script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: ทำความเข้าใจเรื่อง Import charges

Tuesday, March 10, 2020

ทำความเข้าใจเรื่อง Import charges



ทำความเข้าใจเรื่อง Import charges 

1  >  2  >  3  >  4

( ภาพบน )
Nike Hyperdunk '08 Mens Black Mamba Kobe Basketball sz 10.5 NEW!  
ข้างบนนี้ คือสินค้าที่เราต้องการจะสั่งซื้อนะครับ


( ภาพบน ) คลิ๊กไปที่ปุ่ม Buy It Now ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

( ภาพบน ) หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 


       ( ภาพบน ) จากภาพข้างบนนี้ คุณผู้อ่านจะเห็นได้ว่า หากผู้รับสินค้าอยู่ที่ "ประเทศอเมริกา" ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )   สินค้าชิ้นนี้ ก็จะมี "ค่าส่งฟรี" และ "ไม่มีภาษี" แต่อย่างใด ( ตรงที่ ลูกศรสีส้มเหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )    


ลองเปลี่ยน "ที่รับสินค้า"

เป็น "ประเทศไทย" ดูนะครับ แล้วมาดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น?



( ภาพบน ) คลิ๊กไปที่เมนู Change ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 


       ( ภาพบน ) จากการคลิ๊กไปที่ "Change" ในภาพก่อนหน้านี้นั้น  ก็จะเกิดตัวเลือกขึ้นมาหลายตัว  ให้เราคลิ๊กเลือกไปที่ Select  ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  เพื่อเปลี่ยนที่รับสินค้าเป็น "ประเทศไทย"    


( ภาพบน ) หน้าเวบจะเปลี่ยนไป จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 


       ( ภาพบน ) จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ เมื่อเปลี่ยนที่รับสินค้าเป็น "ประเทศไทย" แล้ว ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ มี "ค่าส่ง 34.77 เหรียญ" และ "ค่าภาษี Import charges 68.82 เหรียญ" ปรากฏขึ้นตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ( ซึ่งก่อนหน้านี้ ยังไม่มี )    

ลองเปรียบเทียบกันอีกที




ภาพบน ) ถ้าผู้รับสินค้าอยู่ใน "ประเทศอเมริกาค่าส่งก็จะฟรี และ ไม่มีภาษี Import charges


ภาพบน ) แต่ถ้าผู้รับสินค้าอยู่ใน "ประเทศไทย" ก็จะมี ค่าส่งสินค้า และจะมี ภาษี Import charges


Import charges คืออะไร?



     ( ภาพบน ) คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่า ภาษี Import charges ที่ปรากฏอยู่ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ มันคืออะไร?

       คำตอบก็คือว่า มันคือเงินที่ทางเวบอีเบย์เรียกเก็บจากลูกค้า แล้วเก็บไว้กับตัวบริษัทอีเบย์เอง เพื่อที่ว่า เมื่อนำสินค้านั้น ผ่านด่านศุลกากรไทย แล้ว ทางบริษัทอีเบย์ ก็จะเอาเงินก้อนนี้ ไปจ่ายเป็นค่าภาษี ให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยเลย

       คือหมายความว่า ทางผู้ซื้อ ( หมายถึงผู้จ่ายเงิน ) ไม่ต้องเดินทางไปเสียภาษีที่ด่านศุลกากรไทยเลย เพราะทางบริษัทอีเบย์เขาทำหน้าที่แทนผู้ซื้อแล้ว ( หมายถึง บริษัทอีเบย์ ทำหน้าที่จ่ายภาษีให้ที่ด่านศุลกากรไทย แล้ว โดยที่ผู้ซื้อสินค้า ไม่ต้องเดินทางไปที่ด่านศุลกากรไทยเอง )


ข้อเท็จจริงก็คือว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากร ไม่ได้เก็บภาษีทุกรายการ  /  บางรายการก็ไม่เก็บภาษี


      ให้คิดเรียงลำดับขั้นดังนี้นะครับ

       ถ้าเจ้าหน้าที่ศุลกากร เก็บภาษีทุกรายการ  อีกหน่อย คนก็จะไม่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ( เพราะถ้าเก็บภาษีแล้ว ค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าชิ้นนั้น ก็จะเท่ากับราคาในประเทศไทย  /  ถ้าอย่างนั้น ก็ซื้อในประเทศไทยดีกว่า ) 


       เมื่อคนไทยไม่ซื้อสินค้าต่างประเทศ ( เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากร เก็บภาษีทุกรายการ - คนไทยก็เลยกลัว ) เจ้าหน้าที่ศุลกากร ก็จะ "ไม่มีรายได้จากภาษี ที่นำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ"


       เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร "ไม่มีรายได้จากภาษี ที่นำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ" ก็จะทำให้ไม่มีเงินไปหล่อเลี้ยงองค์กร ( ศุลกากร ) 


       ดังนั้น เจ้าหน้าที่ศุลกากร จึงต้อง "เลี้ยงไข้" ด้วยการผ่อนผันว่า บางรายก็คิดภาษี บางรายก็ไม่คิดภาษี


       การที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร "เลี้ยงไข้" ด้วยการผ่อนผันว่า บางรายก็คิดภาษี บางรายก็ไม่คิดภาษี  "ทำให้" คนไทยบางคน มีลุ้น ว่าตัวเองอาจจะไม่เสียภาษีก็ได้


       เมื่อคนไทย มีลุ้น ว่าตัวเองอาจจะไม่เสียภาษีก็ได้ ( เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากร ไม่เก็บภาษีทุกรายการ ) ก็เลยทำให้คนไทย ยังซื้อสินค้าจากต่างประเทศต่อไป ( เพราะคนไทย มีลุ้น ว่าตัวเองอาจจะไม่เสียภาษีก็ได้  )



การที่บริษัทอีเบย์ คิดภาษี Import charges จึงเป็นสิ่งที่ "คนไทย" ไม่ชอบ !



        ( ภาพบน ) คิดเรียงลำดับดังนี้นะครับ

       จากที่ทีมงานพูดให้ฟังก่อนหน้านี้ว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากร "เลี้ยงไข้" ด้วยการผ่อนผันว่า บางรายก็คิดภาษี บางรายก็ไม่คิดภาษีนั้น  /  เราคนไทยก็มีลุ้นว่า ตัวเองอาจจะไม่เสียภาษีที่ด่านศุลกากรไทยก็ได้


       แต่การเก็บเงินค่า Import charges ( ที่ระบบของอีเบย์ทำเอาไว้ ) ก็คือการเสียภาษีตามระบบของศุลกากรไทย อย่างแน่นอน 100%


       ดังนั้น คนไทยจึงไม่อยากเสีย Import charges ที่บริษัทอีเบย์ทำเอาไว้  เพราะ คนไทยอยากมาลุ้นเอาที่ด่านศุลกากรไทยว่า ตัวเองอาจจะไม่เสียภาษีที่ด่านศุลกากรไทยก็ได้


       ยกตัวอย่างว่า ในภาพข้างบนนี้ ถ้าเสีย Import charges  ก็ต้องเสียเป็นเงิน 68.82 เหรียญ หรือ 2,270 บาท เลยทีเดียว


       แต่ถ้าเราไปหาคนขาย ที่ขายสินค้าโดยไม่คิด Import charges  แล้วมาลุ้นเอาที่ด่านศุลกากรไทยว่าจะโดนภาษีหรือไม่  /  ผลที่ตามมาก็คือ เราอาจจะไม่ต้องเสียภาษี 68.82 เหรียญ หรือ 2,270 บาท นั้นเลยก็ได้ ( เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากร "เลี้ยงไข้" ด้วยการผ่อนผันว่า บางรายก็คิดภาษี บางรายก็ไม่คิดภาษี )


ประเด็นอยู่ที่ว่า เราจะหาคนขาย ที่ไม่คิด Import charges ได้อย่างไร?


       ในหน้าเวบถัดไป ทีมงานจะแสดงวิธีให้คุณผู้อ่านดูว่า คนขายคนไหน เขาขายสินค้าแบบ "มี" Import charges  /  และคนขายคนไหน ที่เขาขายสินค้าแบบ "ไม่มี" Import charges  /  ลองติดตามดูนะครับ

หน้าถัดไป

1  >  2  >  3  >  4