script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: เวบ Global Rakuten ไม่ให้แก้ราคาหน้ากล่อง

Wednesday, March 11, 2020

เวบ Global Rakuten ไม่ให้แก้ราคาหน้ากล่อง


เวบ Global Rakuten ไม่ให้แก้ราคาหน้ากล่อง

          คนทั่วไปมักจะคิดว่า เมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศแล้ว เราก็สามารถบอกคนขายได้ว่า ให้ช่วยแก้ราคาหน้ากล่องให้ต่ำๆหน่อย จะได้เสียภาษีเข้าประเทศไทยถูกๆ

       คือคนทั่วไปจะคิดว่า แค่ให้คนขายเขียนราคาต่ำๆมา ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องหนักหนาอะไร  คนขายน่าจะทำได้ง่ายๆอยู่แล้ว

       ความจริงแล้ว ความคิดแบบนี้ ( ที่ให้คนขายแก้ราคาหน้ากล่องให้ถูกลง ) ก็สามารถทำได้กับเวบทั่วๆไป ที่ไม่ได้โด่งดังอะไรนักนะครับ

       แต่กับพวกเวบใหญ่ๆ ดังๆ เช่น เวบ อีเบย์ หรือ เวบ Global Rakuten ฯลฯ นั้น เขาถือเป็นว่าการขอให้แก้ราคาหน้ากล่อง ให้ต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายเลยทีเดียว ไม่สามารถทำได้เลยนะครับ

       ในเคสตัวอย่างที่จะเอามาให้ดูในวันนี้ เป็นการซื้อสินค้าเป็นไม้กอล์ฟจากเวบ Global Rakuten นะครับ

       ทีมงานซื้อสินค้าในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินสูงถึง 4 หมื่น 4 พันกว่าบาท เลยทีเดียว

       ในเคสนี้ ทีมงานขอให้คนขายเขาแก้ราคาหน้ากล่องให้  โดยคิดว่า ซื้อของตั้ง 4 หมื่น 4 พันกว่าบาท แล้ว  แค่รบกวนให้คนขายช่วยแก้ราคาหน้ากล่องให้ ไม่น่าจะผิดอะไรนักหนา 

       แต่ปรากฏว่าทางคนขายเขาตอบปฏิเสธกลับมาหน้าตาเฉย  ทั้งๆที่เราซื้อสินค้าจากเขาตั้ง 4 หมื่น 4 พันกว่าบาท


       เคสที่เอามาให้ดูในครั้งนี้ เป็นเคสที่ "หาดูได้ยาก" นะครับ เพราะว่าถ้าเรา "ซื้อถูกๆ" แล้วถูกคนขายปฏิเสธเรื่องแก้ราคาหน้ากล่อง  นั่นก็เป็นเรื่องปกติ ( เพราะเรา "ซื้อถูกๆ" )

       แต่เคสที่จะเอามาให้ดูนี้ ที่ว่า "หาดูได้ยาก" ก็เพราะเป็นเคสที่เราซื้อสินค้าด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง ( คือซื้อตั้ง 4 หมื่น 4 พันกว่าบาท ) ซึ่งตามปกติแล้ว คนขายมักจะตามใจลูกค้ากระเป๋าหนักอย่างเรา อยู่แล้ว แต่ว่าครั้งนี้ คนขายกลับตอบปฏิเสธกลับมาเลย 

       ก็แสดงว่า กฏหมาย กฏระเบียบเรื่องการแก้ราคาหน้ากล่องให้ไม่ตรงกับความเป็นจริงนั้น มัน "รุนแรง" จริงๆ เขาถึงไม่กล้าทำตามที่เราขอร้องไป ( คือเราขอร้องให้เขาแก้ราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริง - แต่คนขายไม่กล้าทำ และตอบปฏิเสธกลับมา

       เรามาดูรายละเอียดของเคสนี้กันัเลยนะครับ



หมายเหตุ - ภาพสินค้า , ภาพอีเมล , ภาพการคุยโต้ตอบ และภาพทุกอย่างที่คุณผู้อ่านจะได้เห็นในหน้าเวบนี้ ล้วนแต่เป็นภาพที่สำเนามาจากเหตุการณ์จริง , เคสของจริงทั้งสิ้น

       ส่วนที่เป็นเนื้อหาเหตุการณ์ ทีมงานก็นำมาจากเหตุการณ์เดียวกันกับภาพนะครับ

       สรุปว่า ทั้งภาพ และเนื้อหาเหตุการณ์ทั้งหมดที่คุณจะได้เห็น ได้อ่านในหน้าเวบนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่มีการสมมติ แต่อย่างใด  /  อาจจะมีการ "ย่อภาพ" บางภาพให้สั้นลงบ้าง เพื่อเป็นผลดีต่อการโหลด ( ถ้าภาพยาวเกินไป จะทำให้โหลดช้า )


 ( ภาพบน )
Right-handed driver DR for the used A rank (flexible S) Titleist Titleist VG3(2018) 10.5 degrees Speeder 569 EVOLUTION IV S man 

       ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือสินค้าที่เราสนใจจะสั่งซื้อนะครับ  เป็นสินค้าจากเวบ Global Rakuten โดยสินค้าเป็นไม้กอล์ฟ ( ข้างบนนี้ เป็น "สินค้าตัวจริง" และ "ลิงก์จริง" ที่ทีมงานสั่งซื้อนะครับ

       โดยเราจะซื้อสินค้าทั้งหมด 4 อัน ( 4 แบบ ) เพียงแต่ว่าที่ทีมงาน tuvagroup.com เอามาให้ดูเพียงภาพเดียว  ก็เพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่การโหลดภาพนั่นเองครับ   



( ภาพบน ) คลิ๊กไปที่ปุ่ม Add to Cart ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้   



       ( ภาพบน ) เราเลือกสินค้าทั้งหมด 4 ชิ้น จากนั้นเราก็มาดูในหน้า Shopping Cart ดังที่ปรากฏให้เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ ( หน้าเวลา Shopping Cart คือหน้าเวบที่สรุปว่าเราเอาสินค้าชิ้นไหนบ้าง )

       ภาพสินค้า และราคาที่เห็นข้างบนนี้ เป็นของจริงนะครับ  /  เป็นสินค้าตามภาพนี้เลย และราคาสินค้าทั้งหมดก็คือ 150,598 เยน ( ยังไม่รวมค่าส่ง ) ตามที่ปรากฏในภาพข้างบนนี้    





       ( ภาพบน ) จากนั้น ก็ให้คลิ๊กไปที่ปุ่ม Proceed to Checkout  ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  เพื่อดำเนินการสั่งซื้อต่อไปครับ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

       ขั้นตอนถัดไปหลังจากที่คลิ๊กไปที่ปุ่ม Proceed to Checkout  ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  ก็จะเป็นการให้เลขบัตรเครดิต ,การให้ที่อยู่สำหรับรับสินค้า ฯลฯ ทีมงานก็จะข้ามไปนะครับ เพราะว่ามันไม่ใช่สาระสำคัญอะไร

       เอาเป็นว่า ขอลัดขั้นตอนไปตอนที่เรา Place Order ( ทำสัญญาซื้อขาย ) เรียบร้อยแล้วนะครับ    



เมื่อเรา Place Order ( ทำสัญญาซื้อขาย ) เรียบร้อยแล้ว

ก็จะมีอีเมล จาก Global Rakuten มาที่เรา เพื่อแจ้งค่าส่งให้เราทราบ

และให้เราทำการ Confirm ( ยืนยันการสั่งซื้อ ) อีกทีหนึ่ง    





       ( ภาพบน ) หลังจากที่เรา Place Order ( ทำสัญญาซื้อขาย ) ไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีอีเมลมาจาก Global Rakuten ส่งมาให้เรา อย่างที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ

       ในอีเมลข้างบนนี้ มีข้อมูลอยู่ 2 อันที่น่าสนใจก็คือ 

       ทางเวบ Global Rakuten เขาส่งอีเมลข้างบนนี้มา เพื่อให้เราตอบอีเมลยืนยันกลับไปหาเขาว่า เรา Confirm ออร์เดอร์นี้  

       หรือถ้าจะแก้ไขอะไร ( เช่นจะลดออร์เดอร์ ฯลฯ ) ก็ให้แจ้งเขาให้ทราบด้วยการตอบกลับอีเมลฉบับนี้ 


       ในอีเมลฉบับข้างบนนี้ ทางเวบ Global Rakuten เขาได้แจ้ง "ค่าส่งมาประเทศไทย" ให้เราทราบด้วย


หมายเหตุ - ตอนที่เราสั่งซื้อสินค้าจากเวบ Global Rakuten ในครั้งแรกนั้น ทางเวบ Global Rakuten เขายังไม่บอกค่าส่งเรานะครับ  เราต้อง Place Order ( ทำสัญญาซื้อขาย ) เสียก่อน ทางเวบ Global Rakuten ถึงจะบอกค่าส่งมาประเทศไทยให้เราได้ทราบ

       พูดง่ายๆก็คือว่า เมื่อเรา Place Order ( ทำสัญญาซื้อขาย ) ไปเรียบร้อยแล้ว ทางเวบ Global Rakuten ก็จะมีอีเมล ( ฉบับที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ส่งมาให้เรา เพื่อแจ้งค่าส่งมาประเทศไทยนั่นเอง   


ขอแทรกนิดนึงครับ


 วิธีดูค่าส่งมาประเทศไทย  จากอีเมลฉบับนี้

( ภาพบน ) ดูตรงที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีส้ม ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้

( ภาพบน ) ภาพขยายของส่วนที่อยู่ใน กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีส้ม

ในภาพก่อนหน้านี้


       ( ภาพบน ) ค่าสินค้าทั้งหมด 4 รายการนั้น รวมเป็น 150,598 เยน ปรากฏตรงที่ ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้   



       ( ภาพบน ) ส่วนค่าส่งสินค้าทั้ง 4 รายการมาประเทศไทย คือ 6,150 เยน ปรากฏตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้


       เบ็จเสร็จแล้วเงินที่จะต้องจ่ายก็คือ 150,598 ( ค่าสินค้า ) + 6,150 ( ค่าส่งมาประเทศไทย ) = 156,748 เยน หรือ 44,751.12 บาท ไทยนั่นเองครับ   



ทีมงานตอบอีเมลกลับ  พร้อมทั้งบอกให้คนขายแก้ราคาหน้ากล่อง    


       ( ภาพบน ) เมื่อเราได้อีเมลจากเวบ Global Rakuten แล้ว เราก็ตอบกลับไป

       โดยอีเมลที่เราตอบกลับไปนั้น ก็คืออีเมลที่เห็นในภาพข้างบนนี้


หมายเหตุ - คุณผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ในเมื่ออีเมลฉบับข้างบนนี้ เป็นอีเมลที่ทีมงานตอบกลับไปหาคนขาย  แล้วทำไมถึงมีภาพอีเมลมาให้ดูได้ล่ะ?

       คำตอบก็คือว่า ก็เพราะว่าตอนที่ทีมงานตอบกลับไปที่เวบ Global Rakuten นั้น  ทีมงานได้ "สำเนา" อีเมลไว้ในตัวเอง 1 ฉบับ

       ดังนั้น อีเมลที่เห็นในภาพข้างบนนี้ จึงเป็นอีเมลฉบับ "สำเนา" นั่นเอง ( ซึ่งอีเมลฉบับ "สำเนา" นั้น จะมีข้อความเดียวกันกับอีเมลต้นฉบับทุกประการ )


( ภาพบน ) ให้ดูเฉพาะตรงส่วนที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ 



       ( ภาพบน ) ข้างบนนี้เป็นภาพขยายของส่วนที่อยู่ใน กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ในภาพก่อนหน้านี้ 

       ซึ่งข้อความข้างบนนี้ ก็คือข้อความที่ทีมงานเขียนให้ Global Rakuten นี้ ซึ่งมีใจความสำคัญ 2 ข้อดังนี้คือ

       ข้อ 1 - ทีมงานขอให้คนขายเขาเขียนที่หน้ากล่องว่า สินค้าไม้กอล์ฟในกล่องพัสดุนี้ เป็นสินค้ามือสอง ( เพราะถ้าไม่เขียนว่าเป็นสินค้ามือสอง  เจ้าหน้าที่ศุลกากรของไทย ก็จะคิดว่าเป็นไม่กอล์ฟใหม่เอี่ยม แล้วจะคิดภาษีแพงๆกับเรา )


       ข้อ 2 - ทีมงานขอให้คนขายเขาเขียนราคามาแค่ 1 ใน 3 ของราคาจริง คือหมายความว่า ราคาจริงคือ 156,748 เยน นั้น ก็ให้คนขายเขียนราคามาแค่ 52,249 เยน  /  โดยมีจุดประสงค์ว่า ถ้าศุลกากรไทยเห็นมูลค่าสินค้าเป็นแค่ 52,249 เยน ( หรือ 14,917 บาทไทย ) ก็จะได้คิดภาษีกับเราถูกๆนั่นเอง 


หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน  คนขายก็ตอบปฏิเสธกลับมา    



       ( ภาพบน ) หลังจากที่เราส่งอีเมลกลับไปหาคนขายที่ Global Rakuten แล้ว ( หมายถึง อีเมลฉบับที่เราเขียนตอบกลับไปหาคนขาย ที่บอกให้คนขายเขาเขียนหน้ากล่องว่า เป็นไม้กอล์ฟมือสอง และให้แก้ราคาให้เป็น 1 ใน 3 ของราคาจริง )

       ประมาณ 3 วัน คนขายของเวบ Global Rakuten ก็ตอบกลับมาด้วยอีเมลฉบับที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ   


 ( ภาพบน ) ให้ดูเฉพาะตรงส่วนที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ 

ภาพบน ) ภาพขยายของส่วนที่อยู่ใน กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ในภาพก่อนหน้านี้ 



      ( ภาพบน ) ในข้อความที่คนขายตอบกลับมานี้ มีอยู่ 2 ส่วนที่สำคัญนะครับ

       โดย ส่วนแรก ก็คือส่วนที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้

       ซึ่งส่วนที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้  บอกว่าเขายินดีที่จะเขียนหน้ากล่องให้เราว่า เป็นไม้กอล์ฟมือสอง ตามที่เราบอกเขาไป  แต่... ( ขอให้ดูใน ส่วนที่สอง ในภาพข้างล่างนี้ )


ที่สำคัญ และเป็นสาระสำคัญของเวบหน้านี้ ก็คือข้อความที่คนขายตอบกลับมา ( ซึ่งเป็น ส่วนที่สอง ) ดังที่เห็น ขีดเส้นใต้สีม่วง ในภาพข้างล่างนี้



      ( ภาพบน ) ข้อความ ส่วนที่สอง ที่คนขายตอบกลับมา และเป็นสาระสำคัญในหน้าเวบนี้ ก็คือข้อความที่ ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้

       ซึ่งข้อความที่ ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ แปลคำต่อคำได้ว่า

       "เรารู้สึกเสียใจที่เราไม่สามารถเขียนราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริง หรือเขียนราคาอื่นๆบนฉลาก EMS ที่แตกต่างไปจากราคาจริงของสินค้า และราคาจริงของค่าส่งได้

       สิ่งที่เราทำได้ก็คือ การเขียนราคาจริงที่เป็นราคาเดียวกับราคาสินค้า และราคาค่าส่งที่เป็นจริง ในหน่วยเงินของญ๊่ปุ่นเท่านั้น 

       นั่นก็เพราะพวกเรากลัวเรื่องความเสี่ยงในการที่จะถูกดำเนินคดี  เพราะมันเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ในข้อกฏหมายที่เรียกว่า UNDEF VALUE"


       พูดง่ายๆก็คือว่าข้อความที่ ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ คนขายของ Global Rakuten เขาตอบปฏิเสธการที่เราขอให้เขา "แก้ราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริง" นั่นเอง ( แต่เรื่องการเขียนหน้ากล่องว่า เป็นไม้กอล์ฟมือสองนั้น เขาทำให้ได้ )


คนขายเขาก็ส่งพัสดุสินค้าให้เราตามปกติ และมีอีเมลแจ้งให้เราทราบว่าได้ส่งพัสดุสินค้าให้เราแล้ว



      ( ภาพบน ) ตอนที่เราซื้อสินค้าที่ เวบอีเบย์ และเราขอให้คนขายเขาแก้ราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น คนขายสินค้าของอีเบย์ เขาไม่ทำให้เรา ( คือไม่แก้ราคาหน้ากล่องให้เรา ) และ แบนไอดี เราไปเลย

       แต่สำหรับเวบ Global Rakuten นี้ คนขายเขา "แค่" ไม่ทำตามคำขอของเรา ( คือไม่แก้ราคาหน้ากล่องให้เรา ) เท่านั้น แต่ "ไม่" แบนไอดี เรา  ซึ่งนับเป็นเรื่องที่โชคดีสำหรับเราเป็นอย่างมาก

       นั่นก็คือว่า หลังจากที่คนขายของ  Global Rakuten เขาอธิบายให้เราฟังว่า เขาไม่กล้าแก้ราคาหน้ากล่องให้ตำกว่าเป็นจริง แล้วก็จบแค่นนั้น  /  จากนั้นคนขายเขาก็ส่งพัสดุสินค้าให้เราตามปกติ พร้อมทั้งส่งอีเมลฉบับที่เห็นในภาพข้างบนนี้ เพื่อยืนยันว่าเขาได้ส่งสินค้าให้เราแล้ว


สรุป ...



     ( ภาพบน ) จากการอ่านเคสนี้มา สามารถสรุปได้ 3 ประการดังนี้คือ

       ประการที่ 1 - การขอให้คนขายเขาแก้ราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริง อาจจะทำให้กับเวบที่ขายสินค้าออนไลน์ทั่วๆไป

       "แต่" สำหรับเวบดังๆ เช่น อีเบย์ หรือ Global Rakuten นั้น มันเป็นการกระทำที่ "ผิดกฏหมาย"

       มันผิดข้อกฏหมายที่เรียกว่า UNDER VALUE ( อ้างอิงจากข้อมูลในอีเมลของคนขาย ในภาพข้างบนนี้ )


       ประการที่ 2 - แม้ว่าเราจะเป็นลูกค้ากระเป๋าหนัก  คือซื้อสินค้าเป็นเงินถึง 4 หมื่น 4 พันกว่าบาท  แต่คนขายเขาก็ยัง "ไม่กล้า" ทำตามที่เรา "ร้องขอ" ไปเลย เรา "ร้องขอ" เรื่องให้แก้ราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริง )


      ประการที่ 3 - ยังโชคดีที่คนขายของ Global Rakuten เขา "ไม่" แบนไอดี เรา เหมือนที่ทีมงาน tuvagroup.com เคยโดนที่ เวบอีเบย์ นะครับ

       คือการที่เราขอให้คนขายที่เวบ Global Rakuten เขาแก้ราคาหน้ากล่องให้เรา เขาก็แค่ไม่ทำตาม ( คือไม่แก้ราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ) แต่ไม่ถึงกับ แบนไอดี เราเหมือนที่เราเคยโดนที่ เวบอีเบย์ นั่นเองครับ


- END -