script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: March 2021

Sunday, March 28, 2021

มารยาทในการซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์"

 

มารยาทในการซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์"


      ในการซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์" นั้น คนทั่วไปมักจะคิดว่า ก็แค่กดปุ่ม Add to cart แล้วก็กดปุ่ม Buy แล้วก็โอนเงิน แล้วก็จบ ไม่เห็นจะยากอะไร จะไปเสียเงินค่าบริการให้ทีมงาน tuvagroup.com ทำไม

       ลูกค้าที่คิดอย่างนี้  พอไปซื้อเองได้ช่วงหนึ่ง สุดท้ายก็ต้องกลับมาใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com เหมือนเดิม ( ทีมงานดูจากฐานข้อมูลที่ทีมงานทำเอาไว้ ) เพราะตอนที่ไปซื้อสินค้าด้วยตัวเองนั้น ต้องเจอปัญหาต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องฟ้องร้องในกรณีที่ไม่ได้ของ ฯลฯ ( ต้องเข้าใจว่าระบบการขายของออนไลน์นั้น เขาทำให้ง่ายต่อการซื้อเท่านั้น คือแค่กด Add to cart แล้วก็กดปุม Buy แล้วก็โอนเงิน "แต่" ปัญหาจริงๆ จะเกิดขึ้นหลังจากการโอนเงินเรียบร้อยแล้วนั่นแหละ )

* * * ถ้ามันง่ายอย่างนั้นจริง ( คือถ้าการซื้อของต่างประเทศแบบออนไลน์ มันง่ายเหมือนการซื้อของออนไลน์ในไทย เช่นการซื้อจาก Shopee หรือ Lazada ในไทย ) ทีมงานก็คงไม่เปิดให้บริการมายาวนานขนาดนี้ คือให้บริการมาถึง "15 ปี" และมีการซื้อให้ลูกค้า "เกือบทุกวัน"


* * * การที่ทีมงานเปิดให้บริการมานานขนาดนี้ ( ให้บริการมาถึง "15 ปี" และมีการซื้อให้ลูกค้า "เกือบทุกวัน" ) ก็เพราะยังมีลูกค้ามาใช้บริการอยู่


* * * และการที่ลูกค้ามาใช้บริการอยู่ ( ทั้งๆที่พวกเขาก็แค่กดปุ่ม Add to cart และ Buy เพื่อซื้อเองก็ได้ ) ก็เพราะลูกค้าเหล่านั้น ไปเจอประสบการณ์แย่ๆที่ตามมาภายหลังการกดปุ่ม Buy ( สมัยที่ซื้อด้วยตัวเอง ) 


* * * พอเขาเหล่านั้น เจอปัญหาหลังการขาย ( สมัยที่ยังซื้อด้วยตัวเอง ) บางครั้งก็จะทำให้ไม่ได้รับของ แล้วก็ไม่ได้เงินคืนอีกด้วย 


* * * สมมติว่าสินค้าที่เขาสั่งซื้อนั้น ราคาหลายพัน การที่ไม่ได้รับของ และไม่ได้เงินคืนด้วยนั้น ก็คือการที่เขาต้องสูญเงินจำนวนหลายพันนั้นไปเลย ไปฟ้องร้องเอากับใครก็ไม่ได้ เพราะคนขายเขาอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถไปเคาะประตูหน้าบ้านเพื่อทวงของได้ ( เพราะมันอยู่ไกล คนละประเทศ ) หรือพอจะฟ้องร้องเองก็ไม่คุ้ม เพราะค่าทนายก็เป็นแสนบาทแล้ว ( อันเนื่องมาจากเป็นคดีระหว่างประเทศ )


* * * "สู้" เสียค่าบริการ 100 เดียว แล้วให้ทีมงาน tuvagroup.com ซื้อให้ดีกว่า มันสบายใจกว่ากันเยอะ เพราะทีมงาน tuvagroup.com มีประสบการณ์การซื้อมา "15 ปี" แล้ว ได้เจอปัญหาและแก้ปัญหาให้ลูกค้ามามากมาย ( บางเรื่องก็แก้ได้ บางเรื่องก็แก้ไม่ได้ แต่ก็ยังดีกว่าการที่คุณลูกค้าไปซื้อสินค้าด้วยตัวเอง แล้วเจอปัญหา ซึ่งก็เหมือนเจอกับ "ทางตัน" ไปถามทางกระทู้ต่างๆ ใน Google ก็แก้ปัญหาให้ไม่ได้ )



       สรุปในส่วนนี้ก่อนว่า การซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์" นั้ัน มันมีปัญหาจุกจิกมากมาย และการที่จะแก้ปัญหาทุกรูปแบบได้นั้น มันต้องอาศัยประสบการณ์ คือจะไปถามเอาจากกระทู้ต่างๆใน Pantip หรือค้นเอาจาก Google นั้น ไอ้เจ้าคนที่มาตอบในกระทู้ หรือคนที่ให้คำตอบไว้ใน Google ก็ไม่ได้มีประสบการณ์เท่ากับทีมงาน tuvagroup.com แต่อย่างใด  พอเจอปัญหา "ซับซ้อน" ก็แก้ปัญหาให้ไม่ได้ หรือไม่ก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด สุดท้าย สินค้าก็ไม่ได้ และเงินก็ไม่ได้คืนด้วย ต้องสูญเสียเงินเป็นพันๆไปฟรีๆ 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

ปัญหาอย่างหนึ่งที่เคยเจอ ! 

ข้างล่างนี้ )

      จากการที่เกริ่นนำมาในข้อความข้างบนนี้ คุณผู้อ่านก็รู้แล้วว่า มีปัญหาต่างๆปรากฏอยู่ในการซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์" มากมาย ในวันนี้ ผมจะเอาปัญหาอันหนึ่งมาเล่าให้ฟัง ซึ่งปัญหาที่ว่านี้ก็เป็นแค่เพียง "เสี้ยวเดียว" เท่านั้น เพราะปัญหาจริงๆที่เกิดขึ้นทั้งหมด มันเยอะกว่านี้มาก ไม่สามารถบรรยายได้หมด  /  ลองมาดูปัญหา "เสี้ยวเดียว" ที่ว่านั้นนะครับ 


       ถ้าเราซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์" จากบริษัทใหญ่ๆ หรือจากองค์กรใหญ่ๆ เช่นซื้อสินค้า "ออนไลน์" จากเว็บของบริษัท Microsoft หรือเว็บของบริษัท Wallmart นั้น  เขาจะมีแผนกบริการลูกค้าอยู่ ( หมายถึง มีแผนกบริการให้ลูกค้าที่ซื้อของ "ออนไลน์" ในเว็บของบริษัท Microsoft หรือเว็บของบริษัท Wallmart ) ซึ่งแผนกนี้ มีเอาไว้รับมือกับพฤติกรรมต่างๆของลูกค้า ยกตัวอย่างพฤติกรรมของลูกค้าก็เช่้นการโวยวายของลูกค้า  ที่ไม่พอใจเรื่องต่างๆ ซึ่งบางทีก็อาจเป็นเรื่องที่ลูกค้าเข้าใจผิดเอง ฯลฯ แต่เอาเป็นว่า ไม่ว่าลูกค้าจะเข้าใจผิด หรือเข้าใจถูก แล้วมีพฤติกรรมแย่ๆออกมา  ไอ้เจ้าแผนกบริการลูกค้านี้ ก็จะรับได้ทั้งหมด

      การที่แผนกบริการลูกค้าที่ว่านี้ รับมือกับพฤติกรรมแย่ๆของลูกค้าได้ทั้งหมด ก็เพราะเขาจะมีการจัดอบรมคนในองค์กรอยู่บ่อยๆ มีการให้กำลังใจพนักงาน , มีการคัดเอาคนที่เหมาะกับงาน ( เช่นใจเย็น , ค่อยๆพูด ค่อยๆจา ) มาอยู่แผนกนี้

       แต่ว่าสินค้า "ออนไลน์" ที่ขายโดยบริษัทใหญ่ๆ หรือองค์กรใหญ่ๆ ก็ไม่ได้มีประเภทของสินค้าที่ครอบคลุมไปทุกชนิดที่ลูกค้าต้องการ  ยังมีสินค้าอยู่อีกหลายประเภท ที่บริษัทใหญ่ๆ หรือองก์ใหญ่ๆนี้ไม่มีจำหน่าย

       นั่นก็หมายความว่า ถ้าลูกค้าต้องการสินค้าที่ขายแบบ "ออนไลน์" ที่เป็นรายการที่อยู่นอกเหนือจากรายการที่บริษัทใหญ่ๆ หรือองค์กรใหญ่ๆ ขายอยู่ ลูกค้าก็ต้องพึ่งพา "พ่อค้ารายย่อย" ทั่วไปที่ขายออนไลน์อยู่ 

       "พ่อค้ารายย่อย" ที่ว่านี้ เราก็จะพบได้ทั่วไปใน เวบอีเบย์ เวบอะเมซอน ฯลฯ เรียกได้ว่า พ่อค้ารายย่อยพวกนี้ ครองตลาดอยู่ถึง 60% - 70% ในตลาดออนไลน์เลยทีเดียว

       ปัญหาพื้นฐานก็คือ เพราะความที่เป็น "พ่อค้ารายย่อย" ที่ขายสินค้าด้วยตัวเอง และมีเงินทุนที่ต่ำ  ดังนั้น พวกเขา ( พ่อค้ารายย่อย ) จึงไม่มีงบมากพอที่จะจ้าง หรือทำให้มีแผนกบริการลูกค้าของร้านออนไลน์ของตัวเอง 

       เมื่อ "พ่อค้ารายย่อย" ไม่มีแผนกบริการลูกค้าของร้านออนไลน์ของตัวเอง ก็เลยต้องรับมือกับพฤติกรรมแย่ๆของลูกค้าด้วยตัวเอง

       และด้วยความที่ "พ่อค้าราย่อย" ไม่ได้รับการอบรม ไม่ได้รับการสอนให้อดทนกับพฤติกรรมแย่ๆของลูกค้ามา มันก็เลยทำให้ "พ่อค้ารายย่อย" พวกนี้ มีขีดความอดทนต่ำมาก  ลูกค้ามีพฤติกรรมแย่ๆนิดๆหน่อยๆ ขึ้นมา พวก "พ่อค้ารายย่อย" พวกนี้ ก็ถึงกับรับไม่ได้ และใช้วิธี Block หรือ "แขวน" ลูกค้าไปเลย ( คำว่า "แขวน" ในที่นี้ ก็หมายถึงการ "ไม่คุย" กับลูกค้าที่มีพฤติกรรมไม่ถูกตา ถูกใจ คนขาย  /  ส่วนคำว่า Block นั้น ก็ตรงตัวตามความหมายศัพท์อยู่แล้ว )

       สรุปให้เห็นตรงขั้นตอนนี้ก่อนว่า

       1.เรามักจะเจอ "พ่อค้ารายย่อย" ในตลาดขายสินค้า "ออนไลน์" มากกว่าพ่อค้าจากองค์กรใหญ่ๆ 


       2.พวก "พ่อค้ารายย่อย" พวกนี้ มักจะมารับมือกับลูกค้าด้วยตัวเอง เพราะไม่มีเงินจ้างคนมารับมือกับลูกค้า ( ไม่มีแผนกบริการลูกค้าของร้านออนไลน์ของตัวเองนั่นเอง )


       3.พวก "พ่อค้ารายย่อย" พวกนี้ มีขีดความอดทนที่ต่ำมาก เพราะไม่ได้รับการอบรมมา  คือเก่งด้านการค้าขายอย่างเดียว แต่มักไม่เก่งเรื่องการรองรับพฤติกรรมแย่ๆของลูกค้า


       4.การแสดงออกถึงขีดความอดทนที่ต่ำมาก ของ "พ่อค้ารายย่อย" พวกนี้ คือการที่ "พ่อค้ารายย่อย" พวกนี้ มักจะ Block หรือ "แขวน" ลูกค้าที่มีพฤติกรรมแย่ๆ เสมอ ( แย่ในความคิดของ "พ่อค้ารายย่อย" - แต่ในความคิดของทางฝ่ายลูกค้าอาจจะเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น คิดว่าการ "ติหรือด่า" การให้บริการ น่าจะทำได้ ( คือลูกค้า คิดว่า ติและด่าได้ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่แปลกอะไร ) แต่ "พ่อค้ารายย่อย" ( ที่มีขีดความอนทนต่ำ ) ไม่ได้คิดอย่างนั้น ) 


       
มาดูหัวข้อต่อไปกันครับ .... ( ข้างล่างนี้ )

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

มารยาท หรือวัฒนธรรมของคนต่างประเทศ ไม่เหมือนคนไทย

ข้างล่างนี้ )   

      จากประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศมา "15 ปี" และ "ซื้อเกือบทุกวัน" ทีมงานพบว่า วัฒนธรรมของพ่อค้าที่อยู่ต่างประเทศ จะไม่เหมือนวัฒนธรรมในบ้านเราอยู่อย่างหนึ่ง

       ยกตัวอย่างเช่น ในบ้านเรา เวลาที่เราไปซื้อของที่ตลาดสด ( ไม่ใช่ในห้างสรรพสินค้า ) สมมติว่าเราจะไปซื้อสินค้าที่ชื่อ A  /  การคุยกันระหว่างคนขาย จะเป็นแบบนี้คือ

ลูกค้า ( คนไทย ) : สินค้า A นี่ ซื้ออันเดียวราคาเท่าไร?


คนขาย ( คนไทย ) : ถ้าซื้ออันเดียวราคา 100 บาทครับ


ลูกค้า ( คนไทย ) : แล้วถ้าซื้อ 10 อัน จะตกอันละเท่าไร? ( ลูกค้าวางแผนในใจว่าจะซื้อแค่ 2 อัน แต่แกลังถามว่าจะซื้อ 10 อันจะได้ต่อราคาได้เยอะๆ ในภายหลัง )


คนขาย ( คนไทย ) : ถ้าซื้อ 10 อัน ตกอันละ 90 บาทครับ ( ความจริง ถ้าซื้อ 10 อัน ก็จะลดได้อีก เหลือชิ้นละ 80 บาทก็ได้ ไม่ขาดทุน เพราะทุนแค่ 60 บาท แต่คนขายก็ "กั๊ก" เอาไว้ว่าเป็นอันละ 90 บาท เพราะรู้ทันลูกค้าว่า ลูกค้าถามว่าจะซื้อ 10 อัน เพื่อจะดูว่าลดราคาได้มากเท่าไร แต่เวลาจะซื้อจริง ก็จะซื้่อแค่ 2 อันเท่านั้น ( ประสบการณ์ของคนขายคนนี้ ก็มีเยอะเหมือนกัน คือรูัทันลูกค้า ) )  


ลูกค้า ( คนไทย ) : งั้นผมเอา 2 อัน ลดราคาให้อีกหน่อยนะ 


คนขาย ( คนไทย ) : ก็ได้ ลดราคาให้เหลืออันละ 85 บาทนะ ( ความจริง ลดได้อีก เพราะต้นทุนแค่ 60 บาท แต่เผื่อไว้ว่าถ้าลูกค้า กลับไปขอซื้อที่ 10 อันอีก )


ลูกค้า ( คนไทย ) : ถ้าซื้อ 2 อัน แล้วลดให้ผมได้ 85 บาท แล้วถ้าผมกลับไปซื้อ 10 อันเหมือนเดิมล่ะ ? ก็ต้องลดให้ผมได้มากกว่า 85 บาทนะ ( ตอนแรกคนขายบอกไว้ว่า ถ้าซื้อ 10 อัน จะขายอันละ 90 บาท )


คนขาย ( คนไทย ) : โอเค โอเค ถ้ากลับไปซื้อ 10 อันเหมือนเดิม ก็จะขายอันละ 82 บาท ( ความจริงต้นทุนแค่ 60 บาท แต่คนขายก็วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ลูกค้าจะต้องถามราคาแบบ "ย้อนไป - ย้อนมา" แบบนี้ ดังนั้น การขายในราคาชิ้นละ 82 บาท โดยที่ต้นทุนแค่ชิ้นละ 60 บาท จึงได้กำไรอยู่ดี )


* * * เคสแบบข้างบนนี้ Happy ทั้ง 2 ฝ่าย คือลูกค้าก็ Happy ที่ซื้่อสินค้าที่ได้ลดราคาจากที่ต้องจ่ายชิ้นละ 100 บาท ก็เหลือแค่จ่ายชิ้นละ 82 บาท  /  ส่วนคนขายก็ Happy เพราะตัวเองยังได้กำไรอยู่ดี และยังทำให้ดูเหมือนว่าตัวเองลดราคาให้ลูกค้าเยอะเลย ลูกค้าจะได้มีแนวโน้มว่าจะกลับมาซื้อซ้ำอีก เพราะลูกค้าคิดว่าลูกค้าได้รับการลดราคาเยอะ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ข้างบนนี้ คือเคสการซื้อขายสินค้าแบบคนไทยนะครับ คราวนี้ ไปดูวัฒนธรรมของต่างประเทศบ้าง จะเป็นแบบนี้ ( สมมติว่าขายสินค้าชื่อ A เหมือนกัน )

ลูกค้า ( คนไทย ) : สินค้า A นี่ ซื้ออันเดียวราคาเท่าไร?


คนขาย ( ต่างประเทศ ) : ถ้าซื้ออันเดียวราคา 100 บาทครับ


ลูกค้า ( คนไทย ) : แล้วถ้าซื้อ 10 อัน จะตกอันละเท่าไร? ( ลูกค้าวางแผนในใจว่าจะซื้อแค่ 2 อัน แต่แกลังถามว่าจะซื้อ 10 อันจะได้ต่อราคาได้เยอะๆ ในภายหลัง )


คนขาย ( ต่างประเทศ ) : ถ้าซื้อ 10 อัน ตกอันละ 75 บาทครับ ( คือ คนขายคำนวณว่า ต้นทุน 70 บาท ถ้าลูกค้าซื้อ 10 อัน ก็ได้กำไรอันละ 5 บาท รวม 10 อันก็เป็นกำไร 50 บาท - เอากำไรแค่นี้ก็พอแล้ว เพราะยังไงเสีย ลูกค้าก็ต้องซื้อ 10 อันแน่ เพราะเขาพูดไว้อย่างนั้น ( คนขาย คิดในใจ ) )


ลูกค้า ( คนไทย ) : งั้นผมเอา 2 อัน คุณต้องลดราคาผม เพราะตอนที่ผมถามไปว่า ซื้อ 10 อีน ลดได้อันละเท่าไร แล้วคุณบอกว่า ถ้าซื้อ 10 อัน แล้วขายได้อันละ 75 บาท ก็แสดงว่า ต้นทุนคุณต้องไม่ถึง 75 บาทแน่ ดังนั้น ถาผมซื้อ 2 อัน คุณก็ต้องลดราคาให้ผมได้อีก ไม่ใช่ขายผมอันละ 100 บาทเหมือนเดิมนะ  ถ้าคุณไม่ลดราคาให้ผม "ผมไม่ซื้อ" เพราะตอนนี้ ผมรู้แล้วว่าราคาทุนมันตกอยู่ที่อันละไม่ถึง 75 บาท ( จากการหลอกถาม ว่าจะซื้อ 10 ชิ้น )


คนขาย ( ต่างประเทศ ) : ?????


* * * เคสแบบนี้ จะจบลงตรงที่ คนขาย ( ต่างประเทศ ) เจ้านี้ เขา Block ลูกค้าคนไทยคนนี้ไปเลย เพราะคนขายเขาก็เอา  "อารมณ์ ,ความรู้สึกส่วนตัว" มาใช้ เนื่องจากไม่ได้รับการอบรมมาให้รองรับพฤติกรรมลูกค้า เหมือนกับที่บริษัทใหญ่ๆที่เขาอบรมแผนกบริการลูกค้า  /  คือคนขาย ( ต่างประเทศ ) คนนี้ เขามองว่าลูกค้า ( คนไทย ) คนนี้ เสียมารยาท คือพูดไม่เป็นคำพูด เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา บอกจะเอา 10 ชิ้น แล้วมาเหลือ 2 ชิ้น  


ภาพบน ) Option "Commit to buy" ในอีเบย์ 


       ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือ Option "Commit to buy" ในอีเบย์ 

       การที่มี Option "Commit to buy" นี้ ก็เพื่อจะจัดการกับลูกค้าที่เสียมารยาท เหมือนในเคสลูกค้าคนไทย ที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูก่อนหน้านี้ คือเป็นลูกค้าประเภทถามกลับไปกลับมา 

       Option "Commit to buy" เป็นลักษณะการทำงานที่ว่า ก่อนที่ลูกค้าจะต่อรองราคา หรือจะพูดคุยอะไรกับคนขายได้นั้น ลูกค้าจะต้องกดปุ่ม "Commit to buy" ( คือทำสัญญาว่าจะซื้อ ) เสียก่อน แล้วคนขายถึงจะมาคุยด้วย

       คนขายจะไม่คุยกับลูกค้าที่ไม่ได้กดปุ่ม "Commit to buy" ( คือทำสัญญาว่าจะซื้อ ) เพราะเป็นการ "เสียเวลา" ของคนขายเขา ที่จะต้องมานั่งคุยกับคนขายที่อาจจะซื้อ หรือไม่ซื้อสินค้าของเขาก็ได้  สู้เอาเวลาไปคุยกับลูกค้าที่ต้องจะซื้อแน่ๆ จะดีกว่า ( การดูว่าลูกค้าคนนนั้น จะซื้อแน่ๆ ก็คือการที่ลูกค้าคนนั้น กดปุ่ม "Commit to buy" ) 

       เหมือนที่ยกตัวอย่างมาให้ดูข้างต้น ในกรณีที่ลูกค้าคนไทย ซื้่อสินค้าจากคนขายต่างประเทศ ที่ว่า ตอนแรก คนขาย ( ต่างประเทศ ) บอกว่าจะขายชิ้นละ 100 บาท แล้วพอลูกค้า ( คนไทย ) บอกว่าจะซื้อ 10 อัน แล้วลูกค้าคนไทยคนนี้ ก็กดปุ่ม "Commit to buy" ไปแล้ว อย่างนี้นั้น 

       พอคนขาย ( ต่างประเทศ ) ลดราคาให้เหลืออันละ 75 บาท ต่อการซื้อ 10 อัน แล้ว ( จากที่ตอนแรกขายอันละ 100 บาท ) ลูกค้า ( คนไทย ) จะมาบอกว่า จะขอซื้อแค่ 2 อัน และคนขายต้องลดราคาให้เหลือประมาณ 75 บาท "ไม่งั้นผมไม่ซื้อ" "ไม่ได้"

       ( คือลูกค้า ( คนไทย ) จะพูดว่า "ไม่งั้น ผมไม่ซื้อ" ไม่ได้ ) - เพราะลูกค้าคนไทยคนนั้น ได้กดปุ่ม "Commit to buy" ( คือทำสัญญาว่าจะซื้อ ) ไปแล้ว

       เห็นไหมครับว่า  วัฒนธรรมของฝรั่ง หรือคนขายของที่อยู่ต่างประเทศนั้น เขาให้ความสำคัญกับการพูดแบบตรงไปตรงมามากขนาดไหน  คือมากขนาดที่ว่า ต้องสร้าง Option "Commit to buy" ขึ้นมาจัดการกับ "มารยาท" ที่แย่ๆของลูกค้าเลยทีเดียว 

       ในขณะที่ ถ้าเป็นการซื้อขายกันระหว่างลูกค้าคนไทย กับคนขายที่เป็นคนไทยด้วยกัน แม้ว่า ลูกค้าจะพูดกลับไปกลับมา ( คือพูดกลับไปกลับมาในทำนองที่ว่า เดี๋ยวก็บอกว่า จะซื้อ 10 ชิ้น แล้วก็บอกว่าจะกลับไปซื้อ 2 ชิ้น เพื่อจะสืบราคาทุน ) "ก็ไม่เป็นไร - เป็นเรื่องธรรมดา" เพราะคนขายคนไทย ก็ "กั๊ก" เอาไว้ล่วงหน้าแล้วเหมือนกันว่า ลูกค้าจะต้องพูดกลับไป กลับมาอย่างนี้ ดังนั้น ยังไงเสีย คนขายคนไทยคนนี้ ก็จะไม่บอกราคาทุนให้ทราบ ( คือบวกกำไรไว้มากๆ เอาไว้ตลอดเวลา อยู่ก่อนแล้ว )

       ในขณะที่คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น เขาจะคิดว่า ถ้าลูกค้าบอกว่าจะซื้อ 10 อัน ก็คือลูกค้าจะซื้อ 10 อันจริงๆ ไม่ใช่เป็นแค่กลยุทธ์การสืบราคาทุน ( เหมือนที่ลูกค้าคนไทย ใช้กับคนขายคนไทย )  ดังนั้น คนขายที่อยู่ต่างประเทศคนนนั้น เขาก็จะคิดกำไรต่ออัน ให้ต่ำที่สุดเท่าที่เขาจะรับได้ให้กับเรา ( เพราะเขาคิดว่า ลูกค้า ( คนไทย ) จะซื้อ 10 อัน ตามที่บอกไว้จริงๆ )

       ไม่ใช่แค่เรื่องการถามราคากลับไปกลับมาเพื่อสืบราคาต้นทุนนี้อย่างเดียว ที่ "คนขายที่อยู่ต่างประเทศ เขารับไม่ได้" นะครับ  ยังมีเรื่องที่มีการต่อรองในกรณีที่ว่า ตอนแรก คนขายเขา "ไม่" ส่งสินค้ามาไทย แล้วเราไปต่อรองให้เขาส่งสินค้ามาประเทศไทย  แล้วตอนหลังเขายอมส่งสินค้ามาประเทศไทย ( ตามที่เราขอร้องเขาไป ) แล้ว เรา "ดันไม่ซื้อ" ทั้งๆที่เขาตกลงมาแล้ว ด้วยนะครับ ที่ถือว่าเป็นการเสียมารยาท และเป็นเหตุให้คนขายเขา Block หรือ "แขวน" ลูกค้าอย่างเราไปเลย

       และนี่คือ "มารยาท - วัฒนธรรม" ของการซื้อขายสินค้ากับคนขายที่อยู่ต่างประเทศ เท่าที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์การซื้อสินค้าต่างประเทศแบบออนไลน์ มา "15 ปี" ครับ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

ทีมงาน tuvagroup.com "โดนแขวน" บ่อยมาก จนต้องหาวิธีแก้ไข

ข้างล่างนี้ )

      ลักษณะการทำงานของผม ( ทีมงาน tuvagroup.com ) ก็คือ การเป็นตัวแทนของลูกค้าในการ คุย , ซื้อสินค้า , ตามสินค้ากรณีที่ไม่ได้รับของ ฯลฯ

       ประเด็นสำคัญก็อยู่ที่การ คุยกับคนขายแทนคุณลูกค้านี่แหละ

       มีอยู่ 2 เคส ที่ทีมงานเจอบ่อยๆ ในกรณีที่ ลูกค้าต้องการให้คุยกับคนขาย ( หมายถึงคนขายที่ขายสินค้าออนไลน์ ที่อยู่ต่างประเทศ ) คือ

       เคสแรก - คุยต่อราคาว่าจะซื้อหลายชิ้น ขอให้คนขายลดราคาให้


       เคสสอง - ในครั้งแรก คนขายไม่ส่งสินค้ามาประเทศไทย แล้วลูกค้าขอให้ทีมงานคุยกับคนขายว่าให้ช่วยส่งมาประเทศไทยให้หน่อยได้ไหม?


       สมมติว่า เมื่อผมคุยกับคนขายให้แล้ว โดยผลการคุยนั้น เป็นดังนี้ ....

       เคสแรก - คนขายยอมลดราคาให้เรา ในราคาที่ลดต่ำสุดแล้ว ด้วยเหตุที่ว่า เราบอกว่าเราจะซื้อหลายชิ้น


       เคสสอง - คนขายเขาอุตส่าห์ไปเดินสืบราคาค่าส่งมาประเทศไทยให้เราแล้ว แล้วก็กลับมาบอกว่า ยินดีจะส่งสินค้ามาประเทศไทย ( จากที่ตอนแรก ไม่ยอมส่ง ) และบอกค่าส่งมาให้เราทราบ


       แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนขายตกลงทั้งใน เคสแรก หรือ เคสที่สอง แล้ว ปรากฏว่า "ลูกค้าหายไปเฉยๆ" คือติดต่อลูกค้าไม่ได้ , ลูกค้าไม่ยอมม่โอนเงินให้ทีมงาน เพื่อให้ทีมงานไปซื้อสินค้าจากคนขาย

* * * เมื่อ "ลูกค้าหายไปเฉยๆ" ทีมงานก็ต้องยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าครั้งนี้ไป


* * * เมื่อทีมงานยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าครั้งนี้ไป ทางคนขายเขา "ไม่ได้มอง" ว่า ลูกค้าของเรา ( หมายถึงคนที่มาใช้บริการฝากซื้อสินค้า ) หายไปเฉยๆ แต่เขามองว่า ตัวทีมงานเอง เป็นคนที่ "เสียมารยาท" ( หมานถึง การ "เสียมารยาท" ตามที่ทีมงานได้อธิบายมาข้างต้น คือ ต่อราคาแล้ว พอคนขายลดราคาให้ ก็ไม่ยอมซื้อ หรือ ขอร้องให้ส่งมาประเทศไทย พอคนขายตกลงยอมส่งไทยแล้วก็ไม่ซื้อ )


* * * เมื่อคนขายมองว่า ตัวทีมงานเอง ( ไม่ใช่ตัวคุณลูกค้า ) ที่ "เสียมารยาท" คนขายเขาก็จะ Block หรือ "แขวน" ( คำว่า "แขวน" คือไม่คุยด้วย ) ตัวทีมงานไปเลย เพราะคนขายคนนั้น "ไม่มีความอดทนด้านอารมณ์"

       การที่คนขายเขา "ไม่มีความอดทนด้านอารมณ์" ก็เพราะ ตัวคนขายเขา ไม่ได้รับการอบรมมาให้รองรับพฤติกรรมลูกค้า เหมือนกับที่บริษัทใหญ่ๆที่เขาอบรมแผนกบริการลูกค้าอยู่เป็นประจำ - นั่นเอง 


* * * เมื่อทีมงานโดน Block หรือ "แขวน" จากคนขายรายนั้น ก็จะทำให้ทีมงาน "บริการ" ลูกค้าคนอื่นๆที่จะซื้อสินค้าจากเวบนั้น ไม่ไดอีกเลย ซึ่งเป็นผลเสียอย่างร้ายแรง 

       ยกตัวอย่างเช่น ทีมงานโดนคนขายสินค้าของเวบ อาลีบาบา Block หรือ "แขวน" ( อันเนื่องมาจากการที่ ลุกค้าของทีมงาน tuvagroup.com หายไปเฉยๆ แล้วทีมงานก็เลยไม่ได้สั่งซื้อกับคนขายเจ้านั้นๆ ( หลายครั้ง ) )

       เวบ อาลีบาบา มีสินค้าขายเป็น ล้านๆรูปแบบ จึงทำให้มีลูกค้าอยากได้สินค้าที่เวบ อาลีบาบา อยู่เป็นจำนวนหลายคน

       เมื่อทีมงานโดนคนขายสินค้าของเวบ อาลีบาบา  Block หรือ "แขวน" นั่นก็หมายความว่า ทีมงาน "ไม่สามารถให้บริการ" กับลูกค้าคนอื่นๆ ที่จะฝากให้ทีมงานซื้อสินค้าที่เวบ อาลีบาบา ได้อีก

       เมื่อทีมงาน "ไม่สามารถให้บริการ" กับลูกค้าคนอืนๆ ( ที่จะฝากให้ทีมงานซื้อสินค้าที่เวบ อาลีบาบา ) ก็จะทำให้ทีมงาน tuvagroup.com สูญเสียรายได้

       เมื่อที
มงาน tuvagroup.com ต้องสูญเสียรายได้ ก็จะทำให้ทีมงาน ไม่สามารถทำธุรกิจรับฝากซื้อสินค้าได้อีก เพราะขาดเงินค่าบริการที่จะใช้หล่อเลี้ยงธุรกิจนั่นเอง

       นี่คือเหตุผลหลัก ( ซึ่งก็คือเรื่องของการสูญเสียรายได้ ) ที่ทีมงานต้องระมัดระวังเรื่องการโดน Block หรือโดน "แขวน" โดยคนขายจากร้านค้าออนไลน์ต่างๆ

       วิธีที่ทีมงาานใช้ในการปัองกันการโดน  Block หรือโดน "แขวน"  คือข้างล่างนี้ ...

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

 ต้อง "โอนเงินยอดเต็ม ( ไม่ใช่แค่ยอดมัดจำ)"

ให้ทีมงาน tuvagroup.com ก่อนทุกครั้ง !


ข้างล่างนี้ )

      ก่อนจะ ประมูลสินค้า หรือ ให้ทีมงาน tuvagroup.com ต่อรองกับคนขาย ( เช่น ต่อรองว่าส่งสินค้ามาประเทศไทยได้ไหม? ต่อรองขอลดค่าส่ง ในกรณีที่ซื้อสินค้า 2 ชิ้นแล้วขอรวมกล่องเป็นกล่องเดียว แล้วขอลดค่าส่ง ) ขอให้ทางคุณลูกค้า โอนเงินยอดเต็ม ( ไม่ใช่แค่ยอดมัดจำ ) มาให้ทีมงาน tuvagroup.com ถือไว้ก่อนนะครับ

       ถ้าคนขายเขาโอเค เช่น ยอมส่งไทย หรือยอมลดค่าส่งให้ ทีมงานก็จะได้จ่ายเงินเขาไปตามนั้น

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -       

ถ้าคุณลูกค้า "ไม่" อยากโอนเงินมาก่อน ?

ข้างล่างนี้ )

      ในกรณีที่คุณลูกค้า "ไม่" อยากโอนเงินมาก่อน ( คืออยากจะรู้ยอดเงินเต็มๆด้วยตัวเอง แล้วจะตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ ) ก็สามารถทำได้โดย คุยกับคนขายด้วยตัวเอง โดยให้ทีมงานพิมพ์ภาษาอังกฤษให้ ได้นะครับ คือแค่บอกกับทีมงาน ( ทางไลน์ ) ว่า "จะคุยกับคนขายเอง แต่ขอให้ทีมงานพิมพ์ภาษาอังกฤษให้หน่อย"  

       แล้วถ้าคนขาย ( ที่คุณคุยด้วย ) เขาให้คำตอบ หรือให้ราคาที่คุณพึงพอใจ คุณก็ค่อยโอนเงินมาให้ทีมงาน tuvagroup.com เพื่อให้ทีมงาน tuvagroup.com จ่ายเงินให้คนขายได้นะครับ แล้วทีมงานถึงค่อยคิดค่าบริการตอนที่โอนเงินนั้นนั่นแหละครับ ( ตอนที่พิมพ์ภาษาอังกฤษให้ - ไม่ได้คิดค่าบริการ  /  หมายถึงว่า ถ้าคุณลูกค้าคุยกับคนขายด้วยภาษาอังกฤษที่ทีมงานพิมพ์ให้ แล้วคุณลูกค้าไม่พอใจกับคำตอบของคนขาย แล้วคุณลูกค้าไม่สั่งซื้อสินค้าชิ้นนั้น อย่างนี้ ก็คือว่าทีมงานไม่คิดค่าบริการใดๆนะครัน )

       ด้วยวิธีนี้ ( คือ คุยกับคนขายด้วยตัวเอง โดยให้ทีมงานพิมพ์ภาษาอังกฤษให้ ) ก็จะทำให้คุณลูกค้าไม่ต้องโอนเงินมาให้ทีมงานก่อนแต่อย่างใด และคุณก็จะได้มีเวลาตัดสินใจ ( หลังจากได้รับคำตอบจากคนขายแล้ว ) ว่าจะซื้อสินค้าชิ้นนั้นหรือไม่

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

สรุป ...

ข้างล่างนี้ )


* * * ประการแรก - คนขายสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์" ที่เป็นพ่อค้ารายย่อยนั้น ( คำว่าพ่อค้ารายย่อย หมายถึง คนขายสินค้าที่ อีเบย์ อะเมซอน อาลีเอกเพรส อาลีบาบา - ซึ่งไม่มีแผนกบริการลูกค้าเหมือนกับที่เว็บของบริษัท Microsoft หรือเว็บของบริษัท Wallmart มีอยู่ ) มักจะมีขีดความอดทนต่ำ 

       ผลของการที่เขามีความอดทนต่ำก็คือว่า ถ้าทีมงาน tuvagroup.com ไปเสียมารยาทกับเขา เช่น ขอต่อราคาให้ถูกลง พอเขาให้ราคาถูกลงแล้ว ก็ดันไม่ซื้อ  /  หรือกรณี ขอให้เขาส่งสินค้ามาไทย แล้วพอคนขายตกลงจะส่งสินค้ามาไทย ก็ดันไม่ซื้อ  /  สิ่งที่คนขายจะทำก็คือการพร้อมใจกัน Block หรือ "แขวน" ทีมงาน tuvagroup.com ไปเลย ( ด้วยความที่คนขายพวกนั้น มีขีดความอดทนต่ำ ) คือทำให้ทีมงาน tuvagroup.com ไม่สามารถซื้อสินค้าจากเว็บของผู้ขายรายย่อยนั้นได้อีก

       พอทีมงาน ถูก Block หรือ "แขวน" จนไม่สามารถซื้อสินค้าจากเว็บนั้นได้อีก พอตอนหลัง มีลูกค้าคนอื่นๆที่อยากได้สินค้าจากเว็บนี้ แล้วจะฝากให้ทีมงาน tuvagroup.com ซื้อให้  ทีมงาน tuvagroup.com ก็จะไม่สามารถซื้อสินค้าที่เว็บนี้ได้อีกแล้ว ( เพราะทีมงาน โดน Block หรือ "แขวน" ไปแล้ว ) ทำให้ทีมงานสูญเสียรายได้จากการได้รับค่าบริการไป


* * * ประการที่สอง - คือวิธีปฏิบัติ ซึ่งก็คือว่า ถ้าหากคุณลูกค้าต้องการซื้อสินค้า "ต่างประเทศ" แบบ "ออนไลน์" ใดๆ ที่ต้องมีการคุยกับคนขายก่อน คุณลูกค้ามีทางเลือกสองทางคือ

       ทางเลือกที่ 1 - โอนเงินในยอดเต็มมาให้ทีมงานก่อน แล้ว "ให้ทีมงานคุยกับคนขายให้" ( คือจบในขั้นตอนเดียว ) หรือ ...


       ทางเลือกที่ 2 - ไม่ต้องโอนเงินมาให้ทีมงาน แต่ให้ทีมงานพิมพ์ภาษาอังกฤษให้ เพื่อให้คุณเอาภาษาอังกฤษที่ทีมงานพิมพ์ให้นี้ ไปใช้ "คุยกับคนขายด้วยตัวเอง" แล้วถ้าคนขายให้คำตอบที่คุณพึงพอใจ ก็ค่อยโอนเงินมาให้ทีมงาน tuvagroup.com ซื้อของให้

- END -

Wednesday, March 10, 2021

การฟ้องร้องขอเงินคืน ที่ PayPal

 

การฟ้องร้องขอเงินคืน ที่ PayPal




       เวลาเราหาซื้อสินค้าทางออนไลน์จากต่างประเทศ แล้วเราเห็นโลโก้ของ PayPal ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) บางครั้งเราก็อาจจะเข้าใจผิดได้

       เข้าใจผิดอย่างไร? ก็คือเข้าใจผิดว่า หากซื้อสินค้าทางออนไลน์ด้วยการจ่ายเงินผ่านทาง PayPal แล้ว "ถ้าคนขายโกง" เราก็จะสามารถเรียกเงินคืนกลับมาได้

       ความจริงแล้ว มันไม่สามารถทำได้  คือหมายความว่า หากมีการโอนเงินไปให้คนขายเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าการจ่ายเงินครั้งนั้น สมบูรณ์ ( Compleate ) ไปแล้ว ไม่สามารถเรียกเงินคืนได้แล้ว

       ซึ่งบริษัท PayPal ขอบพูดว่า ถ้าจ่ายเงินด้วย PayPal แล้ว หากมีปัญหา จะสามารถเรียกเงินคืนได้  ซึ่งความจริงแล้ว นั่นเป็นแค่ "ทางทฤษฏี" ตามตัวหนังสือเท่านั้น   เพราะว่าใน "ทางปฏิบัติ" แล้ว ไม่สามารถทำได้  แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ นั่นคือ ถ้าเราซื้อสินค้าจากเวบอีเบย์ เราก็จะสามารถเรียกเงินคืนได้ ในกรณีที่ถูกคนขายโกง

       เพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น ทีมงานขอแบ่งประเภทของการโอนเงินด้วย PayPal ออกเป็น 2 ประเภท ดังข้างล่างนี้นะครับ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

1.การโอนเงินทาง PayPal แบบที่เรียกเงินคืนได้

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


+



      ( ภาพบน ) ในกรณีที่เราชำระเงินให้คนขายด้วย PayPal โดยซื้อสินค้าออนไลน์จากเวบอีเบย์นั้น  อย่างนี้ เราได้รับความคุ้มครองนะครับ

       คือหมายความว่า หากเราโอนเงินให้คนขายไปแล้ว ต่อมาภายหลัง เราถูกคนขายโกง เช่น ไม่ส่งสินค้าให้  เราก็สามารถเรียกเงินคืนได้เต็มจำนวนเลย

       การเรียกเงินคืนได้เต็มจำนวน ( ในกรณีที่ถูกคนขายโกง ) นี่แหละครับ คือการที่เราได้รับความคุ้มครองการจ่ายเงินของเรา


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

2.การโอนเงินทาง PayPal แบบที่เรียกเงินคืน "ไม่ได้"

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

+



      ( ภาพบน ) คราวนี้ ถ้าเราใช้การจ่ายเงินผ่านทาง PayPal เหมือนเดิม "แต่" เราไม่ได้ซื้อสินค้าที่เวบอีเบย์ คือเราไปซื้อสินค้าที่เวบอื่น "ที่ไม่ใช่เวบอีเบย์" ( แต่เรายังใช้การจ่ายเงินด้วย PayPal อยู่ )

       ในกรณีเช่นนี้ หากโดนคนขายโกง เราจะ "ไม่สามารถเรียกเงินคืนได้เลยแม้แต่บาทเดียว" แม้ว่าเราจะจ่ายด้วย PayPal ก็ตาม 

       และทีมงานขอย้ำคำพูดของทีมงานให้ฟังอีกทีนะครับว่า การที่บอกว่าใช้ PayPal ซื้อสินค้าจากเวบไหนก็ได้ แล้วจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ถูกคนขายโกงนั้น เป็นแค่ "ทางทฤษฏี" เท่านั้น เพราะใน "ทางปฏิบัติ" เราจะได้รับความคุ้มครองก็เฉพาะตอนที่ซื้อสินค้าจากเวบอีเบย์อย่างเดียว

       พูดง่ายๆว่า หากเราใช้การจ่ายเงินด้วย PayPal แต่ว่าเราไปซื้อสินค้าออนไลน์จาก เวบอื่น "ที่ไม่ใช่เวบอีเบย์" นั้น ใน "ทางปฏบัติ" เราจะไม่สามารถเรียกเงินคืนได้ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

ระบบของบริษัท PayPal

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     



       ทีมงานนำสถานะการณ์ของจริง ( ไม่ใช่เรื่องสมมติ ) เคสหนึ่งเอามาให้ดูนะครับ ซึ่งเคสนี้ เป็นเคสที่ทีมงานซื้อสินค้าจากเวบหนึ่ง ที่ "ไม่ใช่เวบอีเบย์" ให้ลูกค้า โดยทีมงานชำระเงินด้วย PayPal ไป 

       ต่อมา ปรากฏว่าคนขายโกง คือไม่ส่งสินค้าให้เรา และไม่มีการตอบกลับใดๆด้วย

       ใน "ทางทฤษฏี" ทางบริษัท PayPal บอกว่าสามารถฟ้องร้องเรียกเงินคืนได้ 

       แต่ใน "ทางปฏิบัติ" มาดูกันว่า บริษัท PayPal เขาทำอย่างไร? มาดูรายละเอียดกันครับ ... ( ข้างล่างนี้ )


ภาพบน ) หน้าเวบของบริษัท PayPal

      ( ภาพบน ) เหตุการณ์จริงๆ ที่เกิดขึ้น ( ไม่ใช่การสมมติ ) ก็คือ ทีมงานได้สั่งซื้อสินค้าให้คุณลูกค้าท่านหนึ่ง แล้วต่อมา ปรากฏว่าผ่านไปนานแล้วก็ยังไม่ได้รับเลข Tracking Number  และเมื่อติดต่อไปหาคนขายแล้ว คนขายก็ "เงียบ"  ไม่ตอบอะไรกลับมาเลย  /  ซึ่งอาการแบบนี้ ( คืออาการที่คนขายไม่ให้เลข Tracking Number และถามอะไรไป ก็ไม่ตอบ ) มันเป็นสัญญาณบอกเราแล้วว่า คนขายคนนี้ตั้งใจโกงเราแล้ว ซึ่งประเด็นสำคัญๆในเคสนี้ก็คือว่า ... ( ข้างล่างนี้ ) 

 * * *  ในเคสนี้ ทีมงานชำระเงินให้คนขายด้วยการชำระผ่านช่องทาง PayPal


* * * และเนื่องมาจากว่าทีมงาน "เคยได้ยิน" มาว่าถ้าใช้ PayPal เป็นช่องทางชำระเงิน แล้วต่อมาภายหลัง โดนคนขายโกงเข้าล่ะก็ ทาง PayPal ก็จะตามเรื่องให้เรา ( คือจะดึงเงินคืนจากคนขาย ( ที่ขี้โกง ) คนนั้น กลับคืนมาให้เรา )


* * * ดังนั้น ทีมงานจึง Log in เข้ามาในเวบ PayPal แล้วแจ้งเหตุให้ทาง PayPal ทราบว่าทีมงานโดนโกงเงิน และขอให้ทางบริษัท PayPal ช่วยรับเรื่องฟ้องร้องจากทีมงาน นำไปดำเนินการฟ้องร้องเอาเงินคืนจากคนขาย เอากลับมาให้ทีมงานหน่อย ( แล้วทีมงานจะได้เอาเงินที่ได้รับคืนมานี้ กลับไปคืนให้คุณลูกค้าอีกที )


 * * * เมื่อแจ้งเหตุเรียบร้อยแล้ว ทางเวบ PayPal ก็ใช้ระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ตอบกลับมา เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 

ภาพบน ) ให้ดูเฉพาะตรงส่วนที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้



ภาพบน ) ภาพขยายของส่วนที่อยู่ใน กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีเขียว ในภาพก่อนหน้านี้

      ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้คือ ระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ของบริษัท PayPal ที่ตอบอีเมลกลับมาหาทีมงาน

       คือหมายความว่า ทีมงานพิมพ์แจ้งเหตุไปให้ทางเวบ PayPal ทราบว่า ทีมงานถูกโกงโดยใคร? อย่างไร? เมื่อวันที่เท่าไร? หมายเลขธุรกรรมการโอนเงินคืออะไร? ฯลฯ

       หลังจากนั้น ก็จะมีระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ตอบอีเมลกลับมาหาทีมงาน  /  โดยอีเมลของบริษัท PayPal ที่ตอบกลับมานั้น มีหน้าตาเหมือนในภาพข้างบนนี้

       เนื้อหาในอีเมลข้างบนนี้บอกว่าให้หาวิธีแก้เอาเอง ตามคำแนะนำที่อยู่ในอีเมลข้างบนนี้ แต่ก็มีคำพูดที่พูดว่า ทีมงานสามารถทำการฟ้องร้องคนขายได้ ภายในเวลาไม่เกิน 180 วันนับจากวันที่คนขายรับเงินไปเรียบร้อยแล้ว ( ซึ่งในเคสนี้ คนขายก็รับเงินไปเรียบร้อยตั้งแต่วันแรกที่ทีมงานสั่งซื้อแล้ว ) 

       ซึ่งก็แน่นอนอยู่แล้วว่าทีมงานต้องการจะฟ้องร้องเอาเงินคืนจากคนขายอยู่แล้ว  ดังนั้น ทีมงานจึงส่งข้อมูลในการฟ้องร้องไปให้บริษัท PayPal เช่นให้ข้อมูลว่า คนขายรับเงินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่เท่าไร? คนขายคือใคร? การโกงที่ว่านั้น ก็คือการไม่ส่งสินค้าให้ ไม่ให้เลข Tracking Number ,การที่ถามอะไรคนขายไป คนขายก็ไม่ตอบ ฯลฯ

       หลังจากที่ทีมงานส่งข้อมูลสำหรับการฟ้องร้องไปให้บริษัท PayPal แล้ว เรามาดูกันครับว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นต่อจากนั้น 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

คำตอบจากบริษัท PayPal

ของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 09.42 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     







       ( ภาพบน ) ขอพูดซ้ำอีกทีนะครับ เพราะว่าทีมงานกำลังเรียงลำดับเหตุการณ์ให้คุณผู้อ่าน ได้อ่านอีกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น 

       คือว่า ทีมงานโดนคนขายเบี้ยว ทีมงานก็เลยแจ้งเหตุไปทางบริษัท PayPal เพื่อทำการฟ้องร้องขอเงินคืนจากคนขาย

       ต่อมา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 09.42 น. ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ก็มีอีเมลมาจากบริษัท PayPal ตอบกลับมาหาทีมงาน ดังที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       โดยเนื้อหาในอีเมลก็บอกว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้ 

       ในเมื่อเนื้อหาในอีเมลข้างบนนี้ บอกว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้  ทีมงานก็เลยจัดส่งข้อมูล เพื่อจะทำการฟ้องร้องคนขายตามขั้นตอนไป  /  เดี๋ยวเรามาดูกันต่อว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นต่อจากนี้บ้าง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

คำตอบจากบริษัท PayPal

ของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 11.38 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     






       ( ภาพบน ) หลังจากทีมงานส่งข้อมูลที่จะใช้ในการฟ้องร้องไปให้บริษัท PayPal แล้ว สักพัก ก็มีอีเมลจากบริษัท PayPal ตอบกลับมาหาทีมงาน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 11.38 น. ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือตอบกลับมาในวันเดียวกันนั้นเลย

       ซึ่งเมื่อทีมงานอ่านข้อความในอีเมลฉบับข้างบนนี้แล้ว ก็ต้อง "ตกใจ" เพราะข้อความในอีเมลนั้น เป็นระบบ "ตอบอัตโนมัติ" เหมือนกับอีเมลฉบับแรกเลย ( คือเนื้อหาเหมือนในอีเมลฉบับก่อนหน้านี้ )

       คือเนื้อหาในอีเมลนั้น ก็บอกเหมือนเดิมว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้ 

       การที่ทีมงานเห็นข้อความตอบกลับจากบริษัท PayPal ( ที่ปรากฏในภาพข้างบนนี้ ) "ซ้ำ" กับอีเมลฉบับก่อนหน้านี้  ทีมงานก็เลยคิดว่า อาจจะมีความผิดพลาดของระบบ PayPal ก็ได้ ดังนั้น ทีมงานจึงตั้งใจทิ้งเวลาไว้ 3 วัน แล้วจะเขียนอีเมลส่งข้อมูลการฟ้องร้องไปใหม่

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

คำตอบจากบริษัท PayPal

ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 19.24 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     







      ( ภาพบน ) เมื่อเวลาผ่านไป 3 วันนับจากวันที่ทีมงานได้รับอีเมลของบริษัท PayPal ที่เห็นในภาพก่อนหน้านี้นั้น ( ซึ่งก็คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 11.38 น. )  /  ทีมงานก็ส่งข้อมูลสำหรับการฟ้องร้องส่งไปให้บริษัท PayPal ใหม่อีกครั้ง

       จากนั้น ก็มีอีเมลจากบริษัท PayPal ตอบกลับมาหาทีมงาน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 19.24 น. ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือตอบกลับมาในวันเดียวกันนั้นเลย 

       ซึ่งเมื่อทีมงานอ่านข้อความในอีเมลฉบับข้างบนนี้แล้ว ก็ต้อง "ตกใจอีกครั้ง" เพราะข้อความในอีเมลนั้น เป็นระบบ "ตอบอัตโนมัติ" เหมือนกับอีเมลฉบับก่อนหน้านี้เลย 

       คือเนื้อหาก็บอกว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้ ( พูดเหมือนในอีเมลฉบับก่อนหน้านี้ ) 

       ทีมงานก็เลยพยายามจะส่งข้อมูลสำหรับการฟ้องร้องอีกครั้ง และพยายามสอบถามทางเวบ PayPal ว่าตัวทีมงานเองนั้น "ทำอะไรผิดพลาดหรือเปล่า?" บริษัท PayPal ถึงไม่ยอมรับเรื่องฟ้องจากทีมงาน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

คำตอบจากบริษัท PayPal

ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 19.44 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     







       ( ภาพบน ) ทีมงานเขียนอีเมลไปถามบริษัท PayPal ว่า ทีมงาน "ทำอะไรผิดหรือเปล่า" ทางบริษัท PayPal ถึงไม่ยอมรับเรื่องฟ้องร้องจากทีมงาน

       จากนั้น ก็มีอีเมลจากบริษัท PayPal ตอบกลับมาหาทีมงาน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 19.44 น. ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือตอบกลับมาในวันเดียวกันนั้นเลย

       และเนื้อหาในอีเมลก็ยังเหมือนเดิม คือบอกว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้ ( พูดเหมือนในอีเมลฉบับก่อนหน้านี้ ) 

       โดยเนื้อหาในอีเมลฉบับข้างบนนี้ ไม่มีการตอบคำถาม ที่ทีมงานถามไปว่า ทีมงาน "ทำอะไรผิดหรือเปล่า" ทางบริษัท PayPal ถึงไม่ยอมรับเรื่องฟ้องจากทีมงาน

       คือหมายความว่า ยังไม่รับเรื่องฟ้อง ก็ไม่เป็นไร แต่ก็ควร "ตอบคำถาม" ที่ทีมงานถามไป ไม่ใช้ใช้ระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ตอบกลับมาอย่างเดียว


       ทีมงานก็เลยลองแก้ข้อมูลการฟ้องร้อง และลองถามเรื่องอื่นๆไป  /  คือทีมงานพยายามหาช่องทางพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ที่เป็น "คนจริงๆ" ( หมายถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัท PayPal ) ไม่ใช่ระบบ "ตอบอัตโนมัติ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

คำตอบจากบริษัท PayPal

ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 20.14 น. 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -        





      ( ภาพบน ) ก่อนจะได้รับอีเมลฉบับข้างบนนี้นั้น ทีมงานได้ลองแก้ข้อมูลการฟ้องร้อง และลองถามเรื่องอื่นๆไป  เพื่อหาช่องทางพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ที่เป็น "คนจริงๆ" ( หมายถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัท PayPal ) ไม่ใช่ระบบ "ตอบอัตโนมัติ

       จากนั้น ก็มีอีเมลจากบริษัท PayPal ตอบกลับมาหาทีมงาน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 20.14 น. ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือตอบกลับมาในวันเดียวกันนั้นเลย

       ซึ่งเนื้อหาในอีเมลก็ยังเหมือนเดิม คือบอกว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้ ( พูดเหมือนในอีเมลฉบับก่อนหน้านี้ ) 

       โดยเนื้อหาในอีเมลฉบับข้างบนนี้ ไม่มีพูดคุยตอบกลับโดย "คนจริงๆ" ( หมายถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัท PayPal ) แต่อย่างใด  /  เนื้อหาในอีเมล เป็นข้อความที่มาจากระบบ "ตอบอัตโนมัติ" เหมือนเดิม 

       อย่างนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการคุยกับก้อนหิน หรือฝาผนังบ้านเลย เพราะก้อนหิน กับฝาผนังบ้าน เราพูดคุยอะไรไป มันก็ไม่ตอบอะไรกลับมา

       คราวนี้ ทีมงานจะทดลองอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการเอาวิธีทั้งหมดที่ทีมงานทดลองไว้ก่อนหน้านี้  รวมไว้ในการทดลองครั้งสุดท้ายนี้ครั้งเดียว นั่นคือ ... ( ข้างล่างนี้ )  

* * * ทิ้งระยะเวลา 3 วัน แล้วค่อยเขียนอีเมลไปหาบริษัท PayPal อีกครั้ง


* * * พิมพ์ข้อมูลสำหรับการฟ้องร้องใหม่อีกครั้ง โดยพยายามให้ข้อมูลอย่างละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะหาได้     


* * * ถามไปว่าทีมงาน "ทำอะไรผิด" บริษัท PayPal ถึงไม่รับเรื่องการฟ้องร้องจากทีมงาน 


 * * * แกล้งถามประเด็นอื่นๆ เช่น ถามไปในอีเมลว่าช่วงนี้มีงานเยอะไหม?  /  เพื่อจะได้มีประเด็นที่ทางบริษัท PayPal ไม่สามารถใช้ระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ตอบกลับมาได้  ต้องใช้ "คนจริงๆ" มาตอบคำถามนี้ ( ที่ทีมงานถามไปว่า ช่วงนี้งานเยอะไหม? ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

คำตอบจากบริษัท PayPal

ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เวลา 00.58 น.


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -        








       ( ภาพบน ) ก่อนจะได้รับอีเมลฉบับข้างบนนี้นั้น ทีมงานได้พยายามทำดังนี้คือ

* * * ทิ้งระยะเวลา 3 วัน ( นับตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ) แล้วค่อยเขียนอีเมลไปหาบริษัท PayPal อีกครั้ง 


* * * พิมพ์ข้อมูลสำหรับการฟ้องร้องใหม่อีกครั้ง โดยพยายามให้ข้อมูลอย่างละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะหาได้   


 * * * ถามไปว่าทีมงาน "ทำอะไรผิด" บริษัท PayPal ถึงไม่รับเรื่องการฟ้องร้องจากทีมงาน 


 * * * แกล้งถามประเด็นอื่นๆ เช่น ถามไปในอีเมลว่าช่วงนี้มีงานเยอะไหม?  /  เพื่อจะได้มีประเด็นที่ทางบริษัท PayPal ไม่สามารถใช้ระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ตอบกลับมาได้  ต้องใช้ "คนจริงๆ" มาตอบคำถามนี้ ( ที่ทีมงานถามไปว่า ช่วงนี้งานเยอะไหม? ) 


       จากนั้น ก็มีอีเมลจากบริษัท PayPal ตอบกลับมาหาทีมงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เวลา 00.58 น. ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) 

       และเนื้อหาในอีเมลก็ยังเหมือนเดิม คือบอกว่าทีมงานสามารถฟ้องร้องคนขายได้ ( พูดเหมือนในอีเมลฉบับก่อนหน้านี้ ) 

       โดยเนื้อหาในอีเมลฉบับข้างบนนี้ ไม่มีพูดคุยตอบกลับโดย "คนจริงๆ" ( หมายถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัท PayPal ) แต่อย่างใด  /  เนื้อหาในอีเมล เป็นข้อความที่มาจากระบบ "ตอบอัตโนมัติ" เหมือนเดิม 

       ณ.ตอนนี้ ก็สรุปได้แล้วว่า บริษัท PayPal ไม่รับเรื่องฟ้องร้องจากเรา  โดยวิธีไม่รับเรื่องฟ้องร้องนั้น ก็คือ ใช้ระบบ "ตอบอัตโนมัติ" ตอบกลับมาหาเราอย่างเดียว


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

ผ่านไป "2 เดือน" ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -        

      ตอนที่ทีมงานกำลังเขียนหน้าเวบอยู่นี้ เวลาก็ผ่านไปจะสองเดือนแล้ว และทีมงานก็ไม่เห็นข้อความใดๆส่งมาจากบริษัท PayPal เพิ่มเติมเลย

       ทีมงานพยายามคิดในแง่ดีว่า บางที เดือนกุมภาพันธ์ ( คือช่วงเวลาที่ทีมงานเขียนอีเมลไปก่อนหน้านี้ทั้งหมด ) งานของบริษัท PayPal อาจจะเยอะก็ได้  เขาก็เลยไม่มีเวลาดำเนินการรับเรื่องฟ้องร้องจากเรา ก็เลยต้องใช้ระบบ "ตอบอีเมลอัตโนมัติ" ตอบอีเมลเรากลับมา 

       แต่ความจริง ทีมงานแล้ว "คิดผิด"  /  ที่พูดว่าทีมงาน "คิดผิด" ก็เพราะว่า จริงๆแล้วน่าจะเป็นนโยบายของบริษัท PayPal มากกว่า ที่ไม่ยอมรับเรื่องที่ทีมงานแจ้งไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  ไม่ใช่ว่างานของบริษัท PayPal เยอะจนไม่มีเวลารับเรื่องฟ้องร้องจากเราแต่อย่างใด

       เพราะว่า ถ้านโยบายบริษัท PayPal เขาจะรับเรื่องฟ้องร้องจากเรา นี่ก็ผ่านไป "2 เดือน" แล้ว ทางบริษัท PayPal ก็น่าจะรับเรื่องฟ้องร้องจากเราได้แล้ว หรือไม่ ก็ควรจะมีข้อความอย่างอื่น ( เช่นการแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่รับเรื่องของเราตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ) ตอบกลับมาบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้เวลาผ่านไป "2 เดือน" แล้วก็ยังเงียบเหมือนเดิม 


       ( ภาพบน ) ก็คือว่า ถ้าทีมงานยังไม่ได้ถามอะไรไปเพิ่มเติม  ไอ้เจ้าหน้า Message Center ก็จะค้างเหมือนในภาพข้างบนนี้ไปตลอดกาล  คือจะไม่มีการเคลื่อนไหว หมายถึงจะไม่มีอีเมลจาก PayPal ที่ควรจะบอกว่า "เรื่องที่คุณแจ้งเรามาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นั้น เรารับเรื่องไว้แล้ว หรือพูดว่า เราไม่สามารถรับเรื่องได้ เพราะ... บลา...บลา...บลา...  /  มันจะไม่มีข้อความอะไรแบบนั้น โผล่เข้ามาใน Message Center ในภาพข้างบนนี้เลย 

       หรือเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนแล้ว ถ้าทีมงานถามไปว่า พร้อมจะรับเรื่องหรือยัง? ก็รับรองได้เลยว่า ทีมงานก็จะได้อีเมลตอบกลับแบบ "ตอบอัตโนมัติ" จากบริษัท PayPal อีกว่า ทีมงานสามารถฟ้องร้องได้ ( ข้อความเหมือนเดิมทุกประการ )

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

มันคือความพยายามที่ไร้ผล

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -        

      คุณลูกค้าบางท่าน ที่ฝากทีมงานซื้อสินค้าจากต่างประเทศให้ และให้ใช้การจ่ายด้วย PayPal แล้วต่อมา ถูกคนขายโกง ไม่ส่งของให้ แล้วมาปรึกษาทีมงานว่าทำอย่างไรจะได้เงินคืน 

       ทีมงานก็ตอบกลับไปว่า "ไม่สามารถเรียกเงินคืนได้" เพราะว่าบริษัท PayPal เขาไม่รับเรื่อง

       แม้คุณลูกค้าจะ "เถียง" ทีมงานว่า บริษัท PayPal เขาจะไม่รับเรื่องได้อย่างไร ในเมื่อบริษัท PayPal เขาจะมีสโลแกน มีการโฆษณาว่าตัวบริษัทเอง ( หมายถึง บริษัท  PayPal ) "สามารถจัดคืนเงินให้กับลูกค้าได้ ในกรณีที่ถูกคนขายโกง"
  และคุณลูกค้าก็อาจจะพูดกับทีมงานว่า ทีมงานได้ลอง "พยายาม" แจ้งไปทางบริษัท PayPal ให้หรือยัง? คำตอบก็คือ ... ( ข้างล่างนี้ )


      ( ภาพบน ) ทีมงานขอบอกว่า คำพูดของบริษัท PayPal ที่ว่า "สามารถจัดคืนเงินให้กับลูกค้าได้ ในกรณีที่ถูกคนขายโกง" นั้น มันเป็นแค่ทาง "ทางทฤษฏี" เท่านั้น

       เพราะใน "ทางปฏบัติ" ทางบริษัท PayPal เขาไม่รับเรื่องฟ้องร้องเราตั้งแต่ต้นแล้ว

       คือเรา "ส่งเรื่องฟ้องได้ แต่เขาไม่รับเรื่อง" ( ส่งได้ แต่ไม่รับ 

       ก็เหมือนในเคสที่เอามาให้ดูในหน้าเวบนี้ ที่ทีมงานพยายามติดต่อกับบริษัท PayPal ตั้งหลายครั้ง  ( ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี ปีกกาสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้ )  แต่ทางบริษัท PayPal ก็ไม่ได้รับเรื่องฟ้องร้องจากทีมงานแต่อย่างใด 


       ทีมงานถึงพูดว่า มันคือความพยายามที่ไร้ผล ในการที่เราจะฟ้องร้องขอเงินคืนจากผู้ขาย โดยให้ทางบริษัท PayPal ดำเนินการให้เรา 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

ทิ้งท้าย 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -        



+



      ( ภาพบน ) ถ้าคุณลูกค้าซื้อซื้อสินค้า โดยการจ่ายด้วย PayPal แล้วต้องการ "ความคุ้มครอง" ในกรณีที่ถูกคนขายโกงล่ะก็  ขอให้คุณ ซื้อที่เวบอีเบย์เท่านั้น นะครับ  รับรองปลอดภัยแน่นอน คือถ้าคุณถูกคนขายโกง ไม่ส่งสินค้าให้ คุณก็จะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนครับ ขอเพียงแต่ว่า คุณต้องฟ้องร้องในเวลาที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งทางเวบอีเบย์จะเป็นผู้กำหนดมาว่า ลูกค้ามีระยะเวลาฟ้องร้องไม่เกินวันที่เท่าใดหลังจากโอนเงินให้คนขายไป ( ดูเป็นเคสๆไปครับ ) 


- END -