script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: 2020

Friday, September 25, 2020

คลาดเคลื่อน 0.04 บาท

 

คลาดเคลื่อน 0.04 บาท

       "ทุกครั้ง" ที่มีการสั่งซื้อสินค้าให้กับคุณลูกค้า ทางทีมงาน tuvagroup.com จะทำการคำนวณเงินทอนให้คุณลูกค้าดูก่อน จากนั้น ทีมงานถึงจะดำเนินการทอนเงินให้กับคุณลูกค้านะครับ

       ในครั้งนี้ ทีมงานจะเอาตัวอย่างการคำนวณเงินทอนในเคสหนึ่งมาให้ดูนะครับ ซึ่งเมื่อคุณผู้อ่านได้ดูเคสนี้แล้ว ก็จะทำให้เข้าใจระบบการทำงานของทีมงาน tuvagroup.com ได้ดียิ่งขึ้น

       ในเคสนี้ เริ่มต้นด้วยการสั่งซื้อสินค้าให้กับคุณลูกค้า ในราคา 11.22 เหรียญ นะครับ  /  หลังจากสั่งซื้อเสร็จแล้ว ก็จะทิ้งระยะช่วงเวลาหนึ่ง แล้วทีมงานก็จะทำการคำนวณเงินทอนให้กับคุณลูกค้า  /  ซึ่งการคำนวณเงินทอนนี้ ทีมงานก็จะส่งเป็นอีเมลไปให้คุณลูกค้าดูก่อน แล้วถึงค่อยทอนตัวเงินตามไปในภายหลัง


* * * หมายเหตุ - ภาพสินค้า , ภาพอีเมล , ภาพการคุยโต้ตอบ และภาพทุกอย่างที่คุณผู้อ่านจะได้เห็นในหน้าเวบนี้ ล้วนแต่เป็นภาพที่สำเนามาจากเหตุการณ์จริง , สำเนามาจากต้นฉบับตัวจริง , นำมาจากเคสของจริงทั้งสิ้น ไม่มีการสมมติขึ้นมาแต่อย่างใดนะครับ 

ภาพบน ) อีเมล ที่ทีมงาน "คำนวณเงินทอน" แล้วส่งให้คุณลูกค้า




      ( ภาพบน ) โดยในอีเมลคำนวณเงินทอนดังกล่าว ทีมงานชี้แจงว่ายอดค่าใช้จ่าย 11.22 เหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ได้ถูกตีเป็นเงินไทย 384.5 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


      ( ภาพบน ) หลังจากที่ทีมงานคำนวณเงินทอนให้คุณลูกค้าดูเสร็จเรียบร้อยแล้ว ( ที่ปรากฏในภาพก่อนหน้านี้ ) ทีมงานก็ดำเนินการ "ทอนเงิน" ให้กับคุณลูกค้า แล้วก็ส่งอีเมลแจ้งให้คุณลูกค้าทราบว่าได้ทอนเงินเรียบร้อยแล้ว ตามที่ปรากฏอยู่ในภาพของอีเมลฉบับที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ 


ขอแทรกนิดนึงครับ   

       ที่คุณผู้อ่าน เห็นการคำนวณเงินทอนในภาพข้างบนนี้นั้น เป็นการคำนวณเงินทอน "ก่อนที่สเตทเม้นท์ตัวจริงจะออก" นะครับ 

       คือหมายความว่า ตามปกติ สเตทเม้นท์จะออกแค่ "เดือนละ 1 ครั้ง" คือประมาณวันที่ 12 - 18 ของแต่ละเดือน  /  ซึ่งทีมงานคิดว่า หากคุณลูกค้าบางท่าน ซื้อสินค้าไปเมื่อ วันที่ 20 ของเดือนนี้ ก็จะต้องรอจนถึงวันที่ 12 - 18 ของเดือนหน้า ถึงจะได้รับการคำนวณเงินทอน  /  พูดง่ายๆก็คือว่าลูกค้าต้อง รอนานเกินไป กว่าที่จะได้รับการคำนวณเงินทอน

       ด้วยเหตุผลนี้เอง ( คือไม่อยากให้ลูกค้าต้องรอนานเกินไป กว่าที่จะได้รับการคำนวณเงินทอน ) ทีมงานก็เลยใช้วิธี คำนวณเงินทอน ก่อนที่สเตทเม้นท์จริงจะออก แล้วก็ทอนเงินให้กับคุณลูกค้าเลย ( คุณลูกค้าจะได้ไม่ต้องรอนานเกินไป กว่าที่จะได้รับเงินทอน ) 

แต่พอสเตทเม้นท์ตัวจริงออกมา ก็พบความคลาดเคลื่อนไป "0.04" บาท


ภาพบน ) สเตทเม้นท์ตัวจริง ที่ออกมาภายหลังจากที่ทีมงาน "ทอนเงินไปแล้ว

        ( ภาพบน ) อธิบายได้ดังนี้นะครับ

* * * ตอนก่อนสเตทเม้นท์ตัวจริงจะออก - ทีมงานคำนวณไว้ว่า ยอดเงิน 11.22 เหรียญ ตีเป็นเงินไทย 384.5 บาท


* * * พอสเตทเม้นท์ตัวจริงออก ( ตามที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) - ปรากฏว่า ในสเตทเม้นท์บอกไว้ว่า ยอดเงิน 11.22 เหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คิดเป็นเงินไทย 384.54 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


       จากเหตุการณ์นี้ คุณผู้อ่านจะเห็นความคลาดเคลื่อนไป 0.04 บาท คือ ตอนคำนวณก่อนสเตทเม้นท์ออก ทีมงานคำนวณไป 384.5 บาท แต่พอสเตทเม้นท์ตัวจริงออก มันกลับเป็น 384.54 บาท

อีเมลแจ้งให้คุณลูกค้าทราบทันที!

ภาพบน ) อีเมลที่ทีมงานเขียนไปชี้แจงให้คุณลูกค้าทราบ เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อน 0.04 บาท นี้ 

      ( ภาพบน ) เมื่อทีมงานตรวจสอบพบความคลาดเคลื่อน 0.04 บาท นี้ ทีมงานจึงเขียนอีเมลไปชี้แจงให้คุณลูกค้าทราบ ( ปรากฏตามภาพอีเมล ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ )


ทีมงาน "เอาใจใส่" แม้จะเป็นความคลาดเคลื่อนแค่เพียง "0.04 บาท" ก็ตาม

      "ประเด็นหลัก" ของการที่ทีมงานทำหน้าเว็บนี้ขึ้นมานั้น ก็เพื่อจะให้คุณผู้อ่านได้เห็นว่า ระบบบริหารของทีมงาน tuvagroup.com นั้น เอาใจใส่ กับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ให้กับคุณลูกค้า 

       ถ้าเป็นเวบรับฝากซื้อสินค้า "เจ้าอื่น" เขาจะไม่มีการชี้แจงรายละเอียดทางสเตทเม้นท์ให้คุณเห็น

       ในขณะที่ เวบรับฝากซื้อสินค้า tuvagroup.com ของเรา มีระบบโชว์สเตทเม้นท์ค่าใช้จ่ายให้ลูกค้าเห็นอย่างชัดเจน 

       และไม่ใช่แค่เพียงมีการโชว์สเตทเม้นท์ให้เห็นเท่านั้น ทีมงานยัง เอาใจใส่ ในเรื่องการรักษาผลประโยชน์ให้กับคุณลูกค้า แม้กระทั่งยอดเงินเพียง 0.04 บาท ( เหมือนที่ยกตัวอย่างมาในหน้าเวบนี้ ) ทีมงานก็ยังทำหนังสือชี้แจงให้คุณลูกค้าทราบ ถึงความคลาดเคลื่อนนี้ด้วยครับ


       ด้วยการเอาใจใส่ และการรักษาผลประโยชน์ของคุณลูกค้าขนาดนี้ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณลูกค้าจะได้เห็นคุณงามความดีของทีมงาน และมั่นใจในการมาใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com นะครับผม 


- END - 

การคำนวณค่าใช้จ่าย

 

การคำนวณค่าใช้จ่าย


ภาพบน ) เวบแสดงเรทธนาคารโลก 

http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1


คำถาม : เวลาที่ลูกค้าฝากทีมงาน tuvagroup.com ซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ราคา 140 เหรียญ ( สหรัฐอเมริกา ) ทำไมทีมงาน tuvagroup.com ไม่ใช้เรทธนาคารโลก ( จากเวบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ในการคำนวณ แล้วค่อยบวกค่าบริการ 100 บาท เข้าไป


ภาพบน )
http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1  

      ( ภาพบน )  ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 30 เมษายน  ลูกค้าจะฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศราคา 140 เหรียญ  /  ทีมงานก็แค่เข้าไปที่เวบที่สามารถเช็คเรทธนาคารโลกได้ ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) แล้วก็ตั้งวันที่ให้ตรงกับวันที่เราจะชำระเงินให้คนขาย ซึ่งก็คือวันที่ 30 เมษายน ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  / จากนั้น ก็กรอกเลข 140 เข้าไปทางฝั่งของช่องเงินเหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  พอผลที่ระบบคำนวณเป็นเงินไทยออกมาได้ คือ 4,889.8503 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ทีมงานก็แค่เอาตัวเลข 4,889.8503 บาท นี้ มาบวกค่าบริการเข้าไปอีก 100 บาท ก็เป็น 4,989.8503 บาท แล้วก็เรียกเก็บเงินยอดนี้ ( 4,989.8503 บาท ) จากลูกค้า เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ทำไมถึงต้องใช้เรทที่สูงกว่าเรทธนาคารโลกด้วยล่ะ? 


ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก hatyaiairportthai.com

คำตอบ : ณ.วันที่ 30 เมษายน ถ้าคุณมีเงินสดต่างประเทศจำนวน 140 เหรียญอยู่ในกระเป๋า แล้วคุณก็เดินทางไปที่ เคาน์เตอร์ของธนาคาร เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       จากนั้นคุณก็ควักเงิน 140 เหรียญออกมาจากกระเป๋าของคุณเอง แล้วยื่นให้พนักงานที่รับแลกเงินที่อยู่ในเคาน์เตอร์นั้น

       อย่างนี้แหละครับ คุณถึงจะได้ใช้เรทธนาคารโลก ก็คือคุณจะได้รับเงินบาทไทยกลับมา 4,889.8503 บาท ( โดยที่บริเวณข้างๆเคาน์เตอร์ดังกล่าว ก็จะมีหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงเรทธนาคารโลกให้คุณดู เหมือนที่ปรากฏอยู่ใน วงรีสีเขียว ที่เห็นอยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       พูดง่ายๆว่า เรทธนาคารโลก มันใช้ได้กับการที่คุณ เดินเข้าไปหาเคาน์เตอร์ธนาคาร "ด้วยตัวเอง" แล้วเอาเงินเหรียญสหรัฐยื่นให้พนักงานธนาคาร แล้วพนักงานธนาคารคนนั้น ก็ยื่นเงินไทยกลับมาให้คุณ  /  อย่างนี้แหละ เรทธนาคารโลกถึงจะใช้ได้กับคุณ

       แต่การที่เราจะโอนเงินของเราไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ เราต้อง "จ้างคนอื่น" ให้ทำหน้าที่โอนเงินให้เรา  /  ซึ่งการจ้างคนอื่นที่พูดมานั้น เราต้องเสียค่าจ้าง หรือค่าธรรมเนียมให้กับคนที่เราว่าจ้างเขาด้วย


ภาพบน ) ยอดเงินที่ต้องการจะโอนไปให้เพื่อนทางธนาณัติ ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) 

ภาพข้างบนนี้มาจาก animategroup.com

      ( ภาพบน ) ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ๆตัวที่เห็นกันบ่อยๆนะครับ โดยสมมติว่าคุณผู้อ่านต้องการจะส่งเงินไปให้เพื่อน โดยยอดเงินที่ต้องการจะส่งให้เพื่อนคือ 325 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       ถ้าคุณผู้อ่านกำเงินสดไปที่ทำการไปรษณีย์ เป็นเงินแค่ 325 บาท แล้วจะให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งยอดเงินนี้ไปให้เพื่อนคุณทางธนาณัติ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์คนนั้น เขาก็คงไม่ทำให้คุณหรอกครับ!

       ทำไมเจ้าหน้าที่ถึงไม่ทำให้? 


ภาพบน ) ค่าบริการที่ทางไปรษณีย์คิดจากเราแยกต่างหาก  ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) 

      ( ภาพบน ) ถ้าเรากำเงินสด 325 บาท ไปที่ทำการไปรษณีย์แล้วจะส่งธนาณัติไปให้เพื่อน 325 บาท  โดยไม่เสียค่าบริการอะไรเลยนั้น เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาก็ไม่ส่งธนาณัติไปให้เพื่อนของคุณแน่นอน

       ถ้าจะให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งธนาณัติให้เพื่อนคุณ คุณก็ต้องเสียค่าบริการ แยกต่างหากอีก 10.70 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


จะโอนเงินให้เพื่อน 325 บาท แต่เราต้องจ่ายทั้งหมด 335.70 บาท

       นั่นก็หมายความว่า ถ้าเราจะส่งธนาณัติให้เพื่อน 325 บาท เราจะต้องกำเงินสดไปที่ทำการไปรษณีย์ 335.70 บาท ( มาจาก 325 บาท 10.70 บาท )  /  แล้วเอาเงิน 335.70 บาทนี้แหละ ยื่นใส่มือให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ทั้งหมด  /  แล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาถึงจะส่งธนาณัติ 325 บาทไปให้เพื่อนเรา และหักค่าบริการ 10.70 บาทเก็บไว้กับบริษัทไปรษณีย์ไทยเอง

       การโอนเงินไปให้เพื่อนทางธนาณัติ ก็คือการ "จ้างคนอื่น" ให้ทำการโอนเงินให้เรา ซึ่ง "คนอื่น" ที่ว่านี้ ก็คือบริษัทไปรษณีย์ไทยนั่นเอง


 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก wherepigsfly.org


 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก pngimg.com

        ( ภาพบน ) การที่เราจะโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ มันก็เหมือนกับการที่เราจะโอนเงินให้เพื่อนทางธนาณัตินั่นเอง คือต้องมีการ "จ้างคนอื่น"  /  โดยคำว่า "คนอื่น" ที่ว่านี้ ก็คือบริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า นั่นเอง ( ตามที่เห็นภาพสัญลักษณ์บริษัท PayPal และ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ในสองภาพข้างบนนี้ )

       นั่นก็หมายความว่า เวลาที่ทีมงานจะโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น ทีมงานก็ต้องจ้างให้บริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ทำหน้าที่โอนเงินไปต่างประเทศให้

       และเวลาที่บริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า เขาโอนเงินของเราไปให้คนขายสินค้าที่อยู่ต่างประเทศนั้น เขาก็ ไม่ได้บริการเราฟรีๆ  เขาก็คิดค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียม กับเรา เหมือนกับที่บริษัทไปรษณีย์ไทยคิดค่าบริการกับเรา ตอนที่เราให้บริษัทไปรษณีย์ไทยส่งธนาณัติให้เพื่อนเรานั่นเอง


ภาพบน )
http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1  

      ( ภาพบน ) ย้อนกลับไปคำถาม ที่คุณถามมาว่า "ในวันที่ 30 เมษายน  ลูกค้าจะฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศราคา 140 เหรียญ  /  ทีมงานก็แค่เข้าไปที่เวบที่สามารถเช็คเรทธนาคารโลกได้ ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) แล้วก็ตั้งวันที่ให้ตรงกับวันที่เราจะชำระเงินให้คนขาย ซึ่งก็คือวันที่ 30 เมษายน ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  / จากนั้น ก็กรอกเลข 140 เข้าไปทางฝั่งของช่องเงินเหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  พอผลที่ระบบคำนวณเป็นเงินไทยออกมาได้ คือ 4,889.8503 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ทีมงานก็แค่เอาตัวเลข 4,889.8503 บาท นี้ มาบวกค่าบริการเข้าไปอีก 100 บาท ก็เป็น 4,989.8503 บาท แล้วก็เรียกเก็บเงินยอดนี้ ( 4,989.8503 บาท ) จากลูกค้า เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ทำไมถึงต้องใช้เรทที่สูงกว่าเรทธนาคารโลกด้วยล่ะ?"

       สำหรับการตอบคำถามในส่วนนี้ ทีมงานจะตอบคำถามด้วยการปฏิบัติจริงๆให้ดูเลยนะครับ ไม่ใช่เป็นการสมมติขึ้นมา

       จากภาพข้างบนนี้ เมื่อเราใช้เรทธนาคารโลกคำนวณยอดเงิน 140 เหรียญ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ผลที่ออกมาคือ 4,889.8503 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       ซึ่งทีมงานก็ได้ตอบไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ถ้าจะให้ 140 เหรียญเท่ากับ 4,889.8503 บาท ตามเรทธนาคารโลกนั้น คุณจะต้องใช้วิธีเดินกำเงินสด 140 เหรียญ แล้วไปแลกเป็นเงินบาทไทยที่ เคาน์เตอร์ของธนาคาร  /  นั่นแหละ คุณถึงจะได้เงินยอด 4,889.8503 บาทกลับมา

       แต่ถ้าเป็นการเอาเงิน 140 เหรียญ ไปสั่งซื้อสินค้าต่างประเทศ ทีมงาน Tuvagroup.com จะต้องจ้างบริษัท PayPal หรือบริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ในการโอนเงินไปต่างประเทศให้

       ณ.ที่นี้ ทีมงานจะลองโอนเงิน 140 เหรียญ ไปต่างประเทศ ณ.วันที่ 30 เมษายน โดยใช้บริการของบริษัท PayPal ให้คุณดูเลยนะครับ ( ที่เลือกเอาเป็นวันที่ 30 เมษายน ก็เพื่อให้ตรงกับวันที่ ที่คุณเอาเรทธนาคารโลกในรูปข้างบนนี้ มาตั้งเป็นโจทย์น่ะครับ )


ตัวอย่างการโอนเงิน ( ของจริง )


 ( ภาพบน ) ธุรกรรมของ PayPal เมื่อวันที่ 30 เมษายน

      ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือการที่ทีมงาน tuvagroup.com ได้ส่งเงินไปให้ทางคนขายผ่านทาง PayPal จริงๆนะครับ ไม่ใช่เป็นการสมมติเหตุการณ์ขึ้นมาแต่อย่างใด โดยการโอนเงินนี้ ทำขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน ( เพื่อให้ตรงกับตัวอย่างเรทธนาคารโลกที่คุณตั้งโจทย์ไว้ )



      ( ภาพบน ) ยอดเงินที่โอนไปคือ 140 เหรียญ ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )



       ( ภาพบน ) โดยเราโอนเงินไปให้คนขายสินค้า ที่ใช้ชื่อว่า Bay State Millitaria & Antiques ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้

       ซึ่งชื่อคนขาย ( Bay State Millitaria & Antiques ) นี้ มันจะไปปรากฏบนสเตทเม้นท์ในลักษณะเป็นชื่อย่อๆ 

       ที่บนสเตทเม้นท์เขาใช้ชื่อย่อๆของคนขาย ก็เพื่อไม่ให้มันเปลืองพื้นที่ในการพิมพ์  /  ยกตัวอย่างเช่น เขาจะย่อชื่อ Bay State Millitaria & Antiques ให้เหลือแค่ BAYSTATEMIL เท่านั้น

       ก็คือหมายความว่า เมื่อสเตทเม้นท์ออก แล้วเราดูสเตทเม้นท์ของวันที่ 30 เมษายน แล้วเห็นชื่อผู้รับเงินเป็น BAYSTATEMIL จริงๆแล้วล่ะก็ นั่นก็หมายถึงรายการนั้น คือรายการธุรกรรม ที่ทีมงาน tuvagroup.com ได้ทำการโอนเงินยอด 140 เหรียญ ไปให้กับผู้ขายที่ชื่อ Bay State Millitaria & Antiques เมื่อวันที่ 30 เมษายน นั่นเอง

       ขั้นตอนต่อไปก็คือการรอสเตทเม้นท์ ซึ่งจะออกใน วันที่ 12 หรือ 18 ของเดือนถัดไป! ( คือ เราโอนวันที่ 30 เมษายน ในยอด 140 เหรียญนี้ สเตทเม้นท์จะออกในวันที่ 12 หรือ 18 ของ เดือนพฤษภาคม )

มาดูสเตทเม้นท์บัตรเครดิตกัน

ภาพบน ) สเตทเม้นท์ออกแล้ว!

      ( ภาพบน ) ตรงส่วนที่เป็น เส้นประสีแดง ในภาพข้างบนนี้นั้น มีที่มาก็คือว่า เนื่องจากสเตทเม้นท์มีความยาวมาก ดังนั้น ทีมงานจึงเอาทางด้านล่างของสเตทเม้นท์ขึ้นมาต่อกับด้านบนของสเตทเม้นท์ โดยมีตัว เส้นประสีแดง เป็นตัวคั่นน่ะครับ ( ตัวสเตทเม้นท์ตัวเต็ม ( และเป็นตัวเต็ม ) ดูได้ที่ลิงก์  http://www.tuvagroup.com/5904aprilstate.html )


หมายเหตุ - สเตทเม้นท์ข้างบนนี้มีตัวตนจริงๆนะครับ ไม่ใช่แค่สมมติขึ้นมา  /  เป็นสเตทเม้นท์ Online ที่ทีมงานได้จากธนาคารไทยพาณิชย์ และคุณผู้อ่านสามารถคลิ๊กเข้าไปดูสเตทเม้นท์ย้อนหลังได้ที่ลิงก์  http://www.tuvagroup.com/stateindex.html 

       ถ้าคุณคิดว่าทีมงานไป ปลอมแปลงตัวเลขในสเตทเม้นท์ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรืออะไรก็ตาม ทีมงานขอท้าเลยว่า ถ้าคุณมีญาติทำงานอยู่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณลองขอให้ญาติคุณเข้าไปเช็คข้อมูลสเตทเม้นท์ทั้งหมดในเวบหน้า  http://www.tuvagroup.com/stateindex.html  นี้ในฐานข้อมูลของธนาคารไทยพาณิชย์ได้เลยครับ ตรวจสอบได้ ทุกบรรทัดของสเตทเม้นท์ ของทุกเดือนของทุกปี ได้เลย ถ้ามีการตกแต่งตัวเลขให้ผิดไปทุกสเตทเม้นท์ที่ปรากฏอยู่ในหน้าเวบนี้ แม้เพียง 0.01 บาท ก็ขอให้คุณเอาไปประจานตามสื่อต่างๆได้เลยครับว่าทีมงาน tuvagroup.com เป็นเวบที่ขี้โกง

       แต่หากคุณไม่พบข้อบกพร่อง นั่นคือ ตัวเลขทุกบรรทัดของทุกเดือน ของทุกปีของสเตทเม้นท์ มันตรงกับฐานข้อมูลของธนาคารทั้งหมด ก็ขอให้คุณผู้อ่านรู้ไว้เถิดว่าใน 14 ปีมานี้ ( นับถึงปี พ.ศ.2563 )  ทีมงาน tuvagroup.com ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมาตลอด ( ในเรื่องความซื่อสัตย์นัน้น เป็นสิ่งที่หาได้ยากมากในวงการการซื้อขายในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ - เพราะในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ มันเต็มไปด้วยพวกมิจฉาชีพ  /  ถ้าทีมงาน Tuvagroup.com เป็นมิจฉาชีพจริง ป่านนี้คงโดนประจาน หรือโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับเข้าคุกไปนานแล้ว คงไม่อยู่มาได้จะถึงสิบปีแบบนี้หรอกครับ )

       นอกเรื่องไปไกล  ขอกลับมาที่เรื่องของเรากันต่อนะครับ

ภาพบน ) รายการที่เราสนใจ จะอยู่ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ในภาพข้างบนนี้




      ( ภาพบน ) จากการที่เราดูไปที่บริเวณที่มี วงรีสีน้ำเงิน ล้อมรอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ คุณผู้อ่านก็จะเห็นได้ว่า เป็นการรายการเดียวกัน กับที่ทางทีมงาน tuvagroup.com ได้ทำการโอนเงินไปให้คนขายที่ชื่อ Bay State Millitaria & Antiques ( ซึ่งในสเตทเม้นท์ ใช้ชื่อย่อเป็น BAYSTATEMIL ) เป็นยอดเงิน 140 เหรียญ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 



       ( ภาพบน ) ตัวเลขที่อยู่ใน วงรีสีม่วง ในภาพข้างบนนี้ มันบอกไว้ว่าเป็นยอดเงิน 5,287.36 บาท


       สรุปตรงนี้ก่อนว่า การโอนเงิน 140 เหรียญ ไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ โดยโอนผ่านบริษัท PayPal เมื่อวันที่ 30 เมษายน นั้น มันจะดึงเงินไปจากกระเป๋าเงินของทีมงาน tuvagroup.com ไป 5,287.36 บาท ( ซึ่งก็คือตัวเลขที่ปรากฏอยู่ใน วงรีสีม่วง ในภาพข้างบนนี้ ) 


ภาพบน )
http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1  

       ( ภาพบน ) ในขณะที่ ถ้าใช้เรทธนาคารโลกของวันที่ 30 เมษายน ในการคำนวณ มันจะตีว่าเงิน 140 เหรียญเป็นเงิน 4,889.8503 บาท  /  แล้วสมมติว่าทีมงานรับเงินยอด 4,889.8503 บาท นี้มาจากคุณลูกค้า แล้วโอนเงินไปให้คนขาย 140 เหรียญ

       นั่นก็แปลว่ามันเข้าเนื้อทีมงานไป 397.5097 บาท ( มาจาก 5,287.36 - 4,889.8503 )  /  เพราะทีมงานรับเงินมาจากคุณแค่ 4,889.8503 บาท แต่ว่าบริษัท PayPal มันดึงเงินจากทีมงานไป  5,287.36 บาท

นี่คือเหตุผลว่า ทำไม ทีมงานถึงไม่ใช้เรทธนาคารโลกในการคำนวณค่าใช้จ่ายกับคุณลูกค้า

      ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลที่คุณถามมาว่าทำไมทีมงานไม่ใช้เรทธนาคารโลกในการคำนวณค่าใช้จ่ายให้ลูกค้า  /  ซึ่งทีมงานขอสรุปให้ฟังอีกทีหนึ่งนะครับว่า

* * * เรทธนาคารโลก มีไว้สำหรับการเดินไปแลกเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร "ด้วยตัวเอง


* * * ส่วนการโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น เราต้อง "จ้างคนอื่น" ซึ่งก็คือจ้างบริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ให้ทำการโอนเงินให้เรา ซึ่งบริษัทที่เราจ้างนี้ เขาไม่ได้ทำงานให้เราฟรีๆ เขาคิดค่าบริการ ( หรือที่เรียกว่าค่าธรรมเนียม ) จากเราด้วย ซึ่งก็เหมือนการที่บริษัทไปรษณีย์ไทย ที่คิดค่าบริการจากเรา เวลาที่เราจะส่งธนาณัติไปให้เพื่อนนั่นเอง


* * * "ค่าใช้จ่ายทั้งหมด" ที่เราต้องใช้ในการโอนเงินไปต่างประเทศ จะปรากฏอยู่บนสเตทเม้นท์  /  ซึ่งคำว่า "ค่าใช้จ่ายทั้งหมด" ในที่นี้ ก็คือ ยอดเงินที่เราโอนไปให้คนขาย + ค่าจ้าง หรือค่าบริการ ที่เราต้องจ่ายให้แก่บริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า เพื่อเป็นการจ้างเขาให้โอนเงินไปต่างประเทศให้เรา


* * * นั่นก็หมายความว่า ถ้าทีมงานใช้เรทธนาคารโลกในการคำนวณค่าใช้จ่าย กรณีที่คุณลูกค้าต้องการจะโอนเงินไปให้คนขาย 140 เหรียญ เมื่อวันที่ 30 เมษายน แล้วล่ะก็ ค่าใช้จ่ายก็จะเป็น 4,889.8503 บาท ( ยังไม่ได้รวมค่าบริการอีก 100 บาท )

       แต่ปรากฏว่าเมื่อสเตทเม้นท์ออกมา มันโชว์ว่าบริษัท PayPal มันดึงเงินไปจากกระเป๋าของทีมงานเป็นยอด 5,287.36 บาท

       นั่นก็แปลว่ามันเข้าเนื้อทีมงานไป 397.5097 บาท ( มาจาก 5,287.36 - 4,889.8503 )  /  เพราะทีมงานรับเงินมาจากคุณแค่ 4,889.8503 บาท แต่ว่าบริษัท PayPal มันดึงเงินไปจากทีมงานไป 5,287.36 บาท 


       ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่พูดมาตั้งแต่หน้าเวบด้านบนสุด จนมาถึงบรรทัดที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ คุณผู้อ่านก็จะเข้าใจแล้วนะครับว่าเหตุใดเวลาที่ทีมงานคำนวณค่าใช้จ่ายกับคุณ ทีมงานถึงไม่สามารถใช้เรทธนาคารโลกได้  /  โดยทางปฏิบัติก็คือว่าทีมงานต้องคำนวณโดยใช้เรทที่สูงกว่าธนาคารโลกเอาไว้ก่อน แล้วพอ "ค่าใช้จ่ายจริง" ออกมา ( ซึ่งค่าใช้จ่ายจริงนี้จะโชว์ในสเตทเม้นท์ ) ทีมงานก็ค่อยหักเพิ่มอีก 100 บาท เพื่อเป็นค่าบริการ แล้วที่เหลือจากนั้น ก็ค่อยทอนเงินคืนให้กับคุณลูกค้าไป 


คำถามต่อไป !

คำถาม : ทำไมผู้ให้บริการเจ้าอื่นถึงใช้เรทที่ต่ำกว่าคุณได้ ยกตัวอย่างเช่นคุณใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ แต่ผู้ให้บริการเจ้าอื่นเขาใช้เรทแค่ 38 บาท ต่อ 1 เหรียญ ได้ล่ะ เพียงแต่ผู้ให้บริการเจ้านั้น เขาไม่ขอโชว์สเตทเม้นท์ให้ดูเหมือนที่ทีมงาน tuvagroup.com ทำก็เท่านั้นเอง 

       ซึ่งผมก็ "ไม่เห็นความสำคัญของเรื่องการโชว์สเตทเม้นท์" แต่อย่างใด  /  ผมรู้แต่เพียงว่า เมื่อผมใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้าอื่นนั้น เขาคิดเรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ กับผม ในขณะที่ทีมงาน tuvagroup.com คิดเรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ กับผม  /  แล้วอย่างนี้ มันมีเหตุผลอะไรที่ผมจะต้องมาใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com ซึ่งคิดเรทสูงกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นด้วยล่ะ?  


คำตอบ : จริงๆแล้ว การใช้เรทสูงๆตามที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้นั้น มันเป็นแค่การ "เผื่อ" เฉยๆ เพราะค่าใช้จ่ายจริงมันจะปรากฏบนสเตทเม้นท์อยู่แล้ว 

       ทีมงานจะใช้เรทธนาคารโลกก็ได้ แต่มันก็ต้องทำให้คุณต้องโอนเงินถึง 2 ครั้ง  /  ก็เหมือนตัวอย่างที่ทีมงานยกมาให้ดูก่อนหน้านี้นั่นเอง คือถ้าทีมงานใช้เรทธนาคารโลกกับคุณในการคำนวณ ยอดแรกคุณก็ต้องโอนมาให้ทีมงาน 4,889.8503 บาท แล้วพอยอดโชว์ในเสตทเม้นท์ออกมาเป็น 5,287.36 บาท คุณก็ต้องโอนยอดที่สอง มาเพิ่มให้กับทีมงานอีก 397.5097 บาท ( มาจาก 5,287.36 - 4,889.8503 )

       ซึ่งบางครั้ง การโอนเงินมันก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย ดังนั้น คุณจะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียม และเสียเวลา ในการโอนเงินถึง 2 ครั้งทำไมล่ะครับ? ก็แค่ให้ทีมงานโอนเงินในเรทสูงไว้ก่อนเพื่อให้คุณโอนเงินมาครั้งเดียว แล้วพอยอดค่าใช้จ่ายจริงมันโชว์บนสเตทเม้นท์เป็นเท่าใด ก็ค่อยบวกเข้าไปอีก 100 บาท เป็นค่าบริการ แล้วก็เอาไปหักจากเงินที่คุณโอนมา แล้วที่เหลือก็ทอนคุณไป ก็ไม่เห็นจะยุ่งยากหรือซับซ้อนเลยตรงไหนเลยนะครับ   

       ส่วนการที่ผู้ให้บริการรับฝากซื้อสินค้าเจ้าอื่นเขาใช้เรทที่ต่ำกว่าที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้นั้น มันก็เป็นเพียงแค่ทำให้ดู "น่าสนใจ" เท่านั้น  /  ซึ่งจริงๆแล้ว เทคนิคการใช้เรทต่ำๆ แต่ไม่ยอมโชว์สเตทเม้นท์ให้ดูนั้น มันเป็นเทคนิคการ "ฮุบโปรโมชั่นหรือฮุบส่วนลด" ของคุณไปแบบหวานหมูต่างหากล่ะครับ

       ถ้าเป็นคนที่ไม่มีประสบการณ์ ( การโดนหลอก ) มาก่อน ก็จะไม่ทันฉุกคิดเรื่องพวกนี้ และก็จะมองว่าการที่ผู้ให้บริการเจ้าอื่นคิดเรทต่ำกว่าที่ทางทีมงาน Tuvagroup.com คิดนั้น ก็เป็นผู้ที่ลูกค้าอยากจะใช้บริการด้วย  /  ด้วยเหตุนี้ ทีมงาน tuvagroup.com ก็จะมาแฉกลโกงให้ดูกันเลยครับ เรามาดูกัน


 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก  sonasonicmegastore.com

       ( ภาพบน ) สมมติว่าคุณลูกค้าอยากได้สินค้าจากต่างประเทศ 4 ชิ้น แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ โดยแต่ละชิ้นมีราคาชิ้นละ 100 เหรียญ ( อันนี้เป็นเหตุการณ์สมมติทั้งหมดนะครับ คือสมมติให้เห็นภาพเฉยๆ จะได้เข้าใจคำอธิบายของทีมงานน่ะครับผม )

       และคุณลูกค้ามีตัวเลือกผู้ให้บริการอยู่ 2 เจ้าคือ 

* * * ผู้ให้บริการเจ้าอื่น - คิดเรทเหรียญละ 38 บาท แต่ไม่แสดงสเตทเม้นท์ให้ดู


* * * ผู้ให้บริการคือทีมงาน tuvagroup.com - คิดเรทเหรียญละ 40 บาท แต่แสดงสเตทเม้นท์ให้ดู  


       ถ้าพิจารณาเผินๆแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะเลือกผู้ให้บริการเจ้าอื่น เพราะว่าเขาคิดเรทแค่เหรียญละ 38 บาทซึ่งถูกกว่าเรท 40 บาทของทีมงาน tuvagroup.com  /  แต่อย่าพึ่งด่วนตัดสินใจไปครับ ลองอ่านไปเรื่อยๆก่อน

ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก iconfinder.com

       ( ภาพบน ) ตอนแรก คุณลูกค้าท่านนี้ได้มอบเงินให้ผู้ให้บริการเจ้าอื่นคนนี้ไป 15,200 บาท เพื่อให้ซื้อของจำนวน 4 ชิ้น นี้ให้ ( เพราะของทั้งหมดมี 4 ชิ้นๆละ 100 เหรียญ รวมเป็น 400 เหรียญ ใช้เรทเหรียญละ 38 บาท ก็เลยเป็น 15,200 บาท )

       จากนั้นผู้ให้บริการคนนี้ ก็ไปซื้อสินค้าจำนวน 4 ชิ้น ตามที่ได้รับออร์เดอร์มาจากลูกค้าคนนี้




      ( ภาพบน ) แต่สิ่งที่คุณลูกค้าไม่รู้ ( แต่ผู้ให้บริการรู้ ) ก็คือว่า จริงๆแล้ว สินค้าชุดนี้ เมื่อซื้อ 3 ชิ้นจะแถมฟรี 1 ชิ้น

       และเนื่องจากการที่ ผู้ให้บริการเจ้านี้ ไม่มีการโชว์สเตทเม้นท์ ดังนั้น จึงไม่มีใครรู้ว่า ผู้ให้บริการเจ้านี้ จ่ายไปเพียง 300 เหรียญ แล้วเก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง 100 เหรียญ



      ( ภาพบน ) ต่อมา เมื่อสินค้า 4 ชิ้นในภาพข้างบนนี้ มาถึงมือคุณลูกค้าท่านนี้แล้ว คุณลูกค้าท่านนี้ก็ดีใจ และคิดว่าโชคดีแล้วหนอ ที่ใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้านี้ เพราะเขาคิดเรทแค่ เหรียญละ 38 บาท ถูกกว่าการใช้บริการกับทีมงาน Tuvagroup.com ที่ใช้เรท เหรียญละ 40 บาท เสียอีก และคุณลูกค้าก็ยังคิดอีกว่า "ถึงแม้ผู้ให้บริการเจ้านี้ จะไม่โชว์สเตทเม้นท์ก็ไม่เป็นไร ยังไงฉันได้จ่ายไปด้วยเรท เหรียญละ 38 บาท เท่านนั้น เท่านี้ก็ Happy แล้ว"

       แต่เพราะมันไม่มีสเตทเม้นท์โชว์ คุณลูกค้าท่านนี้ก็เลยไม่รู้ว่าเงินได้เข้ากระเป๋าผู้ให้บริการเจ้านี้ไป 100 เหรียญ เสียแล้ว เพราะว่าผู้ให้บริการเจ้านี้จ่ายไปเพียง 300 เหรียญ เท่านั้น ( เพราะมัน แถมฟรี 1 ชิ้น ซึ่ง 1 ชิ้นที่ได้มาฟรีนั้น มันมีมูลค่าถึง 100 เหรียญ! ) 


พฤติกรรมของผู้ให้บริการเจ้านี้ เรียกว่าการ "ฮุบเงินส่วนลด" ของลูกค้าไป  ซึ่งลูกค้าไม่รู้เลยว่าถูก "ฮุบเงินส่วนลด"  เพราะไม่มีสเตทเม้นท์ให้ดู

       ในตอนที่คำนวณราคาครั้งแรกนั้น ผู้ให้บริการเจ้านี้ คิดค่าใช้จ่ายถูกกว่าทีมงาน tuvagroup.com คิด  /  โดยผู้ให้บริการเจ้านี้คิดค่าใช้จ่ายเพียง 15,200 บาท เพราะเขาใช้เรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ ( ในขณะที่ทีมงาน Tuvagrouop.com ใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ ) "แต่ความจริง" ผู้ให้บริการเจ้านี้ ได้เงินเข้ากระเป๋าไป "เกือบ 4,000 บาทเพราะเขา "ฮุบเงินส่วนลด" ไปถึง 100 เหรียญ เข้ากระเป๋าไปแบบหวานหมู!


       คราวนี้ลองสมมติเหตุการณ์ใหม่ว่าคุณลูกค้าท่านนี้ ได้ใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com ตั้งแต่แรก ทั้งๆที่ทีมงานก็ใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญในการคำนวณ ซึ่งสูงกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นก็จริง แต่ข้อดีของการใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com ก็คือทีมงานมีการ "โชว์สเตทเม้นท์ให้ดู"

       เดี๋ยวเรามาดูกันว่า "ทำไม" การมีสเตทเม้นท์โชว์ให้ดูถึงได้เป็นจุดเด่นของทีมงาน tuvagroup.com



      ( ภาพบน ) สมมติเหตุการณ์เป็นอย่างนี้คือ ตอนแรก คุณลูกค้าต้องจ่ายเงินให้ทีมงาน 16,000 บาท ( เพราะการซื้อสินค้าชิ้นละ 100 เหรียญจำนวน 4 ชิ้น ก็คือต้องใช้เงิน 400 เหรียญ  /  ทีมงานใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ เมื่อคำนวณเป็นเงินไทยแล้วก็คือ 16,000 บาท ) ซึ่งดูเหมือนว่าคุณต้องจ่ายมากกว่าการจ่ายให้ผู้ให้บริการรายแรก ที่คุณลูกค้าท่านนี้จ่ายไปเพียง 15,200 บาท ( เพราะผู้ให้บริการเจ้านั้น ใช้เรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ ) 




      ( ภาพบน ) จากนั้น ทีมงาน tuvagroup.com ก็ไปซื้อสินค้าที่คุณลูกค้าท่านนี้ต้องการ และก็ได้ส่วนลดเหมือนกันคือ ซื้อ 3 ชิ้นแถม 1 ชิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าทีมงานจ่ายให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศไปเพียง 300 เหรียญ


      ( ภาพบน ) แต่ผลของการที่ทีมงาน tuvagroup.com จ่ายไปเพียง 300 เหรียญ ( แทนที่จะเป็น 400 เหรียญ ) นั้น มันได้ไปโชว์ค่าใช้จ่ายบนสเตทเม้นท์ทันทีว่าทีมงานจ่ายไป 11,182.05 บาท ตรงที่มี วงรีสีม่วง ล้อมรอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ 

       และด้วยการที่มันเป็นนโยบายของทางเวบ tuvagroup.com ว่า จะต้องโชว์สเตทเม้นท์ ( ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ให้คุณลูกค้าดู

       คุณลูกค้าจึงเห็นได้ "ด้วยตาตัวเอง" เลยว่า ทีมงานจ่ายไปเพียง 11,182.05 บาท ( หรือ 300 เหรียญ ) เท่านั้น

ทีมงานไม่สามารถ "ฮุบเงินส่วนลด" ของคุณได้ เพราะว่าสเตทเม้นท์มันโขว์หราอยู่อย่างชัดเจนว่า ทีมงานสจ่ายไปเพียง 300 เหรียญ ( 11,182.05 บาท )


ทีมงาน tuvagroup.com คิดค่าบริการ 100 บาท ดังนั้น ทีมงานต้องทอนเงินคุณ 16,000 ( ที่ลูกค้าให้ตอนแรก ) - 11,182.05 ( โชว์ในสเตทเม้นท์ ) - 100 ( ค่าบริการ ) = 4717.95 บาท  

 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก buelahman.wordpress.com


นั่นก็หมายความว่า ในการซื้อสินค้า 4 ชิ้นนี้ ผ่านทางทีมงาน tuvagroup.com  คุณลูกค้าจะมีรายจ่ายแค่ 11,182.05 บาท ( มาจาก 16,000 - 4717.95 - 100 ( ค่าบริการ ) )  แม้ว่าทีมงาน tuvagroup.com จะใช้เรทสูงกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นก็ตาม


ในขณะที่ผู้ให้บริการเจ้าอื่น แม้ว่าจะใช้เรทต่ำๆเป็น "ตัวล่อลูกค้า" เช่นใช้เรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ เพื่อให้ดูน่าสนใจว่าเรทของทีมงาน tuvagroup.com  แต่ว่าท้ายที่สุดแล้ว คุณลูกค้าท่านนี้ ก็ต้องมีรายจ่ายถึง 15,200 บาท  ซึ่งมากกว่าของทีมงาน tuvagroup.com ถึง 3917.95 บาท ( มาจาก 15,200 - 11,282.05 ) ทั้งๆที่ท้ายที่สุดแล้ว ลูกค้าก็ได้รับสินค้า 4 ชิ้นเท่ากัน


      จากที่ทีมงาน tuvagroup.com อธิบายมา คุณลูกค้าก็คงจะเห็นความสำคัญของ "การโชว์สเตทเม้นท์" ซึ่งเป็นนโยบายหลักของทีมงาน tuvagroup.com แล้วนะครับ

       เพราะถ้ามีการโชว์สเตทเม้นท์กันแบบที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้นี้แล้ว คุณลูกค้าก็จะได้เห็น "รายจ่ายจริงๆ" ซึ่งจะปรากฏอยู่บนสเตทเม้นท์อย่างชัดเจน

       ดังนั้น หากมีส่วนลด หรือโปรโมชั่นอะไรก็ตาม เมื่อทีมงาน tuvagroup.com จ่ายเงินไปโดยใช้ส่วนลดหรือโปรโมชั่นนั้นๆ รายจ่าย ( ที่ได้ลดราคาแล้ว ) ก็จะไปปรากฏบนสเตทเม้นท์ทันที และเงินส่วนที่ได้ส่วนลดนั้น ทีมงานก็จะทอนคืนกลับไปให้คุณลูกค้า

       แต่ถ้าคุณไปใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้าอื่น ที่แม้จะใช้เรทเงินต่างประเทศที่ต่ำกว่าที่ทีมงาน tuvagrouop.com ใช้ แต่ถ้าผู้ให้บริการเจ้านั้นไม่มีการโชว์สเตทเม้นท์ ( แบบที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้อยู่ ) ก็อาจเป็นเหตุให้คุณลูกค้าถูก ฮุบเงินส่วนลดไปถึง 100 เหรียญ เหมือนในตัวอย่างที่ทีมงานยกเอามาให้ดูข้างบนนี้ก็ได้นะครับผม  

ทิ้งท้าย - อยากให้คุณผู้อ่าน แวะอ่านเรื่อง "ความเอาใจใส่" ในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของทีมงาน tuvagroup.com ที่ลิงค์นี้หน่อยนะครับผม  http://www.tuvagroup.com/2fvhp-A-02-I-600708-2040.html 

- END - 

Sunday, September 6, 2020

หลอกว่าจะส่งสินค้าได้ภายใน 14 วัน แต่พอโอนเงิน กลับต้องรอถึง "9 เดือน"

 


หลอกว่าจะส่งสินค้าได้ภายใน 14 วัน  แต่พอโอนเงิน กลับต้องรอถึง "9 เดือน"


      สิ่งที่เหมือนกันของรูปแบบการขายสินค้าแบบ Preorder กับการขายสินค้าแบบ Backordered ก็คือ ณ.วันที่เราสั่งซื้อนั้น "ยังไม่มีตัวสินค้า" 

       วิธีการซื้อก็คือว่า ทางผู้ขายจะให้เราโอนเงินค่าซื้อสินค้าไปก่อนล่วงหน้า โดยเงินที่โอนนั้น จะเป็นการโอนทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนก่อนก็ได้ ขึ้นกับการตกลงกันระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ  /  จากนั้น เมื่อมีสินค้าแล้ว ทางผู้ขายถึงจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ

       หลักการคร่าวๆก็มีแค่นี้ คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่า แค่อธิบายมาเท่านี้ก็เข้าใจแล้ว ไม่เห็นจะต้องทำหน้าเว็บ ( ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ ) มาอธิบายให้ยุ่งยากเลย

       จุดประสงค์ในการทำหน้าเว็บนี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่ว่าผมจะยกตัวอย่างของจริงเคสหนึ่ง ที่เคยสั่งซื้อให้กับลูกค้าท่านหนึ่งในอดีต เอามาให้คุณลูกค้าดูเพื่อเป็นอุทธาหรณ์นั่นเองครับ  /  เป็นเคสที่มีความแปลก เพราะคนขายไม่ได้บอกล่วงหน้าว่าสินค้าที่จะซื้อนี้เป็นการขายสินค้าแบบ Backordered ( คือต้องรอสินค้าจากโรงงาน) คือเขาทำให้เราเข้าใจว่า เขามีสินค้าอยู่ใน Stock อยู่ก่อนแล้ว  /  เรามาดูกันครับ


* * * หมายเหตุ - ภาพสินค้า , ภาพอีเมล , ภาพการคุยโต้ตอบ และภาพทุกอย่างที่คุณผู้อ่านจะได้เห็นในหน้าเวบนี้ ล้วนแต่เป็นภาพที่สำเนามาจากเหตุการณ์จริง , นำมาจากเคสของจริงทั้งสิ้น ไม่มีการสมมติขึ้นมาแต่อย่างใดนะครับ


หลักฐานยืนยันการสั่งซื้อสินค้า

ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) สั่งซื้อของจากเวบ AFMO.com แล้วเขาก็ส่งใบเรียกเก็บเงิน (invoice) มาให้เรา

   * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - บอกว่า หมายเลขสั่งสินค้า คือ 39878


  * * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - คือหลักฐานว่า เราสั่งซื้อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2552  เวลา 20.40 นาฬิกา  โดยของที่สั่งซื้อจะมีอยู่ 4 รายการ



 * * * ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - บอกว่า ยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด 498.82 เหรียญ 


อีเมลคุยโต้ตอบกับผู้ขายสินค้า AFMO.com

ข้างล่างนี้ )



      ( ภาพบน ) ภาพอีเมลข้างบนนี้ ให้ข้อมูลดังนี้คือ

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) เขียนอีเมลมาทวงเงิน 


 * * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  - ให้ข้อมูลว่า  ผมได้ตอบเขาไปว่า ผมได้โอนเงินค่าสินค้าให้เขาตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 แล้ว  /  คือเราโอนค่าสินค้าให้ ในเวลาแค่ 1 วันหลังจากได้รับใบอินวอยซ์ 


* * * ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า  ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) เขาไปตรวจสอบแล้ว พบว่าเราโอนเงินให้เขาจริงๆ 


ทันทีที่รู้ว่าเราโอนเงินแล้ว

ทางผู้ขายก็เปลี่ยนสถานะสินค้าเป็น Backordered ทันที!


ข้างล่างนี้ )


      ( ภาพบน ) ภาพอีเมลข้างบนนี้ ให้ข้อมูลดังนี้คือ

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2552 เวลา 21.39 นาฬิกา ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) เขียนอีเมลมาแจ้งสถานะสินค้า 

       อีเมลฉบับนี้ ส่งมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2552 ซึ่งก็คือ "1 วัน" หลังจากที่เขียนอีเมลมา "ทวงเงินเรา" ( คนขายเขียนอีเมลมาทวงเงินเรา  เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 และเราได้แจ้งไปว่า เราโอนเงินให้เรียบร้อยแล้ว )


* * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า สินค้า "ทุกตัว" ติดสถานะ Backordered หมด

       เห็นได้ชัดว่า ก่อนหน้านี้ ทางผู้ขายไม่ยอมบอกว่าสินค้าจะต้องติดสถานะ Backordered เพราะกลัวว่าเราจะไม่โอนเงินไปให้ 


หมายเหตุ - คำว่า Backordered คือ ต้องรอสินค้าจากโรงงาน 


เวลาผ่านไป "9 เดือน" ถึงพึ่งจะส่งพัสดุสินค้าให้

ข้างล่างนี้ )


      ( ภาพบน ) ภาพอีเมลข้างบนนี้ ให้ข้อมูลดังนี้คือ 

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่าเมื่อ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553 เวลา 04.24 นาฬิกา ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com )  เขียนอีเมลมาหา


* * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า เราได้สั่งซื้อสินค้านี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 ( 9 เดือนที่แล้ว ) 


* * *ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) จะส่งพัสดุสินค้าให้ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553


เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ข้างล่างนี้ )

      เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นดังนี้นะครับ

       1.วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 - เวบ AFMO.com ส่งใบอินวอยซ์มาเรียกเก็บเงิน 498.82 เหรียญ ( ประมาณหนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท - ตอนนั้น เรทประมาณ 35 บาทต่อเหรียญ )


       2.วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 ( วันรุ่งขึ้น ) - ทีมงานชำระเงิน 498.82 เหรียญ ให้เรียบร้อยแล้ว


       3.วันที่ 28 พศจิกายน พ.ศ.2552 ถึง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 - เงียบ! ไม่มีเมลล์อะไรมาจากเว็บ AFMO.com 


       4.วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 - เว็บ AFMO.com นึกว่าเรายังไม่ได้จ่ายเงิน เลยอีเมลมาทวงเงิน   /  และในวันเดียวกันนั้น เราก็ตอบกลับไปว่า ได้โอนเงินให้แล้ว และบอกเลขอ้างอิงการโอนเงินให้เสร็จสรรพ  /  ทาง เว็บ AFMO.com ตรวจสอบแล้วพบว่ามีเงินเข้าจริง ก็เลยส่งอีเมลมาบอกเราว่าได้รับเงินแล้ว


       5.วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2552 ( วันรุ่งขึ้นหลังจากรู้ว่าเงินเข้าแล้ว ) - เวบ AFMO.com บอกว่าของทุกชิ้นต้องรอจากโรงงานหมด ไม่มีของใน Stock เลยแม้แต่รายการเดียว ( ทำไมไม่บอกระหว่าง 28 พศจิกายน พ.ศ.2552 ถึง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552?  คำตอบก็คือ - ก็เพราะกลัวว่าเราจะไม่โอนเงินให้ )


       6.ตั้งแต่  เดือนธันวาคม พ.ศ.2552 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2553 - เป็นเวลา 9 เดือน ที่ทีมงานอีเมลไปทวงถามคนขายตลอด แต่คนขาย เงียบ! ไม่ยอมตอบ


       7.วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553 ( คือเวลาผ่านไปแล้ว 9 เดือน ) - เวบ AFMO.com พึ่งตอบอีเมลกลับมาว่าจะส่งของให้ในวันนี้


       เห็นไหมครับ เงินของเราลอยอยู่ในกระเป๋ามัน ( เว็บ AFMO.com ) หนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท เป็นเวลา 9 เดือน มันก็คงเอาเงินนี้ไปหมุนบ้าง ,ลงทุนบ้าง ( น่าจะเป็นการลงทุนเกี่ยวกับการโฆษณาเว็บของมัน จะได้มีแมงเม่าแบบเราจากทั่วโลก หลงมาโอนเงินให้มันอีกเยอะๆ ) โดยที่เราทำอะไรไม่ได้เลย ทวงแล้วทวงอีก มันก็เฉย ไม่รู้จะไปแจ้งตำรวจที่ไหนมาจับกุมมันได้เลย ( แต่ถ้าเราสั่งซื้อของกับเวบอีเบย์  www.ebay.com  แล้วเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ เราสามารถฟ้องผู้ดูแลอีเบย์ ให้เรียกเงินคืนได้ตั้งแต่ 45 วันแรกแล้วครับ )

       หวังว่าประสบการณ์ของจริงที่นำมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้รับรู้ในครั้งนี้  คงจะเป็นอุทธาหรณ์ได้เป็นอย่างดีนะครับ ว่าโลกออนไลน์ทุกวันนี้ มันมีการทุจริตเกิดขึ้นไปทั่ว อย่างการซื้อสินค้า Preorder หรือ Backordered จากเวบ AFMO.com นี้ พอเราโอนเงินไปแล้ว มันก็หายไป 9 เดือน เลย ( ทั้งๆที่ตอนแรกบอกว่าจะส่งของภายใน 14 วัน )

       วิธีทางหลีกเลี่ยงคือ ถ้าจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่เป็น Preorder หรือ Backordered จริงๆ ก็ควรซื้อจากเวบที่ไว้ใจได้ เช่น อีเบย์ เพราะเขามีระบบตรวจสอบคนขายอยู่ตลอดเวลา และถ้ามีอะไรชอบมาพากล เรา ( ในฐานะลูกค้า ) ก็สามารถฟ้องร้องให้อีเบย์เรียกเงินคืนจากคนขายได้เลย

       แต่ถ้าหาซื้อสินค้าจากอีเบย์ไม่ได้จริงๆ และจะทดลองเสี่ยงวัดดวงซื้อสินค้า Preorder หรือ Backordered จากเว็บอื่นจริงๆ ( ที่ไม่ใช่อีเบย์ ) ทางทีมงาน tuvagroup.com ก็ ไม่ได้ห้าม นะครับ แต่ ถ้าจะ "ถาม" ทีมงาน tuvagroup.com ว่า เวบนั้น ไว้ใจได้ไหม เวบนี้ ไว้ใจได้ไหม? ทีมงานก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ

- END -

Monday, August 17, 2020

การเดินทางของพัสดุ ที่คาดเดาไม่ได้

 
การเดินทางของพัสดุ ที่คาดเดาไม่ได้


       "อย่าสัญญากับแฟน" ว่าจะได้รับของขวัญเป็นพัสดุจากต่างประเทศ ภายในวันเกิด  /  "อย่าสัญญากับพ่อแม่" ว่าจะของที่ซื้อมาจากต่างประเทศ จะได้รับภายในวันนั้น วันนี้ ( เช่น วันเทศกาล ,วันเกิด ฯลฯ )  /  "อย่าสัญญากับลูกค้า" ว่าจะได้รับสินค้าจากต่างประเทศ ภายในวันนั้น วันนี้ -  ตราบใดที่คุณยังไม่ได้รั้บพัสดุสินค้า ( จากต่างประเทศ ) นั้นอยู่ในมือ

       เหตุผลที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่า จากการซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศมา ขึ้นปีที่ 14 ( และซื้อเกือบทุกวัน ) นี้  ประสบการณ์บอกผมชัดเจนเลยว่า การส่งพัสดุสินค้าจากต่างประเทศ มันอยู่เกินความคาดเดา มันไม่เหมือนกับการซื้อสินค้าแบบออนไลน์ภายในประเทศไทยด้วยกันเอง ( การซื้อสินค้าออนไลน์ภายในประเทศไทยด้วยกันเอง จะมีความแม่นยำเรื่องวันเวลาการรับพัสดุมากกว่าเยอะเลยครับ - หมายถึง กำหนดเวลาเรื่องการได้รับพัสดุสินค้า )

       ถ้าได้รับสินค้าไม่ตรงกับวันที่กำหนดไว้  ลูกค้าก็มักจะโทษผู้ขาย ( หมายถึงผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศ ) ว่าไม่ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ ( เข่น ผู้ขายให้สัญญากับลูกค้าว่าจะได้รับของวันนั้น วันนี้ แต่ความจริงแล้ว การได้รับของช้ากว่าที่กำหนดนั้น "มันไม่ใช่ความผิดของผุ้ขาย"

       "ระบบขนส่ง" ต่างหาก ที่เป็นผู้ทำให้เกิดความผิดพลาด  /  คำว่า "ระบบขนส่ง" ในที่นี้ ผมเหมายถึง บริษัทรับส่งของ ที่จะรับสินค้าจากมือของผู้ขาย เอาไปส่งให้ถึงมือของลูกค้าอีกทีหนึ่ง  /  "ระบบขนส่ง" ที่ผมหมายถึงนี้ ก็ได้แก่ บริษัท DHL , FedEx , UPS ฯลฯ 

       สมมติว่า คุณในฐานะลูกค้า ซื้่อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศจาก Mr.A  /  แล้วปรากฏว่าสินค้าส่งถึงมือคุณที่ประเทศไทย "ไม่ตรง"ตามกำหนดเวลาที่นัดไว้  /  คุณก็บอกว่า Mr.A.ใช้ไม่ได้เลย ไม่ทำตามที่ตกลงไว้  แล้วคุณก็เปลี่ยนไปซื้อสินค้ากับ Mr.B 

       ซึ่งครั้งแรก Mr.B ก็ส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด แต่พอครั้งที่ 2 Mr.B ก็ส่งสินค้าไม่ทันตามกำหนดอีก  คุณก็เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจาก Mr.C อีก


       การทำเช่นนี้ คือ การเปลี่ยนคนขาย หรือการเปลี่ยนเจ้าที่ซื้อนั้น ไม่ได้ช่วยอะไรหรอกครับ เพราะว่า คนขายทุกคน ไม่ว่าจะเป็น Mr.A ,Mr.B และ Mr.C เขาก็ไม่ได้เป็นผู้ส่งสินค้าให้คุณด้วยตัวเอง  ทั้ง Mr.A ,Mr.B และ Mr.C ต่างก็ใช้บริการของ "ระบบขนส่ง" กันทั้งนั้น ( "ระบบขนส่ง" ก็ได้แก่ บริษัท DHL ,FedEx ,UPS ฯลฯ )

       แล้วคราวนี้ พอ "ระบบขนส่ง" มันมีความผิดพลาด ( ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว - และผมจะเอาเคสมาให้ดูด้วยในวันนี้ ) คุณจะไปโทษคนขาย ( คนขายคือ Mr.,Mr.B และ Mr.C ) แล้วเปลี่ยนไปซื้อสินค้ากับ Mr.,Mr.E ,Mr.F ก็ไม่ช่วยอะไรหรอกครับ เพราะว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมัน "เกินความควบคุม ของคนขาย" ไปแล้ว จริงๆแล้ว ความผิดพลาดทั้งหมด มันเกิดจาก "ระบบขนส่ง"

       สิ่งที่คุณจะต้องทำ สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศก็คือ ต้อง "ทำใจ" เกี่ยวกับเรื่องการรับพัสดุสินค้า ที่เป็นไปได้ว่า อาจจะได้รับไม่ตรงตามกำหนดเวลา 

       ถ้าคุณ "ทำใจ" ไม่ได้ ( หมายถึง คุณทำใจเกี่ยวกับเรื่องการรับพัสดสินค้าที่ไม่ตรงตามกำหนดเวลาไม่ได้ ) คุณก็ต้องซื้อสินค้าจากพ่อค้าคนกลางที่อยู่ในประเทศไทยเอา  /  การซื้อสินค้าจากพ่อค้าคนกลาง มีข้อดี คือ คุณจะได้รับของตรงเวลา แต่คุณก็ต้องโดนบวกค่าคนกลางประมาณ 20% ของราคาสินค้า

       ( พ่อค้าคนกลาง ก็คือ บุคคลธรรมดา ที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ แล้ว พ่อค้าคนกลาง ก็ "ทำใจ" เกี่ยวกับการได้รับสินค้าไม่ตรงเวลาเหมือนๆกับคุณนั่นแหละ  /  เมื่อได้รับสินค้าแล้ว ก็เอามาวางขายอีกทีหนึ่ง  โดยบวกค่า "ทำใจ" ที่ว่านั้น เอาไว้ 20% นั่นเอง )

       ถ้าคุณไม่อยากเสียเงิน 20% ให้ พ่อค้าคนกลาง คุณก็ต้องสั่งซื้อเองโดยตรงจากต่างประเทศ  /  และเมื่อคุณสั่งซื้อสินค้าด้วยตัวเองโดยตรงจากต่างประเทศ คุณก็ต้อง "ทำใจ" เรื่องการรับสินค้าไม่ตรงตามกำหนดเวลา นั่นเองครับ - มองเห็นภาพนะครับ


       ในครั้งนี้ ผมจะเอาตัวอย่างของจริงของการส่งพัสดุสินค้าจากต่างประเทศมาให้ดูเคสหนึ่งนะครับ  เพื่อจะได้สนับสนุนคำพูดของผมที่บอกว่าการส่งพัสดุสินค้าจากต่างประเทศมันอยู่เหนือความคาดเดา คือเราจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น? และจะได้รับสินค้าเมื่อใด? 


* * * หมายเหตุ - ภาพสินค้า , ข้อความจากอีเมล , ภาพการเช็คสถานะสินค้า ( Tracking Number ) และภาพทุกอย่างที่คุณผู้อ่านจะได้เห็นในหน้าเวบนี้ ล้วนแต่เป็นภาพที่สำเนามาจากเหตุการณ์จริง , นำมาจากเคสของจริงทั้งสิ้น ไม่มีการสมมติขึ้นมาแต่อย่างใดนะครับ

Puma One 17.1 FG - Atomic Blue/Puma White/Safety Yellow

       ( ภาพบน ) สินค้าที่ซื้อในครั้งนี้ เป็นรองเท้ารุ่น Puma One 17.1 FG - Atomic Blue/Puma White/Safety Yellow จำนวน 1 คู่แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ ( ภาพสินค้าข้างบนนี้ คือ
"ของจริง" ที่ทำการสั่งซื้อในเคสนี้เลยนะครับ )

       ที่เอาภาพสินค้ามาให้ดูก่อน ก็เพื่อให้คุณผู้อ่านเห็นว่า มันไม่ใช่สินค้าที่มีน้ำหนักมาก หรือมีความเสี่ยงต่อการนำเข้าอะไรเลย ก็เป็นสินค้าทั่วไปที่เราสามารถสั่งซื้อได้ตามปกติ 

ภาพบน ) "ค่าส่ง" สินค้ามาประเทศไทย


        ( ภาพบน ) "ค่าส่ง" สินค้ามาประเทศไทย คือ 37 ปอนด์ หรือ 1,510 บาท ปรากฏตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้

       ค่าส่งขนาดนี้ ( คือ 1,510 บาท ) ก็นับว่า "แพงเอาเรื่อง" เหมือนกันนะครับ สำหรับรองเท้า ซึ่งเป็นสินค้าที่ขนาดไม่ใหญ่มาก และมีน้ำหนักเบา แบบนี้  /  ถ้าเป็นราคาค่าส่งตามปกติ หรือปานกลาง ก็จะอยู่ในราวๆ 600 บาท  ดังนั้น จึงถือได้ว่าค่าส่งที่คนขายเขาคิดในเคสนี้ "แพงเอาเรื่อง"

       ที่เอาค่าส่งมาให้ดูนี้ ก็เพื่อให้คุณผู้อ่านเห็นว่า ทีมงานเลือกวิธีส่งที่ค่างข้างแพงเลยนะครับ ไม่ใช่เลือกส่งแบบถูกๆ หรือส่งฟรี แต่อย่างใด


ลัดขั้นตอนมาถึง ตอนที่สั่งซื้อเสร็จแล้ว

ข้างล่างนี้ )

 ( ภาพบน ) ประวัติการสั่งซื้อ - ที่ปรากฏหลังสั่งซื้อเสร็จแล้ว 

      ( ภาพบน ) หลังจากที่ผมสั่งซื้อรองเท้านี้เสร็จแล้ว ทางเวบ prodirectrugby.com เขาก็ลงบันทึกรายละเอียดการสั่งซื้อ ลงไปในประวัติการสั่งซื้อของผม - เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       ในการซื้อสินค้ารองเท้าในครั้งนี้ ผมได้หมายเลขธุรกรรม ( Order Number ) คือ 37511010 ปรากฏตรงที่ ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้นะครับ

       ที่ผมเอาหมายเลขธุรกรรม ( Order Number ) มาให้ดู ก็เพื่อตอนที่ผมได้รับเลข Tracking Number จากเวบแล้ว ผมจะได้ยืนยันให้คุณผู้อ่านให้ได้เห็นว่ามันเป็นสินค้าตัวเดียวกัน กับที่เขาจะส่งสินค้าให้ ( คือ จะมีเลขธุรกรรมตรงกัน ระหว่างประวัติการสั่งซื้อสินค้า กับเลขธุรกรรม ที่ไปอยู่กับคำยืนยันเรื่้องการส่งสินค้า - ไม่ต้อง งง นะครับ อ่านไปเรื่อยๆก่อน ) 
เป็นการยืนยันว่าผมไม่ได้มั่ว คือผมไม่ได้ Make เคสนี้มาให้ดูแบบมั่วๆ  ทุกอย่างเป็นของจริงหมดนะครับ


ภาพบน ) อีเมลจาก prodirectrugby.com แจ้งว่าส่งพัสดุสินค้าให้แล้ว

        ( ภาพบน ) ต่อมา ทางเวบ prodirectrugby.com ก็มีอีเมลมาแจ้งกับเราว่า ได้ส่งพัสดุสินค้าให้แล้ว  และถ้าเราต้องการจะดูสถานะสินค้าก็สามารถคลิ๊กดูได้เลย

       ดังนั้น เราก็คลิ๊กดูสถานะสินค้าตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 


ภาพบน ) ข้อมูลของเวบ prodirectrugby.com เกี่ยวกับเลข Tracking Number


      ( ภาพบน ) เมื่อคลิ๊กไปที่ลิงก์ในภาพก่อนหน้านี้ ก็จะมีหน้าเว็บปรากฏขึ้นมาใหม่ เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       ซึ่งจากข้อมูลที่เห็นในหน้าเว็บ ตรงที่ ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ก็จะเห็นว่า เขาให้ข้อมูลว่าเลข Order คือ 37511010 ซึ่งก็ตรงกับหมายเลขธุรกรรม ( Order Number ) ที่เราได้รับแจ้งก่อนหน้านี้ 

       ผมเอาเรื่องเลข  Order คือ 37511010 มาให้คุณผู้อ่านดู ก็เพื่อจะยืนยันว่าข้อมูลข้างบนนี้ เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นการสั่งซื้ออันเดียวกันกับรายการรองเท้าที่บอกไว้ตอนต้นของหน้าเวบน่ะครับ ( หมายถึงว่า ผมไม่ได้มั่วมา ) 




       ( ภาพบน ) จากนั้น ก็ก๊อปปี้เลข Tracking Number ตรงบริเวณที่มี ปีกกาสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้  ซึ่งก็คือเลข 155059216385887


ภาพบน ) https://www.dpd.co.uk/content/how-can-we-help/index.jsp  


       ( ภาพบน ) หลังจากก๊อปปี้เลข Tracking Number ในภาพก่อนหน้านี้มาแล้ว ตอนนี้ เราก็จะหาเว็บที่จะเอาเลข Tracking Number ที่ได้มา - ไปใช้

       เวบที่จะเอาเลข Tracking Number ก็คือเว็บ https://www.dpd.co.uk/content/how-can-we-help/index.jsp  แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ




      ( ภาพบน ) ให้ดำเนินการดังนี้

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - เราก็ Paste หรือทำการกรอกเลข Tracking Number ที่เราก๊อปปี้เอาไว้ก่อนหน้านี้ ( คือเลข 155059216385887 )  ลงไป


* * * ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน-ฟ้า ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - คือการกรอกเลขรหัสไปรษณีย์ของผู้รับในไทย ( คือเลข 73110 ของจังหวัดนครปฐม ) ลงไป


* * * 
ตรงที่ ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - คือการคลิ๊กไปที่ปุ่ม Track


ภาพบน ) ผลการแสดงสถานะสินค้า


       ( ภาพบน ) ผลของการคลิ๊กไปที่ปุ่ม Track ในภาพก่อนนี้นั้น ก็เกิดหน้าเว็บใหม่ขึ้นมา เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ซึ่งเป็นผลของการแสดงสถานะพัสดุสินค้า 


ขอแทรกนิดนึงครับ   

       เว็บไซต์ที่ใช้เช็คเลข Tracking Number ในเคสนี้ มี "สองเว็บ" นะครับ ซึ่ง "ให้ผลเหมือนกัน" แต่อาจจะมีการนำเสนอ ( หมายถึงรูปแบบของหน้าเว็บ ) ที่ไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง  และผมก็นำมานำเสนอให้ดูในเคสนี้เพียงเว็บไซต์เดียว เพื่อไม่ให้มันยืดยาวเกินไป

       สำหรับสองเว็บไซต์ ที่ผมพูดถึงนั้น ( หมายถึง สองเว็บไซต์ที่ผมนำเลข Tracking Number ไปเช็ค ) ก็คือ ... ( ข้างล่างนี้ )

Tracking ของ dpd.co.uk

ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) Tracking ของ dpd.co.uk 

       ( ภาพบน ) ใส่เลข Tracking  155059216385887 และเลขรหัสไปรษณีย์ 73110 ที่ลิงก์  https://www.dpd.co.uk/content/how-can-we-help/index.jsp 


Tracking ของ parcelmonitor.com 

ข้างล่างนี้ )


ภาพบน ) Tracking ของ parcelmonitor.com

       ( ภาพบน ) ใส่เลข Tracking 15505921638588  ที่ลิงก์ https://www.parcelmonitor.com/track-it-online/ 


ภาพบน ) ให้ดูเฉพาะตรงส่วนที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้


ภาพบน ) ภาพขยายของส่วนที่อยู่ใน กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ในภาพก่อนหน้านี้


       ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือส่วนของเลข Tracking Number ที่แสดงสถานะสินค้า ( สินค้าที่ว่านี้ ก็คือรองเท้า 1 คู่ ที่เราสั่งซื้อไป ก่อนหน้านี้ ) 

       เอาล่ะครับ ตอนนี้ เราก็จะเข้าสู่ "ประเด็นหลัก" ที่ผมพยายามจะถ่ายทอดให้คุณผู้อ่านดูแล้วนะครับ 
ขอให้ตั้งใจดูในเนื้อหาต่อไปที่อยู่ข้างล่างนี้ให้ดีนะครับ


* * * ภาพข้างบนนี้ มีขนาดใหญ่หน่อย เพราะผมต้องการให้คุณผู้อ่านได้เห็นผลการเช็คสถานะเลข Tracking Number ตัวจริง แบบ "สมบูรณ์ทั้งหมด" ก่อน  /  แล้วเดี๋ยวในขั้นตอนถัดไป ( ข้างล่างนี้ ) ผมจะจำแนกเป็นวันๆให้ดูเลยนะครับ  

วิเคราะห์ดูสถานะเลข Tracking Number แบบละเอียด

ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) ย้อนไปดูประวัติการสั่งซื้อ ( MY ORDERS )


       ( ภาพบน ) ตอนที่เราสั่งซื้อนั้น เราชำระเงินไปให้คนขาย และคนขายก็บันทึกไว้แล้วว่า วันที่เราชำระเงินคือ วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 07.12.08 นาฬิกา  /  ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้

       แล้วเดี๋ยวเราจะเอาข้อมูลเรื่องวันชำระเงิน ( ข้างบนนี้ ) ไปเทียบกับสถานะเลข Trackiing Number นะครับ ( ข้างล่างนี้ ... )

 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 22.45 นาฬิกา

       ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้ ผมไปเอามาจากภาพก่อนหน้านี้ 2 ภาพนะครับ  /  หมายถึงว่า ผมไปเอาภาพข้างบนนี้ แยกมาจากผลการเช็คสถานะภาพใหญ่ ( ที่อยู่ที่ 2 ภาพก่อนหน้านี้ )

       จะเห็นได้ว่า คนขายเจ้านี้ เขาก็ "กระตือรือร้น" ดีนะครับ คือ เราโอนเงินไปให้เขาเมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 07.12.08 นาฬิกา แล้วสถานะ Tracking ก็บอกว่า วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 22.45 นาฬิกา  ( ตามภาพข้างบนนี้ ) ของก็ถึงสนามบินแล้ว คือเข้าไปอยู่ในความรับผิดชอบของ "บริษัทขนส่ง" แล้วตั้งแต่เวลา 22.45 นาฬิกา ของวันเดียวกัน 

       ก็หมายถึงว่า ระยะเวลาจากการที่เราโอนเงินไปให้คนขายคนนี้ ไปถึงเวลาที่สินค้าไปถึงสนามบิน ก็แค่ 15 ชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้น  
( แสดงว่าคนขายคนนี้ กระตือรือร้นดีมาก )


 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน เวลา 03.53 นาฬิกา

       ( ภาพบน ) พอวันรุ่งขึ้น ( 9 มิถุนายน ) พัสดุสินค้าก็เดินทางออกจากประเทศอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ( ลืมบอกไปว่า ผู้ขายคนนี้ อยู่ที่ประเทศอังกฤษนะครับ )

       ที่เรารู้ ก็เพราะว่า สถานะพัสดุสินค้าที่เราเห็นในภาพข้างบนนี้ บอกไว้ว่าเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน เวลา 03.53 นาฬิกา พัสดสินค้าได้ออกจากประเทศอังกฤษเรียบร้อยแล้ว และสถานะสินค้า ( ข้างบนนี้ ) ยังบอกไว้อีกว่าพัสดุสินค้านี้ มุ่งตรงมายังประเทศไทยเลย 


15 วัน พัสดุสินค้าก็มาถึงประเทศไทย

ข้างล่างนี้ )

 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน เวลา 20.06 นาฬิกา 

        ( ภาพบน ) เลขสถานะข้างบนนี้ บอกว่าพัสดุสินค้าเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน เวลา 20.06 นาฬิกา

       ก็คือ ใช้เวลาเดินทางจากประเทศอังกฤษ ( ออกจากอังกฤษ วันที่ 9 มิถุนายน เวลา 03.55 นาฬิกา ) มาถึงประเทศไทย ใช้เวลาทั้งหมด 15 วัน

       และจากการแจ้งสถานะข้างบนนี้ ก็บอกว่า พัสดุสินค้าของเรานี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทย ในการตรวจสอบและคำนวณภาษี ( เขาเขียนไว้ในภาพข้างบนนี้ว่า being processed through customs clearance pending the payment of duties and taxes applicable on these goods )


 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 08.55 นาฬิกา 

       ( ภาพบน ) ใน วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 08.55 นาฬิกา ( คือวันรุ่งขึ้น ) พัสดุสินค้าก็ "ยังอยู่ที่ด่านศุลกากร" เหมือนเดิม 


 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 09.05 นาฬิกา

     ( ภาพบน ) ใน เวลา 09.05 นาฬิกา ของวันเดียวกัน  พัสดุสินค้าก็ "ยังอยู่ที่ด่านศุลกากร" เหมือนเดิม 


เวลา 20.20 นาฬิกา ของวันเดียวกัน

พัสดุสินค้าถูกส่งกลับประเทศอังกฤษ

ทั้งๆที่เป็นสินค้าธรรมดา ไม่ใช่สินค้าต้องห้าม หรือผิดระเบียบศุลกากร 

ข้างล่างนี้ )


ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 14.57 นาฬิกา

( พัสดุถูกนำขึ้นเครื่องบิน บินกลับประเทศอังกฤษ 
)


พัสดุสินค้าไปโผล่ที่ "ประเทศ อาหรับเอมิเรส"

และผ่านด่านศุลการเรียบร้อย และไปอยู่ที่สถานที่เตรียมจัดส่ง 


ข้างล่างนี้ )

 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน เวลา 01.43 นาฬิกา 

       ( ภาพบน ) สถานะของพัสดุสินค้าข้างบนนี้บอกว่า วันที่ 28 มิถุนายน เวลา 01.43 นาฬิกา หรือ 3 วัน หลังบินออกจากประเทศไทย ( บินออกจากประะทศไทย เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 14.57 นาฬิกา ) สินค้าไปอยู่ที่ศูนย์แยกสินค้า เพื่อเตรียมจัดส่ง ที่ "ประเทศ อาหรับเอมิเรส"

       ซี่งการที่พัสดุสินค้าไปอยู่ที่ศุนย์แยกสินค้า เพื่อเตรียมจัดส่ง ก็แสดงว่าผ่านด่านศุลกากรของอาหรับเอมิเรส เรียบร้อยแล้ว ถึงได้เตรียมจัดส่งได้ 

       อะไรกันนี่! แค่สินค้ามาอยู่ที่ประเทศไทย 2 วัน แล้วถูกส่งกลับประเทศอังกฤษ ก็ งง มากแล้ว แต่นี่ สินค้าไปโผล่ที่ "ประเทศ อาหรับเอมิเรส"  เอาเข้าไป!



หลังจากนั้น "4 วัน" พัสดุสินค้าไปโผล่ที่ "ประเทศ สิงคโปร์" ต่อ 

โดยผ่านด่านศุลกากร และผ่านศุนย์แยกสินค้า เรียบร้อย

ไปอยู่ในขั้นตอนส่งไปที่บ้านลูกค้าแล้ว


ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 1 กรกฏาคม เวลา 13.21 นาฬิกา


       ( ภาพบน ) สถานะของพัสดุสินค้าข้างบนนี้บอกว่า วันที่ 1 กรกฏาคม เวลา 13.21 นาฬิกา หรือ 4 วัน หลังจากพัสดุสินค้าไปปรากฏอยู่ที่ขั้นตอนการนำส่งพัสดุสินค้าให้ลูกค้า ที่ "ประเทศ อาหรับเอมิเรส" พัสดุสินค้าก็ไปโผล่ที่ "ประเทศ สิงคโปร์"  ตามที่ปรากฏหลักฐานอยุ่ในสถานะพัสดุสินค้า ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 

       ในภาพข้างบนนี้ การที่สถานะพัสดุสินค้าบอกว่า อยู่ในขั้นตอนการนำส่งให้ลูกค้า ก็แสดงว่า ได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจากศุลกากรประเทศสิงคโปร์ และผ่านขั้นตอนการนำสินค้าไปที่ศุนย์แยกสินค้า ( ที่ประเทศสิงคโปร์ ) เรียบร้อยแล้ว 

       งง มาก ที่สินค้ามาอยู่ที่ประเทศไทย 2 วัน แล้วถูกส่งกลับประเทศอังกฤษ แล้วก็ไปโผล่ที่ "ประเทศ อาหรับเอมิเรส" แล้วก็มาโผลที่ "ประเทศ สิงคโปร์" อีก เอาเข้าไป!


"7 วัน" หลังจากโผล่ที่สิงคโปร์

สินค้าก้กลับมาที่ประเทศไทย


ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 8 กรกฏาคม เวลา 08.38 นาฬิกา


       ( ภาพบน ) คาดว่า ( เดานะครับ ) ว่า หลังจากพนักงานส่งของที่ประเทศสิงคโปร์ "งง" กับพัสดุสินค้าชิ้นนี้ และหาวีธีส่งให้ลูกค้าในประเทศสิงคโปร์อยู่หลายวัน ก็หาคนรับไม่ได้  ก็เลยเอาพัสดุสินค้ามาส่งคืนที่บริษัทขนส่งนี้

       แล้วบริษั่ทขนส่งนี้ ก็เห็นว่า "อ้าว.. พัสดุสินค้านี้ มันต้องส่งประเทศไทยนี่หว่า" ว่าแล้ว บริษัทขนส่ง ก็ส่งพัสดุสินค้านี้กลับมาที่ประเทศไทย

       สถานะพัสดุสินค้า จึงเป็นเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ คือ หลังจากไปอยู่ที่ประเทศสิงโปร์ 7 วัน คือพัสดุสินค้าไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 1 กรกฏาคม เวลา 13.21 นาฬิกา ) สินค้าก็กลับมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง

       ความประหลาดก็คือว่า ถ้าพัสดุสินค้าออกมาจากประเทศอังกฤษ แล้วไปหลงอยู่ที่ "ประเทศ อาหรับเอมีเรส" แล้วก็ส่งต่อ ไปหลงที่ "ประเทศ สิงคโปร์" อันนี้ยังพอเข้าใจได้ ว่ามันอาจเกิดความผิดพลาดได้ 

       แต่ในเคสนี้ มาถึงประเทศไทยแล้ว และมาอยู่ที่ด่านศุลกากรไทย ตั้ง "2 วัน" คืออยู่ด่านศุลกากรของไทย ในวันที่ 24 และ 25 กรกฏาคม

       แล้วมันจะออกไปจากด่านศุลกากรไทยอีกทีได้ยังไง? แล้วก็ไปหลงที่ "ประเทศ อาหรับเอมีเรส" แล้วก็ส่งต่อ ไปหลงที่ "ประเทศ สิงคโปร์" ในภายหลัง

       เป็นเรื่องที่อธิบายไม่ได้จริงๆ !


       เคสนี้ ถ้าเราไป "ต่อว่าคนขาย" ว่า ทำให้เราได้รับของช้า มันก็ไม่ถูกต้อง ( คือได้รับของช้าน่ะถูกต้อง แต่จะไปว่าคนขายน่ะ มันไม่ถูกต้อง ) เพราะ ...


 ( ภาพบน ) ประวัติการสั่งซื้อ ( MY ORDERS ) 

       ( ภาพบน ) เมื่อดูจากประวัติการสั่งซื้อ ก็จะเห็นได้ว่าเราโอนเงินให้คนขายคนนี้ไปเมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 07.12.08 นาฬิกา ...


 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 22.45 นาฬิกา

       ( ภาพบน ) จากการดูเปรียบเทียบกับสถานะสินค้าในภาพข้างบนนี้แล้ว ก็จะเห็นว่า "ในวันเดียวกัน" กับที่เราโอนเงินให้คนขาย  คนขายก็เอาของไปส่งที่สนามบิน และบริษัทขนส่งที่สนามบิน ก็เข้ามารับช่วงต่อสินค้านี้เรียบร้อยแล้ว

       ก็จะเห็นได้ว่าคนขายคนนี้ "กระตือรือร้น" ดีแล้ว คือโอนวันนี้ ก็เอาของไปส่งที่สนามบินวันนี้เลย โดยใช้เวลาแค่ 15 ชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้น ขั้นตอนนี้ก็เสร็จสิ้น 

       ดังนั้น เราจะไปต่อว่าคนขายคนนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะเขาก็ได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างดีที่สุดแล้ว คือส่งของไปสนามบินได้รวดเร็วดีแล้ว 
คือใช้เวลาแค่ 15 ชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้น


ได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้ว!

ข้างล่างนี้ )

 ( ภาพบน ) สถานะพัสดุสินค้าเมื่อ วันที่ 9 กรกฏาคม เวลา 15.25 นาฬิกา

( ได้รับพัสดุสินค้าแล้วนะครับ )


 ( ภาพบน ) สภาพสินค้า มีสติกเกอร์ - บาร์โค้ด แปะมากมาย เพราะไปมาหลายที่

       ( ภาพบน ) ในที่สุด เราก็ได้รับพัสดุสินค้าแล้ว "ทั้งๆที่" เราควรจะได้รับไม่เกินวันที่ 27 - 28 มิถุนายน เพราะว่าพัสดุสินค้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน แล้ว ( วันที่ 24 มิถุนายน คือวันแรกที่สินค้ามาถึงประเทศไทย - ตามที่ปรากฏในข้อมูลการแสดงสถานะพัสดุสินค้า )

       มันก็น่าแปลกที่สินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วแท้ๆตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน และเข้าไปอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยแล้ว แต่จู่ๆ สินค้าก็เดินทางออกไปอีก ไปโผล่ที่ "ประเทศอาหรับ เอมิเรส" แล้วก็ไปโผล่ที่ "ประเทศ สิงคโปร์"  แล้วถึงกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง

       ดังจะเห็นได้จากในภาพของพัสดุสินค้าข้างบนนี้ ( ภาพข้างบนนี้ เป็นสินค้าตัวจริงเลยนะครับ ไม่ใช่สมมติขึ้นมา ) ที่มีสติกเกอร์ที่มี "บาร์โค้ด" หลายอัน แปะเต็มไปหมด  /  การมี สติกเกอร์ที่มี "บาร์โค้ด" หลายอัน แสดงให้เห็นถึงการเดินทางไปหลายประเทศนั่นเองครัน ทั้งๆที่จริงๆแล้ว มันควรจะมีแค่สติกเกอร์ "บาร์โค้ด" ของ ประเทศอังกฤษ แล้วก็ประเทศไทย เท่านั้น


สรุป ...

ข้างล่างนี้ )

      จากประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศมา ขึ้นปีที่ 14 แล้วนั้น บอกได้เลยว่า ตัวแปรเรื่อง "บริษัทขนส่ง" คือสิ่งที่ทำให้เราปวดหัวมาโดยตลอด 

       เพราะบางทีก็ช้ามาก คือเดินทางจากประเทศอเมริกา  มาถึงประเทศไทย ใช้เวลาถึง 40 วัน โดยที่ "ไม่ได้แวะ" ไปประเทศอื่นเลย ตามที่ได้ลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานในเคสนี้  http://www.tuvagroup.com/3fvhp-A-04-B-611111-2338.html 

       สำหรับเคสนี้ ( ที่คุณผู้อ่าน ได้อ่านมาในหน้าเว็บนี้ ) ก็เป็นความแปลกประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีสถานะของ Tracking Number "ยืนยัน" เป็นหลักฐานให้เห็นด้วยตาอยู่แล้วว่า มันเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้วแท้ๆ ตั้ง 2 วัน และเข้าไปอยู่ในความดูแลของศุลกากรไทยแล้ว  แต่จู่ๆ พัสดุสินค้านี้ ก็ออกจากประเทศไทยไปอีก แล้วไปโผล่ที่ "ประเทศอาหรับ เอมิเรส" เป็นเวลา 2 วัน แล้วก็ไปโผล่ที่ "ประเทศ สิงคโปร์" เป็นเวลา 7 วัน แล้วถึงกลับมาที่ประเทศไทย เอาเข้าไป!

       ไม่มีเหตุผลอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ แล้วก็ไม่มีวิธีแก้ไขด้วย คือ เราอาจจะคิดว่า ถ้าจ่าย "ค่าส่งแพงๆ" แล้วจะปลอดภัย ก็ไม่ใช่แบบที่คิดนะครับ เพราะคุณก็ดูในเคสนี้ก็ได้ครับ ค่าส่งตั้ง 1,510 บาท สำหรับรองเท้าแค่ 1 คู่ ที่มีน้ำหนักเบา ก็นับว่าแพงเอาเรื่องอยู่ ( ตามปกติ ถ้าเป็นการส่งแบบทั่วไปสำหรับรองเท้า 1 คู่ ก็จะประมาณ 500 - 600 บาท )  แต่ก็ยังเกิดเหตุการณ์ในเคสนี้ขึ้นจนได้  /  คือ หมายความว่า ถึงคุณจะเลือกการส่งแบบแพง ก็ช่วยอะไรไม่ได้หรอกครับ

       ด้วยเหตุนี้ ผมถึงเน้นย้ำมาตลอดหลายปีนี้ว่า ถ้าคิดว่าจะให้ของขวัญแก่ใครสักคน โดยของขวัญนั้น เราจะต้องซื้อจากต่างประเทศล่่ะก็  ขอให้พัสดุสินค้านั้น ( ที่จะให้เป็นของขวัญ ) มาถึงมือคุณก่อน คือคุณต้องได้รับพัสดุสินค้านั้นถึงมือก่อน แล้วถึงค่อยบอก หรือรับปากกับคนที่จะรับของขวัญว่าเขาจะได้รับของขวัญวันนั้นวันนี้

       "อย่า" ไปบอกคนที่จะรับของขวัญว่า จะได้รับของขวัญวันนั้นวันนี้ โดยที่คุณยังไม่มีของอยู่ในมือเป็นเด็ดขาดนะครับ เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์เหมือนในเคสที่ผมเอามาให้ดูนี้ มันจะเสียความรู้สึกทั้งฝ่ายผู้ที่จะให้ ( คือคุณ ) และฝ่ายที่จะรับของขวัญนั้น

       และก็คล้ายๆกัน คือในกรณีที่คุณทำธุรกิจซื้อสินค้าจากต่างประเทศมาให้ลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย คุณก็ต้อง "ไม่" ไปรับปากลูกค้าว่าจะได้รับสินค้าวันนั้น วันนี้ เพราะลูกค้าของคุณ เขาก็อาจจะไปบอกกับลูกค้าของเขาอีกทีหนึ่งว่าจะได้รับของวันนั้นวันนี้เหมือนกัน

       แล้วพอเกิดเหตุการณ์เหมือนในเคสนี้ มันก็จะเสียหายต่อธุรกิจกันเป็นทอดๆเลยนะครับ  /  ทางที่ดี ขอให้บอกลูกค้าของคุณแบบเป็นกลางๆว่า "อาจ" จะได้รับพัสดุสินค้าในวันนั้น วันนี้ และบอกด้วยว่าอาจมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นได้ ขอให้เผื่อใจเรื่องการรับพัสดุสินค้าช้าเอาไว้ด้วย - ต้องบอกลูกค้าของคุณแบบนี้นะครับ อย่าไปรับปากแบบเป็นมั่น เป็นเหมาะ เพราะถ้าผิดพลาดมา ( เหมือนในเคสนี้ ) มันจะเสียหายต่อธุรกิจของคุณครับ


- END -