script async='async' crossorigin='anonymous' src='https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js?client=ca-pub-4162361834395246'/> Tuvagroup: September 2020

Friday, September 25, 2020

คลาดเคลื่อน 0.04 บาท

 

คลาดเคลื่อน 0.04 บาท

       "ทุกครั้ง" ที่มีการสั่งซื้อสินค้าให้กับคุณลูกค้า ทางทีมงาน tuvagroup.com จะทำการคำนวณเงินทอนให้คุณลูกค้าดูก่อน จากนั้น ทีมงานถึงจะดำเนินการทอนเงินให้กับคุณลูกค้านะครับ

       ในครั้งนี้ ทีมงานจะเอาตัวอย่างการคำนวณเงินทอนในเคสหนึ่งมาให้ดูนะครับ ซึ่งเมื่อคุณผู้อ่านได้ดูเคสนี้แล้ว ก็จะทำให้เข้าใจระบบการทำงานของทีมงาน tuvagroup.com ได้ดียิ่งขึ้น

       ในเคสนี้ เริ่มต้นด้วยการสั่งซื้อสินค้าให้กับคุณลูกค้า ในราคา 11.22 เหรียญ นะครับ  /  หลังจากสั่งซื้อเสร็จแล้ว ก็จะทิ้งระยะช่วงเวลาหนึ่ง แล้วทีมงานก็จะทำการคำนวณเงินทอนให้กับคุณลูกค้า  /  ซึ่งการคำนวณเงินทอนนี้ ทีมงานก็จะส่งเป็นอีเมลไปให้คุณลูกค้าดูก่อน แล้วถึงค่อยทอนตัวเงินตามไปในภายหลัง


* * * หมายเหตุ - ภาพสินค้า , ภาพอีเมล , ภาพการคุยโต้ตอบ และภาพทุกอย่างที่คุณผู้อ่านจะได้เห็นในหน้าเวบนี้ ล้วนแต่เป็นภาพที่สำเนามาจากเหตุการณ์จริง , สำเนามาจากต้นฉบับตัวจริง , นำมาจากเคสของจริงทั้งสิ้น ไม่มีการสมมติขึ้นมาแต่อย่างใดนะครับ 

ภาพบน ) อีเมล ที่ทีมงาน "คำนวณเงินทอน" แล้วส่งให้คุณลูกค้า




      ( ภาพบน ) โดยในอีเมลคำนวณเงินทอนดังกล่าว ทีมงานชี้แจงว่ายอดค่าใช้จ่าย 11.22 เหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) ได้ถูกตีเป็นเงินไทย 384.5 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


      ( ภาพบน ) หลังจากที่ทีมงานคำนวณเงินทอนให้คุณลูกค้าดูเสร็จเรียบร้อยแล้ว ( ที่ปรากฏในภาพก่อนหน้านี้ ) ทีมงานก็ดำเนินการ "ทอนเงิน" ให้กับคุณลูกค้า แล้วก็ส่งอีเมลแจ้งให้คุณลูกค้าทราบว่าได้ทอนเงินเรียบร้อยแล้ว ตามที่ปรากฏอยู่ในภาพของอีเมลฉบับที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ 


ขอแทรกนิดนึงครับ   

       ที่คุณผู้อ่าน เห็นการคำนวณเงินทอนในภาพข้างบนนี้นั้น เป็นการคำนวณเงินทอน "ก่อนที่สเตทเม้นท์ตัวจริงจะออก" นะครับ 

       คือหมายความว่า ตามปกติ สเตทเม้นท์จะออกแค่ "เดือนละ 1 ครั้ง" คือประมาณวันที่ 12 - 18 ของแต่ละเดือน  /  ซึ่งทีมงานคิดว่า หากคุณลูกค้าบางท่าน ซื้อสินค้าไปเมื่อ วันที่ 20 ของเดือนนี้ ก็จะต้องรอจนถึงวันที่ 12 - 18 ของเดือนหน้า ถึงจะได้รับการคำนวณเงินทอน  /  พูดง่ายๆก็คือว่าลูกค้าต้อง รอนานเกินไป กว่าที่จะได้รับการคำนวณเงินทอน

       ด้วยเหตุผลนี้เอง ( คือไม่อยากให้ลูกค้าต้องรอนานเกินไป กว่าที่จะได้รับการคำนวณเงินทอน ) ทีมงานก็เลยใช้วิธี คำนวณเงินทอน ก่อนที่สเตทเม้นท์จริงจะออก แล้วก็ทอนเงินให้กับคุณลูกค้าเลย ( คุณลูกค้าจะได้ไม่ต้องรอนานเกินไป กว่าที่จะได้รับเงินทอน ) 

แต่พอสเตทเม้นท์ตัวจริงออกมา ก็พบความคลาดเคลื่อนไป "0.04" บาท


ภาพบน ) สเตทเม้นท์ตัวจริง ที่ออกมาภายหลังจากที่ทีมงาน "ทอนเงินไปแล้ว

        ( ภาพบน ) อธิบายได้ดังนี้นะครับ

* * * ตอนก่อนสเตทเม้นท์ตัวจริงจะออก - ทีมงานคำนวณไว้ว่า ยอดเงิน 11.22 เหรียญ ตีเป็นเงินไทย 384.5 บาท


* * * พอสเตทเม้นท์ตัวจริงออก ( ตามที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) - ปรากฏว่า ในสเตทเม้นท์บอกไว้ว่า ยอดเงิน 11.22 เหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คิดเป็นเงินไทย 384.54 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


       จากเหตุการณ์นี้ คุณผู้อ่านจะเห็นความคลาดเคลื่อนไป 0.04 บาท คือ ตอนคำนวณก่อนสเตทเม้นท์ออก ทีมงานคำนวณไป 384.5 บาท แต่พอสเตทเม้นท์ตัวจริงออก มันกลับเป็น 384.54 บาท

อีเมลแจ้งให้คุณลูกค้าทราบทันที!

ภาพบน ) อีเมลที่ทีมงานเขียนไปชี้แจงให้คุณลูกค้าทราบ เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อน 0.04 บาท นี้ 

      ( ภาพบน ) เมื่อทีมงานตรวจสอบพบความคลาดเคลื่อน 0.04 บาท นี้ ทีมงานจึงเขียนอีเมลไปชี้แจงให้คุณลูกค้าทราบ ( ปรากฏตามภาพอีเมล ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ )


ทีมงาน "เอาใจใส่" แม้จะเป็นความคลาดเคลื่อนแค่เพียง "0.04 บาท" ก็ตาม

      "ประเด็นหลัก" ของการที่ทีมงานทำหน้าเว็บนี้ขึ้นมานั้น ก็เพื่อจะให้คุณผู้อ่านได้เห็นว่า ระบบบริหารของทีมงาน tuvagroup.com นั้น เอาใจใส่ กับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ให้กับคุณลูกค้า 

       ถ้าเป็นเวบรับฝากซื้อสินค้า "เจ้าอื่น" เขาจะไม่มีการชี้แจงรายละเอียดทางสเตทเม้นท์ให้คุณเห็น

       ในขณะที่ เวบรับฝากซื้อสินค้า tuvagroup.com ของเรา มีระบบโชว์สเตทเม้นท์ค่าใช้จ่ายให้ลูกค้าเห็นอย่างชัดเจน 

       และไม่ใช่แค่เพียงมีการโชว์สเตทเม้นท์ให้เห็นเท่านั้น ทีมงานยัง เอาใจใส่ ในเรื่องการรักษาผลประโยชน์ให้กับคุณลูกค้า แม้กระทั่งยอดเงินเพียง 0.04 บาท ( เหมือนที่ยกตัวอย่างมาในหน้าเวบนี้ ) ทีมงานก็ยังทำหนังสือชี้แจงให้คุณลูกค้าทราบ ถึงความคลาดเคลื่อนนี้ด้วยครับ


       ด้วยการเอาใจใส่ และการรักษาผลประโยชน์ของคุณลูกค้าขนาดนี้ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณลูกค้าจะได้เห็นคุณงามความดีของทีมงาน และมั่นใจในการมาใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com นะครับผม 


- END - 

การคำนวณค่าใช้จ่าย

 

การคำนวณค่าใช้จ่าย


ภาพบน ) เวบแสดงเรทธนาคารโลก 

http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1


คำถาม : เวลาที่ลูกค้าฝากทีมงาน tuvagroup.com ซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ราคา 140 เหรียญ ( สหรัฐอเมริกา ) ทำไมทีมงาน tuvagroup.com ไม่ใช้เรทธนาคารโลก ( จากเวบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ในการคำนวณ แล้วค่อยบวกค่าบริการ 100 บาท เข้าไป


ภาพบน )
http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1  

      ( ภาพบน )  ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 30 เมษายน  ลูกค้าจะฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศราคา 140 เหรียญ  /  ทีมงานก็แค่เข้าไปที่เวบที่สามารถเช็คเรทธนาคารโลกได้ ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) แล้วก็ตั้งวันที่ให้ตรงกับวันที่เราจะชำระเงินให้คนขาย ซึ่งก็คือวันที่ 30 เมษายน ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  / จากนั้น ก็กรอกเลข 140 เข้าไปทางฝั่งของช่องเงินเหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  พอผลที่ระบบคำนวณเป็นเงินไทยออกมาได้ คือ 4,889.8503 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ทีมงานก็แค่เอาตัวเลข 4,889.8503 บาท นี้ มาบวกค่าบริการเข้าไปอีก 100 บาท ก็เป็น 4,989.8503 บาท แล้วก็เรียกเก็บเงินยอดนี้ ( 4,989.8503 บาท ) จากลูกค้า เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ทำไมถึงต้องใช้เรทที่สูงกว่าเรทธนาคารโลกด้วยล่ะ? 


ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก hatyaiairportthai.com

คำตอบ : ณ.วันที่ 30 เมษายน ถ้าคุณมีเงินสดต่างประเทศจำนวน 140 เหรียญอยู่ในกระเป๋า แล้วคุณก็เดินทางไปที่ เคาน์เตอร์ของธนาคาร เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       จากนั้นคุณก็ควักเงิน 140 เหรียญออกมาจากกระเป๋าของคุณเอง แล้วยื่นให้พนักงานที่รับแลกเงินที่อยู่ในเคาน์เตอร์นั้น

       อย่างนี้แหละครับ คุณถึงจะได้ใช้เรทธนาคารโลก ก็คือคุณจะได้รับเงินบาทไทยกลับมา 4,889.8503 บาท ( โดยที่บริเวณข้างๆเคาน์เตอร์ดังกล่าว ก็จะมีหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงเรทธนาคารโลกให้คุณดู เหมือนที่ปรากฏอยู่ใน วงรีสีเขียว ที่เห็นอยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       พูดง่ายๆว่า เรทธนาคารโลก มันใช้ได้กับการที่คุณ เดินเข้าไปหาเคาน์เตอร์ธนาคาร "ด้วยตัวเอง" แล้วเอาเงินเหรียญสหรัฐยื่นให้พนักงานธนาคาร แล้วพนักงานธนาคารคนนั้น ก็ยื่นเงินไทยกลับมาให้คุณ  /  อย่างนี้แหละ เรทธนาคารโลกถึงจะใช้ได้กับคุณ

       แต่การที่เราจะโอนเงินของเราไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ เราต้อง "จ้างคนอื่น" ให้ทำหน้าที่โอนเงินให้เรา  /  ซึ่งการจ้างคนอื่นที่พูดมานั้น เราต้องเสียค่าจ้าง หรือค่าธรรมเนียมให้กับคนที่เราว่าจ้างเขาด้วย


ภาพบน ) ยอดเงินที่ต้องการจะโอนไปให้เพื่อนทางธนาณัติ ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) 

ภาพข้างบนนี้มาจาก animategroup.com

      ( ภาพบน ) ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ๆตัวที่เห็นกันบ่อยๆนะครับ โดยสมมติว่าคุณผู้อ่านต้องการจะส่งเงินไปให้เพื่อน โดยยอดเงินที่ต้องการจะส่งให้เพื่อนคือ 325 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       ถ้าคุณผู้อ่านกำเงินสดไปที่ทำการไปรษณีย์ เป็นเงินแค่ 325 บาท แล้วจะให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งยอดเงินนี้ไปให้เพื่อนคุณทางธนาณัติ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์คนนั้น เขาก็คงไม่ทำให้คุณหรอกครับ!

       ทำไมเจ้าหน้าที่ถึงไม่ทำให้? 


ภาพบน ) ค่าบริการที่ทางไปรษณีย์คิดจากเราแยกต่างหาก  ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) 

      ( ภาพบน ) ถ้าเรากำเงินสด 325 บาท ไปที่ทำการไปรษณีย์แล้วจะส่งธนาณัติไปให้เพื่อน 325 บาท  โดยไม่เสียค่าบริการอะไรเลยนั้น เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาก็ไม่ส่งธนาณัติไปให้เพื่อนของคุณแน่นอน

       ถ้าจะให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งธนาณัติให้เพื่อนคุณ คุณก็ต้องเสียค่าบริการ แยกต่างหากอีก 10.70 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )


จะโอนเงินให้เพื่อน 325 บาท แต่เราต้องจ่ายทั้งหมด 335.70 บาท

       นั่นก็หมายความว่า ถ้าเราจะส่งธนาณัติให้เพื่อน 325 บาท เราจะต้องกำเงินสดไปที่ทำการไปรษณีย์ 335.70 บาท ( มาจาก 325 บาท 10.70 บาท )  /  แล้วเอาเงิน 335.70 บาทนี้แหละ ยื่นใส่มือให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ทั้งหมด  /  แล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาถึงจะส่งธนาณัติ 325 บาทไปให้เพื่อนเรา และหักค่าบริการ 10.70 บาทเก็บไว้กับบริษัทไปรษณีย์ไทยเอง

       การโอนเงินไปให้เพื่อนทางธนาณัติ ก็คือการ "จ้างคนอื่น" ให้ทำการโอนเงินให้เรา ซึ่ง "คนอื่น" ที่ว่านี้ ก็คือบริษัทไปรษณีย์ไทยนั่นเอง


 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก wherepigsfly.org


 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก pngimg.com

        ( ภาพบน ) การที่เราจะโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ มันก็เหมือนกับการที่เราจะโอนเงินให้เพื่อนทางธนาณัตินั่นเอง คือต้องมีการ "จ้างคนอื่น"  /  โดยคำว่า "คนอื่น" ที่ว่านี้ ก็คือบริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า นั่นเอง ( ตามที่เห็นภาพสัญลักษณ์บริษัท PayPal และ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ในสองภาพข้างบนนี้ )

       นั่นก็หมายความว่า เวลาที่ทีมงานจะโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น ทีมงานก็ต้องจ้างให้บริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ทำหน้าที่โอนเงินไปต่างประเทศให้

       และเวลาที่บริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า เขาโอนเงินของเราไปให้คนขายสินค้าที่อยู่ต่างประเทศนั้น เขาก็ ไม่ได้บริการเราฟรีๆ  เขาก็คิดค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียม กับเรา เหมือนกับที่บริษัทไปรษณีย์ไทยคิดค่าบริการกับเรา ตอนที่เราให้บริษัทไปรษณีย์ไทยส่งธนาณัติให้เพื่อนเรานั่นเอง


ภาพบน )
http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1  

      ( ภาพบน ) ย้อนกลับไปคำถาม ที่คุณถามมาว่า "ในวันที่ 30 เมษายน  ลูกค้าจะฝากซื้อสินค้าจากต่างประเทศราคา 140 เหรียญ  /  ทีมงานก็แค่เข้าไปที่เวบที่สามารถเช็คเรทธนาคารโลกได้ ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) แล้วก็ตั้งวันที่ให้ตรงกับวันที่เราจะชำระเงินให้คนขาย ซึ่งก็คือวันที่ 30 เมษายน ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  / จากนั้น ก็กรอกเลข 140 เข้าไปทางฝั่งของช่องเงินเหรียญ ( ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  /  พอผลที่ระบบคำนวณเป็นเงินไทยออกมาได้ คือ 4,889.8503 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  ทีมงานก็แค่เอาตัวเลข 4,889.8503 บาท นี้ มาบวกค่าบริการเข้าไปอีก 100 บาท ก็เป็น 4,989.8503 บาท แล้วก็เรียกเก็บเงินยอดนี้ ( 4,989.8503 บาท ) จากลูกค้า เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ทำไมถึงต้องใช้เรทที่สูงกว่าเรทธนาคารโลกด้วยล่ะ?"

       สำหรับการตอบคำถามในส่วนนี้ ทีมงานจะตอบคำถามด้วยการปฏิบัติจริงๆให้ดูเลยนะครับ ไม่ใช่เป็นการสมมติขึ้นมา

       จากภาพข้างบนนี้ เมื่อเราใช้เรทธนาคารโลกคำนวณยอดเงิน 140 เหรียญ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ผลที่ออกมาคือ 4,889.8503 บาท ( ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )

       ซึ่งทีมงานก็ได้ตอบไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ถ้าจะให้ 140 เหรียญเท่ากับ 4,889.8503 บาท ตามเรทธนาคารโลกนั้น คุณจะต้องใช้วิธีเดินกำเงินสด 140 เหรียญ แล้วไปแลกเป็นเงินบาทไทยที่ เคาน์เตอร์ของธนาคาร  /  นั่นแหละ คุณถึงจะได้เงินยอด 4,889.8503 บาทกลับมา

       แต่ถ้าเป็นการเอาเงิน 140 เหรียญ ไปสั่งซื้อสินค้าต่างประเทศ ทีมงาน Tuvagroup.com จะต้องจ้างบริษัท PayPal หรือบริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ในการโอนเงินไปต่างประเทศให้

       ณ.ที่นี้ ทีมงานจะลองโอนเงิน 140 เหรียญ ไปต่างประเทศ ณ.วันที่ 30 เมษายน โดยใช้บริการของบริษัท PayPal ให้คุณดูเลยนะครับ ( ที่เลือกเอาเป็นวันที่ 30 เมษายน ก็เพื่อให้ตรงกับวันที่ ที่คุณเอาเรทธนาคารโลกในรูปข้างบนนี้ มาตั้งเป็นโจทย์น่ะครับ )


ตัวอย่างการโอนเงิน ( ของจริง )


 ( ภาพบน ) ธุรกรรมของ PayPal เมื่อวันที่ 30 เมษายน

      ( ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือการที่ทีมงาน tuvagroup.com ได้ส่งเงินไปให้ทางคนขายผ่านทาง PayPal จริงๆนะครับ ไม่ใช่เป็นการสมมติเหตุการณ์ขึ้นมาแต่อย่างใด โดยการโอนเงินนี้ ทำขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน ( เพื่อให้ตรงกับตัวอย่างเรทธนาคารโลกที่คุณตั้งโจทย์ไว้ )



      ( ภาพบน ) ยอดเงินที่โอนไปคือ 140 เหรียญ ( ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ )



       ( ภาพบน ) โดยเราโอนเงินไปให้คนขายสินค้า ที่ใช้ชื่อว่า Bay State Millitaria & Antiques ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีม่วง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้

       ซึ่งชื่อคนขาย ( Bay State Millitaria & Antiques ) นี้ มันจะไปปรากฏบนสเตทเม้นท์ในลักษณะเป็นชื่อย่อๆ 

       ที่บนสเตทเม้นท์เขาใช้ชื่อย่อๆของคนขาย ก็เพื่อไม่ให้มันเปลืองพื้นที่ในการพิมพ์  /  ยกตัวอย่างเช่น เขาจะย่อชื่อ Bay State Millitaria & Antiques ให้เหลือแค่ BAYSTATEMIL เท่านั้น

       ก็คือหมายความว่า เมื่อสเตทเม้นท์ออก แล้วเราดูสเตทเม้นท์ของวันที่ 30 เมษายน แล้วเห็นชื่อผู้รับเงินเป็น BAYSTATEMIL จริงๆแล้วล่ะก็ นั่นก็หมายถึงรายการนั้น คือรายการธุรกรรม ที่ทีมงาน tuvagroup.com ได้ทำการโอนเงินยอด 140 เหรียญ ไปให้กับผู้ขายที่ชื่อ Bay State Millitaria & Antiques เมื่อวันที่ 30 เมษายน นั่นเอง

       ขั้นตอนต่อไปก็คือการรอสเตทเม้นท์ ซึ่งจะออกใน วันที่ 12 หรือ 18 ของเดือนถัดไป! ( คือ เราโอนวันที่ 30 เมษายน ในยอด 140 เหรียญนี้ สเตทเม้นท์จะออกในวันที่ 12 หรือ 18 ของ เดือนพฤษภาคม )

มาดูสเตทเม้นท์บัตรเครดิตกัน

ภาพบน ) สเตทเม้นท์ออกแล้ว!

      ( ภาพบน ) ตรงส่วนที่เป็น เส้นประสีแดง ในภาพข้างบนนี้นั้น มีที่มาก็คือว่า เนื่องจากสเตทเม้นท์มีความยาวมาก ดังนั้น ทีมงานจึงเอาทางด้านล่างของสเตทเม้นท์ขึ้นมาต่อกับด้านบนของสเตทเม้นท์ โดยมีตัว เส้นประสีแดง เป็นตัวคั่นน่ะครับ ( ตัวสเตทเม้นท์ตัวเต็ม ( และเป็นตัวเต็ม ) ดูได้ที่ลิงก์  http://www.tuvagroup.com/5904aprilstate.html )


หมายเหตุ - สเตทเม้นท์ข้างบนนี้มีตัวตนจริงๆนะครับ ไม่ใช่แค่สมมติขึ้นมา  /  เป็นสเตทเม้นท์ Online ที่ทีมงานได้จากธนาคารไทยพาณิชย์ และคุณผู้อ่านสามารถคลิ๊กเข้าไปดูสเตทเม้นท์ย้อนหลังได้ที่ลิงก์  http://www.tuvagroup.com/stateindex.html 

       ถ้าคุณคิดว่าทีมงานไป ปลอมแปลงตัวเลขในสเตทเม้นท์ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรืออะไรก็ตาม ทีมงานขอท้าเลยว่า ถ้าคุณมีญาติทำงานอยู่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณลองขอให้ญาติคุณเข้าไปเช็คข้อมูลสเตทเม้นท์ทั้งหมดในเวบหน้า  http://www.tuvagroup.com/stateindex.html  นี้ในฐานข้อมูลของธนาคารไทยพาณิชย์ได้เลยครับ ตรวจสอบได้ ทุกบรรทัดของสเตทเม้นท์ ของทุกเดือนของทุกปี ได้เลย ถ้ามีการตกแต่งตัวเลขให้ผิดไปทุกสเตทเม้นท์ที่ปรากฏอยู่ในหน้าเวบนี้ แม้เพียง 0.01 บาท ก็ขอให้คุณเอาไปประจานตามสื่อต่างๆได้เลยครับว่าทีมงาน tuvagroup.com เป็นเวบที่ขี้โกง

       แต่หากคุณไม่พบข้อบกพร่อง นั่นคือ ตัวเลขทุกบรรทัดของทุกเดือน ของทุกปีของสเตทเม้นท์ มันตรงกับฐานข้อมูลของธนาคารทั้งหมด ก็ขอให้คุณผู้อ่านรู้ไว้เถิดว่าใน 14 ปีมานี้ ( นับถึงปี พ.ศ.2563 )  ทีมงาน tuvagroup.com ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมาตลอด ( ในเรื่องความซื่อสัตย์นัน้น เป็นสิ่งที่หาได้ยากมากในวงการการซื้อขายในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ - เพราะในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ มันเต็มไปด้วยพวกมิจฉาชีพ  /  ถ้าทีมงาน Tuvagroup.com เป็นมิจฉาชีพจริง ป่านนี้คงโดนประจาน หรือโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับเข้าคุกไปนานแล้ว คงไม่อยู่มาได้จะถึงสิบปีแบบนี้หรอกครับ )

       นอกเรื่องไปไกล  ขอกลับมาที่เรื่องของเรากันต่อนะครับ

ภาพบน ) รายการที่เราสนใจ จะอยู่ตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ในภาพข้างบนนี้




      ( ภาพบน ) จากการที่เราดูไปที่บริเวณที่มี วงรีสีน้ำเงิน ล้อมรอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ คุณผู้อ่านก็จะเห็นได้ว่า เป็นการรายการเดียวกัน กับที่ทางทีมงาน tuvagroup.com ได้ทำการโอนเงินไปให้คนขายที่ชื่อ Bay State Millitaria & Antiques ( ซึ่งในสเตทเม้นท์ ใช้ชื่อย่อเป็น BAYSTATEMIL ) เป็นยอดเงิน 140 เหรียญ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 



       ( ภาพบน ) ตัวเลขที่อยู่ใน วงรีสีม่วง ในภาพข้างบนนี้ มันบอกไว้ว่าเป็นยอดเงิน 5,287.36 บาท


       สรุปตรงนี้ก่อนว่า การโอนเงิน 140 เหรียญ ไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศ โดยโอนผ่านบริษัท PayPal เมื่อวันที่ 30 เมษายน นั้น มันจะดึงเงินไปจากกระเป๋าเงินของทีมงาน tuvagroup.com ไป 5,287.36 บาท ( ซึ่งก็คือตัวเลขที่ปรากฏอยู่ใน วงรีสีม่วง ในภาพข้างบนนี้ ) 


ภาพบน )
http://finance.yahoo.com/currency-converter/?amt=1&from=USD&to=THB&submit=Convert#from=USD;to=THB;amt=1  

       ( ภาพบน ) ในขณะที่ ถ้าใช้เรทธนาคารโลกของวันที่ 30 เมษายน ในการคำนวณ มันจะตีว่าเงิน 140 เหรียญเป็นเงิน 4,889.8503 บาท  /  แล้วสมมติว่าทีมงานรับเงินยอด 4,889.8503 บาท นี้มาจากคุณลูกค้า แล้วโอนเงินไปให้คนขาย 140 เหรียญ

       นั่นก็แปลว่ามันเข้าเนื้อทีมงานไป 397.5097 บาท ( มาจาก 5,287.36 - 4,889.8503 )  /  เพราะทีมงานรับเงินมาจากคุณแค่ 4,889.8503 บาท แต่ว่าบริษัท PayPal มันดึงเงินจากทีมงานไป  5,287.36 บาท

นี่คือเหตุผลว่า ทำไม ทีมงานถึงไม่ใช้เรทธนาคารโลกในการคำนวณค่าใช้จ่ายกับคุณลูกค้า

      ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลที่คุณถามมาว่าทำไมทีมงานไม่ใช้เรทธนาคารโลกในการคำนวณค่าใช้จ่ายให้ลูกค้า  /  ซึ่งทีมงานขอสรุปให้ฟังอีกทีหนึ่งนะครับว่า

* * * เรทธนาคารโลก มีไว้สำหรับการเดินไปแลกเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร "ด้วยตัวเอง


* * * ส่วนการโอนเงินไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศนั้น เราต้อง "จ้างคนอื่น" ซึ่งก็คือจ้างบริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า ให้ทำการโอนเงินให้เรา ซึ่งบริษัทที่เราจ้างนี้ เขาไม่ได้ทำงานให้เราฟรีๆ เขาคิดค่าบริการ ( หรือที่เรียกว่าค่าธรรมเนียม ) จากเราด้วย ซึ่งก็เหมือนการที่บริษัทไปรษณีย์ไทย ที่คิดค่าบริการจากเรา เวลาที่เราจะส่งธนาณัติไปให้เพื่อนนั่นเอง


* * * "ค่าใช้จ่ายทั้งหมด" ที่เราต้องใช้ในการโอนเงินไปต่างประเทศ จะปรากฏอยู่บนสเตทเม้นท์  /  ซึ่งคำว่า "ค่าใช้จ่ายทั้งหมด" ในที่นี้ ก็คือ ยอดเงินที่เราโอนไปให้คนขาย + ค่าจ้าง หรือค่าบริการ ที่เราต้องจ่ายให้แก่บริษัท PayPal หรือ บริษัทบัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า เพื่อเป็นการจ้างเขาให้โอนเงินไปต่างประเทศให้เรา


* * * นั่นก็หมายความว่า ถ้าทีมงานใช้เรทธนาคารโลกในการคำนวณค่าใช้จ่าย กรณีที่คุณลูกค้าต้องการจะโอนเงินไปให้คนขาย 140 เหรียญ เมื่อวันที่ 30 เมษายน แล้วล่ะก็ ค่าใช้จ่ายก็จะเป็น 4,889.8503 บาท ( ยังไม่ได้รวมค่าบริการอีก 100 บาท )

       แต่ปรากฏว่าเมื่อสเตทเม้นท์ออกมา มันโชว์ว่าบริษัท PayPal มันดึงเงินไปจากกระเป๋าของทีมงานเป็นยอด 5,287.36 บาท

       นั่นก็แปลว่ามันเข้าเนื้อทีมงานไป 397.5097 บาท ( มาจาก 5,287.36 - 4,889.8503 )  /  เพราะทีมงานรับเงินมาจากคุณแค่ 4,889.8503 บาท แต่ว่าบริษัท PayPal มันดึงเงินไปจากทีมงานไป 5,287.36 บาท 


       ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่พูดมาตั้งแต่หน้าเวบด้านบนสุด จนมาถึงบรรทัดที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ คุณผู้อ่านก็จะเข้าใจแล้วนะครับว่าเหตุใดเวลาที่ทีมงานคำนวณค่าใช้จ่ายกับคุณ ทีมงานถึงไม่สามารถใช้เรทธนาคารโลกได้  /  โดยทางปฏิบัติก็คือว่าทีมงานต้องคำนวณโดยใช้เรทที่สูงกว่าธนาคารโลกเอาไว้ก่อน แล้วพอ "ค่าใช้จ่ายจริง" ออกมา ( ซึ่งค่าใช้จ่ายจริงนี้จะโชว์ในสเตทเม้นท์ ) ทีมงานก็ค่อยหักเพิ่มอีก 100 บาท เพื่อเป็นค่าบริการ แล้วที่เหลือจากนั้น ก็ค่อยทอนเงินคืนให้กับคุณลูกค้าไป 


คำถามต่อไป !

คำถาม : ทำไมผู้ให้บริการเจ้าอื่นถึงใช้เรทที่ต่ำกว่าคุณได้ ยกตัวอย่างเช่นคุณใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ แต่ผู้ให้บริการเจ้าอื่นเขาใช้เรทแค่ 38 บาท ต่อ 1 เหรียญ ได้ล่ะ เพียงแต่ผู้ให้บริการเจ้านั้น เขาไม่ขอโชว์สเตทเม้นท์ให้ดูเหมือนที่ทีมงาน tuvagroup.com ทำก็เท่านั้นเอง 

       ซึ่งผมก็ "ไม่เห็นความสำคัญของเรื่องการโชว์สเตทเม้นท์" แต่อย่างใด  /  ผมรู้แต่เพียงว่า เมื่อผมใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้าอื่นนั้น เขาคิดเรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ กับผม ในขณะที่ทีมงาน tuvagroup.com คิดเรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ กับผม  /  แล้วอย่างนี้ มันมีเหตุผลอะไรที่ผมจะต้องมาใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com ซึ่งคิดเรทสูงกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นด้วยล่ะ?  


คำตอบ : จริงๆแล้ว การใช้เรทสูงๆตามที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้นั้น มันเป็นแค่การ "เผื่อ" เฉยๆ เพราะค่าใช้จ่ายจริงมันจะปรากฏบนสเตทเม้นท์อยู่แล้ว 

       ทีมงานจะใช้เรทธนาคารโลกก็ได้ แต่มันก็ต้องทำให้คุณต้องโอนเงินถึง 2 ครั้ง  /  ก็เหมือนตัวอย่างที่ทีมงานยกมาให้ดูก่อนหน้านี้นั่นเอง คือถ้าทีมงานใช้เรทธนาคารโลกกับคุณในการคำนวณ ยอดแรกคุณก็ต้องโอนมาให้ทีมงาน 4,889.8503 บาท แล้วพอยอดโชว์ในเสตทเม้นท์ออกมาเป็น 5,287.36 บาท คุณก็ต้องโอนยอดที่สอง มาเพิ่มให้กับทีมงานอีก 397.5097 บาท ( มาจาก 5,287.36 - 4,889.8503 )

       ซึ่งบางครั้ง การโอนเงินมันก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย ดังนั้น คุณจะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียม และเสียเวลา ในการโอนเงินถึง 2 ครั้งทำไมล่ะครับ? ก็แค่ให้ทีมงานโอนเงินในเรทสูงไว้ก่อนเพื่อให้คุณโอนเงินมาครั้งเดียว แล้วพอยอดค่าใช้จ่ายจริงมันโชว์บนสเตทเม้นท์เป็นเท่าใด ก็ค่อยบวกเข้าไปอีก 100 บาท เป็นค่าบริการ แล้วก็เอาไปหักจากเงินที่คุณโอนมา แล้วที่เหลือก็ทอนคุณไป ก็ไม่เห็นจะยุ่งยากหรือซับซ้อนเลยตรงไหนเลยนะครับ   

       ส่วนการที่ผู้ให้บริการรับฝากซื้อสินค้าเจ้าอื่นเขาใช้เรทที่ต่ำกว่าที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้นั้น มันก็เป็นเพียงแค่ทำให้ดู "น่าสนใจ" เท่านั้น  /  ซึ่งจริงๆแล้ว เทคนิคการใช้เรทต่ำๆ แต่ไม่ยอมโชว์สเตทเม้นท์ให้ดูนั้น มันเป็นเทคนิคการ "ฮุบโปรโมชั่นหรือฮุบส่วนลด" ของคุณไปแบบหวานหมูต่างหากล่ะครับ

       ถ้าเป็นคนที่ไม่มีประสบการณ์ ( การโดนหลอก ) มาก่อน ก็จะไม่ทันฉุกคิดเรื่องพวกนี้ และก็จะมองว่าการที่ผู้ให้บริการเจ้าอื่นคิดเรทต่ำกว่าที่ทางทีมงาน Tuvagroup.com คิดนั้น ก็เป็นผู้ที่ลูกค้าอยากจะใช้บริการด้วย  /  ด้วยเหตุนี้ ทีมงาน tuvagroup.com ก็จะมาแฉกลโกงให้ดูกันเลยครับ เรามาดูกัน


 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก  sonasonicmegastore.com

       ( ภาพบน ) สมมติว่าคุณลูกค้าอยากได้สินค้าจากต่างประเทศ 4 ชิ้น แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ โดยแต่ละชิ้นมีราคาชิ้นละ 100 เหรียญ ( อันนี้เป็นเหตุการณ์สมมติทั้งหมดนะครับ คือสมมติให้เห็นภาพเฉยๆ จะได้เข้าใจคำอธิบายของทีมงานน่ะครับผม )

       และคุณลูกค้ามีตัวเลือกผู้ให้บริการอยู่ 2 เจ้าคือ 

* * * ผู้ให้บริการเจ้าอื่น - คิดเรทเหรียญละ 38 บาท แต่ไม่แสดงสเตทเม้นท์ให้ดู


* * * ผู้ให้บริการคือทีมงาน tuvagroup.com - คิดเรทเหรียญละ 40 บาท แต่แสดงสเตทเม้นท์ให้ดู  


       ถ้าพิจารณาเผินๆแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะเลือกผู้ให้บริการเจ้าอื่น เพราะว่าเขาคิดเรทแค่เหรียญละ 38 บาทซึ่งถูกกว่าเรท 40 บาทของทีมงาน tuvagroup.com  /  แต่อย่าพึ่งด่วนตัดสินใจไปครับ ลองอ่านไปเรื่อยๆก่อน

ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก iconfinder.com

       ( ภาพบน ) ตอนแรก คุณลูกค้าท่านนี้ได้มอบเงินให้ผู้ให้บริการเจ้าอื่นคนนี้ไป 15,200 บาท เพื่อให้ซื้อของจำนวน 4 ชิ้น นี้ให้ ( เพราะของทั้งหมดมี 4 ชิ้นๆละ 100 เหรียญ รวมเป็น 400 เหรียญ ใช้เรทเหรียญละ 38 บาท ก็เลยเป็น 15,200 บาท )

       จากนั้นผู้ให้บริการคนนี้ ก็ไปซื้อสินค้าจำนวน 4 ชิ้น ตามที่ได้รับออร์เดอร์มาจากลูกค้าคนนี้




      ( ภาพบน ) แต่สิ่งที่คุณลูกค้าไม่รู้ ( แต่ผู้ให้บริการรู้ ) ก็คือว่า จริงๆแล้ว สินค้าชุดนี้ เมื่อซื้อ 3 ชิ้นจะแถมฟรี 1 ชิ้น

       และเนื่องจากการที่ ผู้ให้บริการเจ้านี้ ไม่มีการโชว์สเตทเม้นท์ ดังนั้น จึงไม่มีใครรู้ว่า ผู้ให้บริการเจ้านี้ จ่ายไปเพียง 300 เหรียญ แล้วเก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง 100 เหรียญ



      ( ภาพบน ) ต่อมา เมื่อสินค้า 4 ชิ้นในภาพข้างบนนี้ มาถึงมือคุณลูกค้าท่านนี้แล้ว คุณลูกค้าท่านนี้ก็ดีใจ และคิดว่าโชคดีแล้วหนอ ที่ใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้านี้ เพราะเขาคิดเรทแค่ เหรียญละ 38 บาท ถูกกว่าการใช้บริการกับทีมงาน Tuvagroup.com ที่ใช้เรท เหรียญละ 40 บาท เสียอีก และคุณลูกค้าก็ยังคิดอีกว่า "ถึงแม้ผู้ให้บริการเจ้านี้ จะไม่โชว์สเตทเม้นท์ก็ไม่เป็นไร ยังไงฉันได้จ่ายไปด้วยเรท เหรียญละ 38 บาท เท่านนั้น เท่านี้ก็ Happy แล้ว"

       แต่เพราะมันไม่มีสเตทเม้นท์โชว์ คุณลูกค้าท่านนี้ก็เลยไม่รู้ว่าเงินได้เข้ากระเป๋าผู้ให้บริการเจ้านี้ไป 100 เหรียญ เสียแล้ว เพราะว่าผู้ให้บริการเจ้านี้จ่ายไปเพียง 300 เหรียญ เท่านั้น ( เพราะมัน แถมฟรี 1 ชิ้น ซึ่ง 1 ชิ้นที่ได้มาฟรีนั้น มันมีมูลค่าถึง 100 เหรียญ! ) 


พฤติกรรมของผู้ให้บริการเจ้านี้ เรียกว่าการ "ฮุบเงินส่วนลด" ของลูกค้าไป  ซึ่งลูกค้าไม่รู้เลยว่าถูก "ฮุบเงินส่วนลด"  เพราะไม่มีสเตทเม้นท์ให้ดู

       ในตอนที่คำนวณราคาครั้งแรกนั้น ผู้ให้บริการเจ้านี้ คิดค่าใช้จ่ายถูกกว่าทีมงาน tuvagroup.com คิด  /  โดยผู้ให้บริการเจ้านี้คิดค่าใช้จ่ายเพียง 15,200 บาท เพราะเขาใช้เรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ ( ในขณะที่ทีมงาน Tuvagrouop.com ใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ ) "แต่ความจริง" ผู้ให้บริการเจ้านี้ ได้เงินเข้ากระเป๋าไป "เกือบ 4,000 บาทเพราะเขา "ฮุบเงินส่วนลด" ไปถึง 100 เหรียญ เข้ากระเป๋าไปแบบหวานหมู!


       คราวนี้ลองสมมติเหตุการณ์ใหม่ว่าคุณลูกค้าท่านนี้ ได้ใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com ตั้งแต่แรก ทั้งๆที่ทีมงานก็ใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญในการคำนวณ ซึ่งสูงกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นก็จริง แต่ข้อดีของการใช้บริการกับทีมงาน tuvagroup.com ก็คือทีมงานมีการ "โชว์สเตทเม้นท์ให้ดู"

       เดี๋ยวเรามาดูกันว่า "ทำไม" การมีสเตทเม้นท์โชว์ให้ดูถึงได้เป็นจุดเด่นของทีมงาน tuvagroup.com



      ( ภาพบน ) สมมติเหตุการณ์เป็นอย่างนี้คือ ตอนแรก คุณลูกค้าต้องจ่ายเงินให้ทีมงาน 16,000 บาท ( เพราะการซื้อสินค้าชิ้นละ 100 เหรียญจำนวน 4 ชิ้น ก็คือต้องใช้เงิน 400 เหรียญ  /  ทีมงานใช้เรท 40 บาทต่อ 1 เหรียญ เมื่อคำนวณเป็นเงินไทยแล้วก็คือ 16,000 บาท ) ซึ่งดูเหมือนว่าคุณต้องจ่ายมากกว่าการจ่ายให้ผู้ให้บริการรายแรก ที่คุณลูกค้าท่านนี้จ่ายไปเพียง 15,200 บาท ( เพราะผู้ให้บริการเจ้านั้น ใช้เรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ ) 




      ( ภาพบน ) จากนั้น ทีมงาน tuvagroup.com ก็ไปซื้อสินค้าที่คุณลูกค้าท่านนี้ต้องการ และก็ได้ส่วนลดเหมือนกันคือ ซื้อ 3 ชิ้นแถม 1 ชิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าทีมงานจ่ายให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศไปเพียง 300 เหรียญ


      ( ภาพบน ) แต่ผลของการที่ทีมงาน tuvagroup.com จ่ายไปเพียง 300 เหรียญ ( แทนที่จะเป็น 400 เหรียญ ) นั้น มันได้ไปโชว์ค่าใช้จ่ายบนสเตทเม้นท์ทันทีว่าทีมงานจ่ายไป 11,182.05 บาท ตรงที่มี วงรีสีม่วง ล้อมรอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ 

       และด้วยการที่มันเป็นนโยบายของทางเวบ tuvagroup.com ว่า จะต้องโชว์สเตทเม้นท์ ( ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ให้คุณลูกค้าดู

       คุณลูกค้าจึงเห็นได้ "ด้วยตาตัวเอง" เลยว่า ทีมงานจ่ายไปเพียง 11,182.05 บาท ( หรือ 300 เหรียญ ) เท่านั้น

ทีมงานไม่สามารถ "ฮุบเงินส่วนลด" ของคุณได้ เพราะว่าสเตทเม้นท์มันโขว์หราอยู่อย่างชัดเจนว่า ทีมงานสจ่ายไปเพียง 300 เหรียญ ( 11,182.05 บาท )


ทีมงาน tuvagroup.com คิดค่าบริการ 100 บาท ดังนั้น ทีมงานต้องทอนเงินคุณ 16,000 ( ที่ลูกค้าให้ตอนแรก ) - 11,182.05 ( โชว์ในสเตทเม้นท์ ) - 100 ( ค่าบริการ ) = 4717.95 บาท  

 ( ภาพบน ) ภาพข้างบนนี้มาจาก buelahman.wordpress.com


นั่นก็หมายความว่า ในการซื้อสินค้า 4 ชิ้นนี้ ผ่านทางทีมงาน tuvagroup.com  คุณลูกค้าจะมีรายจ่ายแค่ 11,182.05 บาท ( มาจาก 16,000 - 4717.95 - 100 ( ค่าบริการ ) )  แม้ว่าทีมงาน tuvagroup.com จะใช้เรทสูงกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นก็ตาม


ในขณะที่ผู้ให้บริการเจ้าอื่น แม้ว่าจะใช้เรทต่ำๆเป็น "ตัวล่อลูกค้า" เช่นใช้เรท 38 บาทต่อ 1 เหรียญ เพื่อให้ดูน่าสนใจว่าเรทของทีมงาน tuvagroup.com  แต่ว่าท้ายที่สุดแล้ว คุณลูกค้าท่านนี้ ก็ต้องมีรายจ่ายถึง 15,200 บาท  ซึ่งมากกว่าของทีมงาน tuvagroup.com ถึง 3917.95 บาท ( มาจาก 15,200 - 11,282.05 ) ทั้งๆที่ท้ายที่สุดแล้ว ลูกค้าก็ได้รับสินค้า 4 ชิ้นเท่ากัน


      จากที่ทีมงาน tuvagroup.com อธิบายมา คุณลูกค้าก็คงจะเห็นความสำคัญของ "การโชว์สเตทเม้นท์" ซึ่งเป็นนโยบายหลักของทีมงาน tuvagroup.com แล้วนะครับ

       เพราะถ้ามีการโชว์สเตทเม้นท์กันแบบที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้นี้แล้ว คุณลูกค้าก็จะได้เห็น "รายจ่ายจริงๆ" ซึ่งจะปรากฏอยู่บนสเตทเม้นท์อย่างชัดเจน

       ดังนั้น หากมีส่วนลด หรือโปรโมชั่นอะไรก็ตาม เมื่อทีมงาน tuvagroup.com จ่ายเงินไปโดยใช้ส่วนลดหรือโปรโมชั่นนั้นๆ รายจ่าย ( ที่ได้ลดราคาแล้ว ) ก็จะไปปรากฏบนสเตทเม้นท์ทันที และเงินส่วนที่ได้ส่วนลดนั้น ทีมงานก็จะทอนคืนกลับไปให้คุณลูกค้า

       แต่ถ้าคุณไปใช้บริการกับผู้ให้บริการเจ้าอื่น ที่แม้จะใช้เรทเงินต่างประเทศที่ต่ำกว่าที่ทีมงาน tuvagrouop.com ใช้ แต่ถ้าผู้ให้บริการเจ้านั้นไม่มีการโชว์สเตทเม้นท์ ( แบบที่ทีมงาน tuvagroup.com ใช้อยู่ ) ก็อาจเป็นเหตุให้คุณลูกค้าถูก ฮุบเงินส่วนลดไปถึง 100 เหรียญ เหมือนในตัวอย่างที่ทีมงานยกเอามาให้ดูข้างบนนี้ก็ได้นะครับผม  

ทิ้งท้าย - อยากให้คุณผู้อ่าน แวะอ่านเรื่อง "ความเอาใจใส่" ในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของทีมงาน tuvagroup.com ที่ลิงค์นี้หน่อยนะครับผม  http://www.tuvagroup.com/2fvhp-A-02-I-600708-2040.html 

- END - 

Sunday, September 6, 2020

หลอกว่าจะส่งสินค้าได้ภายใน 14 วัน แต่พอโอนเงิน กลับต้องรอถึง "9 เดือน"

 


หลอกว่าจะส่งสินค้าได้ภายใน 14 วัน  แต่พอโอนเงิน กลับต้องรอถึง "9 เดือน"


      สิ่งที่เหมือนกันของรูปแบบการขายสินค้าแบบ Preorder กับการขายสินค้าแบบ Backordered ก็คือ ณ.วันที่เราสั่งซื้อนั้น "ยังไม่มีตัวสินค้า" 

       วิธีการซื้อก็คือว่า ทางผู้ขายจะให้เราโอนเงินค่าซื้อสินค้าไปก่อนล่วงหน้า โดยเงินที่โอนนั้น จะเป็นการโอนทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนก่อนก็ได้ ขึ้นกับการตกลงกันระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ  /  จากนั้น เมื่อมีสินค้าแล้ว ทางผู้ขายถึงจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ

       หลักการคร่าวๆก็มีแค่นี้ คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่า แค่อธิบายมาเท่านี้ก็เข้าใจแล้ว ไม่เห็นจะต้องทำหน้าเว็บ ( ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ ) มาอธิบายให้ยุ่งยากเลย

       จุดประสงค์ในการทำหน้าเว็บนี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่ว่าผมจะยกตัวอย่างของจริงเคสหนึ่ง ที่เคยสั่งซื้อให้กับลูกค้าท่านหนึ่งในอดีต เอามาให้คุณลูกค้าดูเพื่อเป็นอุทธาหรณ์นั่นเองครับ  /  เป็นเคสที่มีความแปลก เพราะคนขายไม่ได้บอกล่วงหน้าว่าสินค้าที่จะซื้อนี้เป็นการขายสินค้าแบบ Backordered ( คือต้องรอสินค้าจากโรงงาน) คือเขาทำให้เราเข้าใจว่า เขามีสินค้าอยู่ใน Stock อยู่ก่อนแล้ว  /  เรามาดูกันครับ


* * * หมายเหตุ - ภาพสินค้า , ภาพอีเมล , ภาพการคุยโต้ตอบ และภาพทุกอย่างที่คุณผู้อ่านจะได้เห็นในหน้าเวบนี้ ล้วนแต่เป็นภาพที่สำเนามาจากเหตุการณ์จริง , นำมาจากเคสของจริงทั้งสิ้น ไม่มีการสมมติขึ้นมาแต่อย่างใดนะครับ


หลักฐานยืนยันการสั่งซื้อสินค้า

ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) สั่งซื้อของจากเวบ AFMO.com แล้วเขาก็ส่งใบเรียกเก็บเงิน (invoice) มาให้เรา

   * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - บอกว่า หมายเลขสั่งสินค้า คือ 39878


  * * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - คือหลักฐานว่า เราสั่งซื้อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2552  เวลา 20.40 นาฬิกา  โดยของที่สั่งซื้อจะมีอยู่ 4 รายการ



 * * * ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - บอกว่า ยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด 498.82 เหรียญ 


อีเมลคุยโต้ตอบกับผู้ขายสินค้า AFMO.com

ข้างล่างนี้ )



      ( ภาพบน ) ภาพอีเมลข้างบนนี้ ให้ข้อมูลดังนี้คือ

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) เขียนอีเมลมาทวงเงิน 


 * * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้  - ให้ข้อมูลว่า  ผมได้ตอบเขาไปว่า ผมได้โอนเงินค่าสินค้าให้เขาตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 แล้ว  /  คือเราโอนค่าสินค้าให้ ในเวลาแค่ 1 วันหลังจากได้รับใบอินวอยซ์ 


* * * ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า  ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) เขาไปตรวจสอบแล้ว พบว่าเราโอนเงินให้เขาจริงๆ 


ทันทีที่รู้ว่าเราโอนเงินแล้ว

ทางผู้ขายก็เปลี่ยนสถานะสินค้าเป็น Backordered ทันที!


ข้างล่างนี้ )


      ( ภาพบน ) ภาพอีเมลข้างบนนี้ ให้ข้อมูลดังนี้คือ

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2552 เวลา 21.39 นาฬิกา ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) เขียนอีเมลมาแจ้งสถานะสินค้า 

       อีเมลฉบับนี้ ส่งมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2552 ซึ่งก็คือ "1 วัน" หลังจากที่เขียนอีเมลมา "ทวงเงินเรา" ( คนขายเขียนอีเมลมาทวงเงินเรา  เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 และเราได้แจ้งไปว่า เราโอนเงินให้เรียบร้อยแล้ว )


* * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า สินค้า "ทุกตัว" ติดสถานะ Backordered หมด

       เห็นได้ชัดว่า ก่อนหน้านี้ ทางผู้ขายไม่ยอมบอกว่าสินค้าจะต้องติดสถานะ Backordered เพราะกลัวว่าเราจะไม่โอนเงินไปให้ 


หมายเหตุ - คำว่า Backordered คือ ต้องรอสินค้าจากโรงงาน 


เวลาผ่านไป "9 เดือน" ถึงพึ่งจะส่งพัสดุสินค้าให้

ข้างล่างนี้ )


      ( ภาพบน ) ภาพอีเมลข้างบนนี้ ให้ข้อมูลดังนี้คือ 

 * * * ตรงที่ ลูกศรสีแดง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่าเมื่อ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553 เวลา 04.24 นาฬิกา ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com )  เขียนอีเมลมาหา


* * * ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า เราได้สั่งซื้อสินค้านี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 ( 9 เดือนที่แล้ว ) 


* * *ตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ - ให้ข้อมูลว่า ทางผู้ขาย ( ของเวบ AFMO.com ) จะส่งพัสดุสินค้าให้ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553


เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ข้างล่างนี้ )

      เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นดังนี้นะครับ

       1.วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 - เวบ AFMO.com ส่งใบอินวอยซ์มาเรียกเก็บเงิน 498.82 เหรียญ ( ประมาณหนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท - ตอนนั้น เรทประมาณ 35 บาทต่อเหรียญ )


       2.วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 ( วันรุ่งขึ้น ) - ทีมงานชำระเงิน 498.82 เหรียญ ให้เรียบร้อยแล้ว


       3.วันที่ 28 พศจิกายน พ.ศ.2552 ถึง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 - เงียบ! ไม่มีเมลล์อะไรมาจากเว็บ AFMO.com 


       4.วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 - เว็บ AFMO.com นึกว่าเรายังไม่ได้จ่ายเงิน เลยอีเมลมาทวงเงิน   /  และในวันเดียวกันนั้น เราก็ตอบกลับไปว่า ได้โอนเงินให้แล้ว และบอกเลขอ้างอิงการโอนเงินให้เสร็จสรรพ  /  ทาง เว็บ AFMO.com ตรวจสอบแล้วพบว่ามีเงินเข้าจริง ก็เลยส่งอีเมลมาบอกเราว่าได้รับเงินแล้ว


       5.วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2552 ( วันรุ่งขึ้นหลังจากรู้ว่าเงินเข้าแล้ว ) - เวบ AFMO.com บอกว่าของทุกชิ้นต้องรอจากโรงงานหมด ไม่มีของใน Stock เลยแม้แต่รายการเดียว ( ทำไมไม่บอกระหว่าง 28 พศจิกายน พ.ศ.2552 ถึง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552?  คำตอบก็คือ - ก็เพราะกลัวว่าเราจะไม่โอนเงินให้ )


       6.ตั้งแต่  เดือนธันวาคม พ.ศ.2552 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2553 - เป็นเวลา 9 เดือน ที่ทีมงานอีเมลไปทวงถามคนขายตลอด แต่คนขาย เงียบ! ไม่ยอมตอบ


       7.วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553 ( คือเวลาผ่านไปแล้ว 9 เดือน ) - เวบ AFMO.com พึ่งตอบอีเมลกลับมาว่าจะส่งของให้ในวันนี้


       เห็นไหมครับ เงินของเราลอยอยู่ในกระเป๋ามัน ( เว็บ AFMO.com ) หนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท เป็นเวลา 9 เดือน มันก็คงเอาเงินนี้ไปหมุนบ้าง ,ลงทุนบ้าง ( น่าจะเป็นการลงทุนเกี่ยวกับการโฆษณาเว็บของมัน จะได้มีแมงเม่าแบบเราจากทั่วโลก หลงมาโอนเงินให้มันอีกเยอะๆ ) โดยที่เราทำอะไรไม่ได้เลย ทวงแล้วทวงอีก มันก็เฉย ไม่รู้จะไปแจ้งตำรวจที่ไหนมาจับกุมมันได้เลย ( แต่ถ้าเราสั่งซื้อของกับเวบอีเบย์  www.ebay.com  แล้วเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ เราสามารถฟ้องผู้ดูแลอีเบย์ ให้เรียกเงินคืนได้ตั้งแต่ 45 วันแรกแล้วครับ )

       หวังว่าประสบการณ์ของจริงที่นำมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้รับรู้ในครั้งนี้  คงจะเป็นอุทธาหรณ์ได้เป็นอย่างดีนะครับ ว่าโลกออนไลน์ทุกวันนี้ มันมีการทุจริตเกิดขึ้นไปทั่ว อย่างการซื้อสินค้า Preorder หรือ Backordered จากเวบ AFMO.com นี้ พอเราโอนเงินไปแล้ว มันก็หายไป 9 เดือน เลย ( ทั้งๆที่ตอนแรกบอกว่าจะส่งของภายใน 14 วัน )

       วิธีทางหลีกเลี่ยงคือ ถ้าจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่เป็น Preorder หรือ Backordered จริงๆ ก็ควรซื้อจากเวบที่ไว้ใจได้ เช่น อีเบย์ เพราะเขามีระบบตรวจสอบคนขายอยู่ตลอดเวลา และถ้ามีอะไรชอบมาพากล เรา ( ในฐานะลูกค้า ) ก็สามารถฟ้องร้องให้อีเบย์เรียกเงินคืนจากคนขายได้เลย

       แต่ถ้าหาซื้อสินค้าจากอีเบย์ไม่ได้จริงๆ และจะทดลองเสี่ยงวัดดวงซื้อสินค้า Preorder หรือ Backordered จากเว็บอื่นจริงๆ ( ที่ไม่ใช่อีเบย์ ) ทางทีมงาน tuvagroup.com ก็ ไม่ได้ห้าม นะครับ แต่ ถ้าจะ "ถาม" ทีมงาน tuvagroup.com ว่า เวบนั้น ไว้ใจได้ไหม เวบนี้ ไว้ใจได้ไหม? ทีมงานก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ

- END -