลยคลิ๊กไปที่ปุ่ม Track order นี้ 1 ครั้ง





     ( ภาพบน ) จากการที่คลิ๊กไปที่ปุ่ม Track order ในภาพก่อนหน้านี้นั้น ระบบก็พาเรามาที่หน้าเวบแบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้  

       และจากการดูข้อมูลในหน้าเวบในภาพข้างบนนี้ จะเห็นได้ว่า "ไม่มีเลข Tracking Number ให้เห็นแต่อย่างใด" ( คือว่า คนขายบอกว่าส่งพัสดุสินค้าให้เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานการส่ง คือไม่มีเลข Tracking Number ให้เราเห็นเลย )

       ในหน้าเวบข้างบนนี้ บอกเราแค่ว่า ทางอีเบย์กำหนดให้คนขายส่งสินค้าให้เราภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )




     ( ภาพบน ) จากภาพเมลล์ข้างบนนี้ มีข้อมูลดังนี้คือ

       ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีน้ำเงิน ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ซึ่งก็คือการที่เวลาได้ล่วงเลยไป
 40 วัน นับจากวันที่ทีมงานโอนเงินไปให้คนขาย ( ทีมงานโอนเงินไปให้คนขายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม )  ปรากฏว่าลูกค้ายังไม่ได้รับพัสดุสินค้าแต่อย่างใด

       ซึ่งเมื่อยังไม่ได้รับพัสดุสินค้าทั้งๆที่เวลาผ่านไป 40 วันแล้ว ทีมงานจึงเมลล์ไปสอบถามผู้ขายเกี่ยวกับสถานะของพัสดุสินค้าที่สั่งซื้อไป ว่าพัสดุสินค้านั้นเดินทางไปถึงไหนแล้ว  ( ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบสีเขียว ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้ )


       ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีส้ม ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ซึ่งก็คือวันรุ่งขึ้นนับจากที่ทีมงานได้เมลล์ไปสอบถามคนขาย  ทางคนขายก็ตอบกลับมา

       ในข้อความที่คนขายตอบกลับมา มีสิ่งที่ "น่าแปลกใจ" ก็คือว่า คนขายตอบกลับมาว่า "จะรีบส่งพัสดุสินค้าให้เรา เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้" ( ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้ )


* * * ซึ่งนั่นก็แปลว่า ณ.วันที่คนขายตอบเมลล์ฉบับข้างบนนี้ ( ซึ่งก็คือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ) คนขาย "ยังไม่ได้ส่งสินค้าออกมาเลย" ( เขาถึงตอบเมลล์กลับมาว่า "จะรีบส่งพัสดุสินค้าให้เรา เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้" )





     ( ภาพบน ) พอทีมงานแจ้งไปทางอีเบย์ เพื่อให้อีเบย์ตามสินค้าแทนเรา แล้วทางอีเบย์ก็สอบถามไปทางคนขายแล้ว ก็ปรากฏว่า คนขายให้เลข Tracking Number แก่ทางอีเบย์มา  ทางอีเบย์ ก็เลยไม่รับเรื่องฟ้องร้องจากเรา และอีเบย์ก็ให้เราเข้าไปดูเลข Tracking Number ด้วยตัวเอง  

       ทีมงานจึงเข้าไปดูเลข Tracking Number ดังที่เห็นในภาพข้างล่างนี้


    ( ภาพบน ) หลังจากที่เราแจ้งอีเบย์ไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ว่าเรายังไม่ได้รับสินค้านั้น ก็ปรากฏว่า ทางผู้ขาย "พึ่ง" ให้เลข Tracking Number แก่อีเบย์มา  แล้วอีเบย์ ก็เลยเอาเลข Tracking Number นั้น มาแจ้งให้เราทราบ ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้




     ( ภาพบน ) หลังจากที่เราได้ข้อมูลเลข Tracking Number จากอีเบย์ว่า เลข Tracking Number คือ 8388552346 และถูกส่งด้วยบริษัท China Post

       เราก็ไปที่เวบสำหรับเช็คเลข Tracking Number ของบริษัท China Post ก่อน จากนั้น ก็กรอกเลข Tracking Number ลงไปที่ช่องกรอก ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้

       จากนั้น ก็คลิ๊กไปที่ปุ่ม Track  ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้



     ( ภาพบน ) หลังจากคลิ๊กไปที่ปุ่ม Track ในภาพก่อนหน้านี้แล้ว ระบบจะพาเรามาที่หน้าเวบแบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ซึ่งเป็นหน้าเวบที่แสดงสถานะพัสดุสินค้า



      ( ภาพบน ) สิ่งที่เห็นได้ชัดๆก็คือ คนขายพึ่งส่งพัสดุสินค้าไปที่ศูนย์รวมสินค้า parcel center ในประเทศจีน ( ข้อความปรากฏตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) เอาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี่เอง ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  * * * ไหนบอกว่าส่งพัสดุสินค้าให้เราตั้งแต่ 25 ธันวาคมแล้วไงล่ะ "โกหกชัดๆ" * * *



      ( ภาพบน ) เหตุการณ์ทั้งหมดที่ทีมงานเขียนมาในหน้าเวบนี้ ดูเผินๆแล้ว อาจเหมือนเป็นแค่เรื่องผิดพลาดของคนขายที่ไม่ได้ตั้งใจ ก็เลยทำให้ส่งพัสดุสินค้าให้ลูกค้าช้า

       แค่ความจริง มันเป็น "การวางแผน" ที่แยบยลต่างหาก  เพราะถ้าไม่ใช่การวางแผนแล้ว ทำไมคนขายต้องโกหกเราว่า ได้ส่งของให้เราแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม  ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เขาส่งออกมาหลังจากนั้นตั้ง 51 วัน คือพึ่งส่งสินค้าไปที่ศุนย์รวมสินค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี่เอง


       ขนาดทีมงานจับโกหกคนขายได้ขนาดนี้ อีเบย์ก็ไม่รับเรื่องจากเราอยู่ดี  และระยะเวลาการรับเรื่องมันก็หมดภายใน "15 วัน" นับจากวันที่อีเบย์กำหนดให้เป็นวันขีดเส้นตาย ( คือ 24 กุมภาพันธ์ ตามเวลาที่อเมริกา ) ซึ่งก็คือ อีเบย์จะหมด "เวลาประกันสินค้าของอีเบย์" ในวันที่ 11 มีนาคม นั่นเอง 11 มีนาคม คือวันที่ครบ "15 วัน" นับจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ )