- หน้า 2 ( หน้าสุดท้าย ) -
หน้า 1 < หน้า 2
( ภาพบน ) ที่ทีมงานเห็นว่า คนขายคนนี้ เป็นนักกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด ก็เพราะว่า คนขายคนนี้ มอง "ภาพรวม" ของระบบอีเบย์ออก
เมื่อคนขายคนนี้มองภาพรวมของระบบอีเบย์ออก เขาก็เลยวางกลยุทธ์ในการโกงลูกค้า ( อย่างเรา ) ได้ โดยที่ลูกค้าอย่างเรา ไม่สามารถฟ้องร้องอีเบย์ให้เอาเรื่องกับคนขายคนนี้ได้เลย
คนขายคนนี้ รู้ "ช่องโหว่" ของระบบบริหารอีเบย์ แล้วใช่ "ช่องโหว่" อันนั้น นำมาเอาเปรียบลูกค้าอย่างเรานั่นเอง
ข้างล่างนี้ ทีมงานจะให้คุณผู้อ่านได้เห็น "ภาพรวม" เหมือนที่คนขายคนนี้เห็นนะครับ แล้วคุณผู้อ่านก็จะเข้าใจด้วยตัวเองว่า ทำไมคนขายคนนี้ มันถึงโกงได้
( ภาพบน ) ภาพรวมอันดับแรก คือ ระยะเวลาที่หมดเวลาประกันสินค้าของอีเบย์ |
โดยวิธีการคำนวณก็คือ คนขายจะเอาวันที่อีเบย์กำหนดให้เป็นวันขีดเส้นตาย ที่ลูกค้าจะต้องได้รับสินค้า ( The estimate deliver date ) ซึ่งในกรณีนี้ อีเบย์กำหนดให้เป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ แล้วบวกเข้าไปอีก 15 วัน ซึ่งก็คือวันที่ 11 มีนาคม ( เหตุที่ต้องบวกเข้าไป "15 วัน" ก็เพราะเวลา 15 วันนี้ มาจากการที่ระเบียบของอีเบย์บอกไว้ว่า ถ้าลูกค้า "ไม่ฟ้อง" อีเบย์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่เป็น The estimate deliver date ( ซึ่งก็คือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ) ทางอีเบย์จะถือว่าลูกค้าได้รับพัสดุสินค้าเรียบร้อย ครบถ้วนดี ) )
นั่นก็หมายความว่า วันที่ 11 มีนาคม คือวันสุดท้ายที่อีเบย์จะรับเรื่องฟ้องร้องจากลูกค้า ( คือเรา )
นั่นก็หมายความว่า วันที่ 12 มีนาคม คือวันที่หมดเวลาประกันสินค้าของอีเบย์แล้ว ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )
( ภาพบน ) ถ้าเราพยายามฟ้องอีเบย์
"หลัง" วันหมดเวลาประกันสินค้าของอีเบย์ไปแล้ว หน้าเวบก็จะเป็นเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ |
( ภาพบน ) ก็คือว่า หากเป็นวันที่ 12 มีนาคม "เป็นต้นไป" เมื่อเราจะฟ้องร้องอีเบย์ว่าเรายังไม่ได้รับพัสดุสินค้า มันก็จะขึ้นข้อความว่า "ระยะเวลาการคุ้มครองของอีเบย์ใช้การไม่ได้แล้ว" ( คือหมดไปแล้ว ) ปรากฏข้อความตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีน้ำเงิน ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้
เรื่องเกี่ยวกับภาพรวมอันแรก ให้เก็บไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวเรามาดูภาพรวมอันดับที่สองกัน ( ข้างล่างนี้ครับ )
( ภาพบน ) ภาพรวมอันดับที่สอง คือ ระยะเวลาที่ลูกค้า จะได้รับสินค้า |
* * * ทำไมคนขายต้องส่งพัสดุสินค้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์? ( ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )
คำตอบก็คือว่า ที่คนขายส่งพัสดุสินค้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก็เพราะ คนขายรู้ว่า พัสดุสินค้าจะถึงมือลูกค้าในวันที่ 16 มีนาคม ( ตรงที่ ลูกศรสีเหลืองส้ม ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ( วันที่ 16 มีนาคม มาจากการที่เอา "30 วัน" บวกเข้าไปกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ )
* * * แล้วทำไมคนขาย ต้องคำนวณไว้ว่า ให้วันที่ 16 มีนาคม เป็นวันที่ลูกค้าได้รับสินค้าถึงมือ
เพื่อจะตอบคำถามอันนี้ เราต้องเอา "ภาพรวมอันดับแรก" และ "ภาพรวมอันดับที่สอง" มารวมกันในภาพเดียว ดังที่เห็นในภาพข้างล่างนี้ก่อน ( แล้วถึงจะตอบคำถามนี้ได้ ( ที่ถามว่า ทำไมคนขาย ต้องคำนวณไว้ว่า ให้วันที่ 16 มีนาคม เป็นวันที่ลูกค้าได้รับสินค้าถึงมือ ) )
( ภาพบน ) ลองเอาภาพรวมอันดับแรก รวมกับภาพรวมอันดับที่สอง |
( ภาพบน ) คนขายคนนี้มีความฉลาดมาก เพราะเขาสามารถมองเห็นภาพรวมแบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ได้อย่างชัดเจน
จากภาพรวมข้างบนนี้ ( ที่มาจากการเอาภาพรวมอันดับแรก มารวมกับภาพรวมอันดับที่สอง ) เห็นได้ชัดว่า
คนขายตั้งใจให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าในวันที่ 16 มีนาคม ( ตรงที่ ลูกศรสีเหลืองส้ม ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )
ซึ่งระยะเวลาประกันสินค้าของอีเบย์ ได้หมดไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม แล้ว ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )
ณ.ตอนนี้เราจึงสามารถตอบคำถาม สำหรับคำถามที่ถามว่า ทำไมคนขาย ต้องคำนวณไว้ว่า ให้วันที่ 16 มีนาคม เป็นวันที่ลูกค้าได้รับสินค้าถึงมือ
ซึ่งคำตอบก็คือว่า เพราะ วันที่ 16 มีนาคม มันหมดเวลาประกันสินค้าของอีเบย์ไปแล้วนั่นเอง! ( คือมันหมดเวลาประกันไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมแล้ว แต่เพื่อความชัวร์ คนขายก็เลย "วางกลยุทธ์" ด้วยการส่งพัสดุสินค้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เพื่อให้พัสดุสินค้านั้น ไปถึงมือลูกค้าในวันที่ 16 มีนาคม ( ตรงที่ ลูกศรสีเหลืองส้ม ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) )
คือ คนขายวางกลยุทธ์ไว้ให้สินค้าถึงมือลูกค้าในวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่หมดประกันของอีเบย์ไปแล้ว ( ระยะเวลาประกันของอีเบย์ ได้หมดไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม แล้ว ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ) ก็เพื่อที่ว่า "เผื่อของหาย" หรือ "ส่งพัสดุผิดสี ผิดแบบ" หรือ "ส่งพัสดุเสียหาย" ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ลูกค้าก็ทำอะไรคนขายไม่ได้แล้ว เพราะมันหมดเวลาประกันสินค้าของอีเบย์ไปแล้วนั่นเอง
"ยังไม่หมดแค่นี้!" สำหรับความฉลาดของคนขายคนนี้ เพราะคนขายคนนี้ ยังจับช่องโหว่ของระบบบริหารจัดการของอีเบย์ได้อีกว่า .. ( ข้างล่างนี้ )
( ภาพบน ) ก็คือว่า อีเบย์ กำหนดแต่เพียง "วันขีดเส้นตายที่ลูกค้าต้องได้รับสินค้า" หรือใช้ภาษาอังกฤษว่า The estimate deliver date เท่านั้น ซึ่งในเคสที่เอามาให้ดูนี้ ก็คือการที่อีเบย์กำหนดว่า ลูกค้าต้องได้รับสินค้าไม่เกินวันที่ 24 กุมภาพันธ์
แต่อีเบย์ไม่ได้บังคับ ไม่ได้กำหนดวันที่ ที่คนขายจะต้องส่งพัสดุสินค้าออกจากตัว ยกตัวอย่างเช่น อีเบย์ "ไม่" กำหนดว่า หลังจากคนขายรับเงินจากลูกค้าแล้ว ต้องส่งสินค้าออกจากตัวคนขาย ภายในไม่เกิน 7 วัน ( อีเบย์ไม่ได้กำหนดตรงนี้ไว้ )
คืออีเบย์ แค่บอกไว้ว่า "คนขายควรที่จะส่งพัสดุภายในไม่เกิน 7 วัน หลังจากได้รับเงินจากลูกค้าแล้ว" เท่านั้น คือเป็นแค่คำแนะนำ แต่ไม่มีการเอาผิด หรือเอาโทษ ในกรณีที่คนขายส่งล่าช้ากว่านั้น
* * * คนขายที่ฉลาดแกมโกงคนนี้ ก็เลยอาศัยช่องโหว่ของระบบบริหารของอีเบย์ตรงนี้ มาเป็นประโยชน์ ด้วยการที่ ตัวเองรับเงินจากลูกค้าเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม แล้วก็ไม่ยอมส่งของให้ภายใน 7 วัน ( เพราะอีเบย์ไม่ได้กำหนดโทษตรงนี้เอาไว้ว่าต้องส่งพัสดุสินค้าออกจากตัวคนขายภายใน 7 วัน ) / แล้วก็รอจนกระทั่งถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แล้วถึงค่อยส่งพัสดุสินค้าออกมาจากตัว ( คือดองไว้ 51 วัน นับตั้งแต่วันรับเงิน ( คือรับเงินวันที่ 23 ธันวาคม แล้วส่งพัสดุสินค้าออกมาจากตัว ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ) )
( ภาพบน ) ถ้าทางอีเบย์ ได้รับเลข Tracking Number จากคนขายแล้ว ( ซึ่งเลข Tracking Number จะปรากฏอยู่ในหน้าเวบของอีเบย์ ตรงบริเวณที่มี กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้ ) แล้วอีเบย์ก็นำเลข Tracking Number นั้น ไปตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจสอบเลข Tracking Number นั้น อาจเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่งข้างล่างนี้ ...
( ภาพบน ) กรณีที่เลข Tracking Number "ใช้การไม่ได้" |
หรือมีแต่เพียงประโยคที่บอกว่า "ให้ลองใหม่ภายหลัง กำลังรอข้อมูลเลข tracking อยู่" ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )
ถ้าเป็นแบบในภาพข้างบนนี้ ( คือเลข Tracking Number นั้นใช้การไม่ได้ ) เวลาที่ลูกค้า ( คือเรา ) ฟ้องร้องอีเบย์ไปว่ายังไม่ได้รับสินค้าภายในระยะเวลากำหนด ( The estimate deliver date ) แล้วล่ะก็ ทางอีเบย์ ก็จะ "รับ" คำฟ้องร้องของเรา ไปดำเนินการติดตามสินค้าให้เรา "แต่" ถ้าไม่ใช่แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ( คือเป็นแบบที่เห็นในภาพข้างล่างนี้ )
( ภาพบน ) แต่ถ้าเลข Tracking Number ที่คนขายให้กับทางอีเบย์มา แล้วทางอีเบย์นำเลข Tracking Number นั้นไปเช็คสถานะ แล้วปรากฏว่ามันขึ้นโชว์สถานะได้ คือมีข้อมูลโชว์แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ( ซึ่งในเคสในหน้าเวบนี้ มันก็ดันเช็คเลข Tracking Number ได้จริงๆ นับว่าเป็น "ความซวย" ของลูกค้าอย่างเรา )
ถ้าเลข Tracking Number นั้น ใช้การได้ ( คือมีการแสดงผลเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) แม้ว่าลูกค้าอย่างเรา จะพยายามฟ้องอีเบย์ว่า
คนขายรับเงินไปตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม แต่ดองของเอาไว้ตั้ง 51 วันถึงพึ่งส่งของให้ / อีกทั้งเลข Tracking Number ก็แสดงผลชัดเจนอยู่แล้วว่า คนขายพึ่งจะส่งพัสดุสินค้าไปที่ศูนย์รวมสินค้าในประเทศจึนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้เอง ทั้งๆที่ได้รับเงินไปตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคมแล้ว
อีกทั้ง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม คนขายก็เขียนเมลล์มาโกหกลูกค้าอีกว่า "ได้ส่งพัสดุสินค้าให้แล้ว" ทั้งๆที่ยังไม่ได้ส่งแต่อย่างใด
คนขายส่งพัสดุสินค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยมีความตั้งใจว่าจะให้พัสดุสินค้าถึงมือลูกค้าในวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งวันที่ 16 มีนาคม นั้น เป็นวันที่ประกันสินค้าของอีเบย์หมดอายุไปแล้ว อย่างนี้ มันเห็น เจตนาทุจริต ของคนขายอย่างชัดเจนว่า ต้องการจะหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบในกรณีที่พัสดุหาย หรือพัสดุเสียหาย หรือพัสดุนั้น ผิดสี ผิดรูปแบบกับที่ตกลงกับลูกค้าไว้
ด้วยความผิดของคนขายที่พูดมาให้ฟังนี้ ขอให้อีเบย์ติดตามพัสดุที่ลูกค้ายังไม่ได้รับ อีกทั้งขอให้ดำเนินการลงโทษคนขายคนนี้ ที่ได้กระทำการทุจริตหลายข้อหาเหลือเกิน ขอให้อีเบย์ลงโทษคนขายคนนี้ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแค่คนขายคนอื่นๆอีกต่อไป ( เราเขียนคำฟ้องร้องไปอย่างนี้ )
ปรากฏว่า ที่เราเขียนคำฟ้องร้องไปทั้งหมดนี้ ทางอีเบย์ "ไม่รับ" คำฟ้องร้องจากเราเลย ( คืออีเบย์เขาไม่เปิดช่องทางให้เราส่งคำฟ้องร้องให้อีเบย์ได้ในทุกๆช่องทาง ) นี่แหละคือช่องโหว่ของระบบบริหารจัดการของอีเบย์ ( ซึ่งสาเหตุที่อีเบย์ไม่รับคำฟ้องจากเรา ก็เพราะว่าเลข Tracking Number ที่คนขายให้มา มันดัน "ใช้การได้" ( แสดงผลได้เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) นั่นเอง )
23 ธันวาคม - ทีมงานสั่งซื้อสินค้า และทำการโอนเงินให้คนขายที่ชื่อ longhe2017181910 เรียบร้อยแล้ว
25 ธันวาคม - คนขาย ( ที่ชื่อ longhe2017181910 ) ส่งเมลล์มา "หลอก" ลูกค้าว่า ได้ส่งพัสดุสินค้าให้เรียบร้อยแล้ว ( คือคนขายใช้คำว่า has shipped )
1 กุมภาพันธ์ - หลังจากรอมา 40 วัน นับตั้งแต่วันโอนเงิน ( ลูกค้าโอนเงินวันที่ 23 ธันวาคม ) จนถึงวันนี้ ( คือ 1 กุมภาพันธ์ ) ลูกค้าก็ยังไม่ได้รับพัสดุสินค้าเสียที จึงแจ้งให้ทีมงาน tuvagroup.com ทราบ / เมื่อทีมงาน tuvagroup.com ทราบแล้ว ทีมงานก็เลยเมลล์ไปถามคนขายว่าตอนนี้ พัสดุสินค้าถึงไหนแล้ว?
2 กุมภาพันธ์ - คนขายตอบกลับมาว่า "จะรีบส่งพัสดุสินค้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้" / ดังนั้น ณ.ตอนนี้ ทีมงานก็รู้แล้วว่าเมลล์ที่คนขายส่งมาบอกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่บอกว่าส่งพัสดุสินค้าให้แล้วนั้น เป็น "คำโกหกของคนขาย" / แต่เราก็ยังทำอะไรไม่ได้ ( คือไม่สามารถเอาไปฟ้องร้องใครเกี่ยวกับเรื่องที่คนขายโกหกในเมลล์เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมได้ )
14 กุมภาพันธ์ - คนขายส่งพัสดุสินค้าไปที่ศูนย์รวมพัสดุในประเทศจีน / คือหมายความว่า คนขายคนจีนคนนี้ พึ่งจะเดินทางออกจากบ้าน แล้วนั่งรถไปส่งพัสดุสินค้า ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ในประเทศจีน ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี่เอง ( ทั้งๆที่รับเงินไปตั้งแต่ 53 วันที่แล้ว ( คือรับเงินไปตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคมแล้ว ) แต่พึ่งจะส่งพัสดุสินค้าออกจากตัวเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ )
สาเหตุที่คนขายส่งพัสดุสินค้าออกจากตัวในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก็เพื่อกะว่า กว่าที่สินค้าจะไปถึงมือลูกค้า ก็จะเป็นวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งวันที่ 16 มีนาคมนั้น เป็นวันที่ประกันสินค้าของบริษัทอีเบย์ หมดอายุไปแล้ว ประกันสินค้านี้ไม่สามารถคุ้มครองลูกค้าได้อีกแล้ว
หลังจากที่คนขายส่งพัสดุเรียบร้อยแล้ว คนขายก็ส่งเลข Tracking Number ให้กับบริษัทอีเบย์ในวันนั้นเลย เพราะคนขายรู้อยู่แล้วว่า ยังไงเสีย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ( ซึ่งเป็นวันที่อีเบย์กำหนดไว้ว่า ลูกค้าต้องได้รับพัสดุสินค้าเรียบร้อยแล้วนั้น ) ลูกค้าจะยังไม่ได้รับพัสดุสินค้าแน่ๆ ( เพราะกว่าจะได้รับ ก็เป็นวันที่ 16 มีนาคม โน่น ) และลูกค้าก็จะต้องฟ้องร้องแน่ๆ ( คือลูกค้าจะต้องฟ้องอีเบย์ว่า เกินวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ( ซึ่งเป็นวันขีดเส้นตาย ) แล้ว แต่ยังไม่ได้รับพัสดุสินค้าเลย )
สาเหตุอีกประการหนึ่งที่คนขายส่งพัสดุสินค้าออกจากตัวเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก็เพราะว่า เมื่อเอาเลข Tracking Number ไปให้กับทางอีเบย์แล้ว พอถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ อีเบย์ก็จะเอาเลข Tracking Number นั้นไปตรวจสอบ และเมื่ออีเบย์ตรวจสอบแล้ว มันขึ้นสถานะว่า กำลังอยู่ในระหว่างการเดินทาง อีเบย์ก็จะไม่รับเรื่องฟ้องร้องจากลูกค้า ( คือคนขายใช้ช่องโหว่ตรงนี้ ไป "กั๊ก" ที่อีเบย์เอาไว้ เพื่อไม่ให้อีเบย์รับเรื่องฟ้องร้องจากลูกค้าอย่างเรา - นี่แหละคือความฉลาดของคนขายคนนี้ )
24 กุมภาพันธ์ - เป็นวันที่อีเบย์กำหนดไว้ว่า สินค้าต้องถึงมือลูกค้า ( คือเป็นวันขีดเส้นตาย หรือ วัน The estimate delivery date นั่นเอง )
26 กุมภาพันธ์ - ทีมงานฟ้องร้องไปที่อีเบย์ว่ายังไม่ได้รับพัสดุสินค้า แต่อีเบย์ "ไม่รับคำฟ้อง" และเมื่อเปิดหน้าเวบของอีเบย์ขึ้นมา ทีมงานก็เห็น เลข Tracking Number โผล่ขึ้นมา ( ซึ่งในตอนแรก ( ก่อนยื่นฟ้องอีเบย์ ) มันไม่มีตัวเลข Tracking Number นี้ )
เหตุที่มีเลข Tracking Number โผล่ขึ้นมา ก็เพราะว่า ทางผู้ขายพึ่งส่งพัสดุสินค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แล้วก็พึ่งส่งเลข Tracking Number ให้อีเบย์ แล้วอีเบย์ก็เอาข้อมูลเลข Tracking Number มาไว้ในหน้าเวบ
เมื่อทีมงานเช็ค เลข Tracking Number มันก็โชว์ชัดเจนว่า ผู้ขายพึ่งจะส่งพัสดุสินค้าออกจากตัวเองเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่โกหกว่าในเมลล์ฉบับวันที่ 25 ธันวาคมว่าได้ส่งพัสดุสินค้าออกมาเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคมแล้ว ( ซึ่งเป็นเรื่องโกหก ที่ว่าส่งออกมาตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคมแล้ว )
ทีมงานพยายามจะชี้แจงคำโกหกของคนขายรายนี้ให้อีเบย์ทราบ แต่ปรากฏว่า การที่อีเบย์ไม่รับฟ้อง ( อันเป็นไปตามแผนของคนขาย ที่ "กั๊ก" อีเบย์เอาไว้ไม่ให้รับฟ้อง ) มันก็ตัดขั้นตอนการชี้แจงอย่างอื่นๆของเราไปด้วย ( คือเราต้องการจะชี้แจงเรื่องการโกหกในเมลล์เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่คนขายโกหกว่าส่งพัสดุสินค้าออกมาแล้ว โดยที่มันขัดกับการเช็คเลข Tracking Number ที่แสดงผลว่า คนขายพึ่งส่งพัสดุสินค้าออกมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ )
11 มีนาคม - เป็นวันสุดท้ายที่ประกันสินค้าของอีเบย์ยังมีผล ( คือ ประกันจะมีผลไม่เกิน 15 วันนับจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ )
12 มีนาคม - ประกันสินค้าของอีเบย์หมดอายุ โดยที่ทีมงานทำอะไรไม่ได้เลย เพราะว่าอีเบย์ โดนคนขาย "กั๊ก" เอาไว้ไม่ให้รับคำฟ้อง ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ อันเป็นไปตามแผนของคนขายคนนี้
16 มีนาคม - ปรากฏว่าอาจเกิดเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้คือ พัสดุสินค้าหายสาบสูญ หรือ ได้รับพัสดุสินค้าก็จริง แต่มัน "ฉีกขาด" เสียหาย โดนหนูแทะ หรือ คนขายลืมเย็บแขนมาอีกข้างหนึ่ง ( มีแขนข้างเดียว - อันนี้พูดประชดนะครับ ) หรือได้รับเสื้อที่ทุกอย่างถูกต้อง แต่สั่งสีแดงไป ดันได้สีดำมา
เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ( อันได้แก่พัสดุหาย , เสื้อฉีกขาด , เสื้อผิดแบบ ผิดสี ฯลฯ ) เราไม่สามารถทำอะไรคนขายได้เลย เพราะว่ามันหมดเวลาประกันสินค้าของอีเบย์ไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมแล้ว
คือ คนขายมันตั้งใจให้เป็นแบบนี้ตั้งแต่แรก คือคนขายไม่ต้องการจะมารับผิดชอบในกรณีที่พัสดุหาย , เสื้อฉีกขาด , เสื้อผิดแบบ ผิดสี ฯลฯ คนขายก็เลยวางแผนตั้งแต่แรกว่าจะส่งพัสดุสินค้าในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยอาศัยช่องโหว่ของระบบบริหารจัดการของอีเบย์ รวมทั้งการคำนวณระยะเวลาการส่งพัสดุอย่างแม่นยำ แล้วนำทั้งหมดนี้ มาใช้ในการส่งพัสดุสินค้าชิ้นนี้ให้ลูกค้า ในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบลูกค้านั่นเอง
- END -
หน้า 1 < หน้า 2